คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์: การกระทำเข้าข่ายลักทรัพย์โดยฉกฉวย แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องอำนาจการสอบสวนของพนักงาน
จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษแต่จำเลยกลับหยิบเอาธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับจากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งหรือเข้าใจผิดเพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าจำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานครร้อยตำรวจโทส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดียักยอกทรัพย์: สถานที่ส่งมอบทรัพย์สินเป็นเกณฑ์
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วส่งมอบให้โจทก์ร่วมซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางรัก จำเลยรับเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมในอีกท้องที่หนึ่งแล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ร่วม จึงเป็นการไม่แน่ว่าจำเลยทำการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมในท้องที่ใด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักจึงมีอำนาจสอบสวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตควบคุมการแปรรูปไม้, ความสมบูรณ์ของฟ้อง, อำนาจสอบสวน: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี ริบของกลางทั้งหมดศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้คืนของกลางบางส่วนแก่จำเลย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยได้ทราบประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้ของทางราชการแล้ว ดังนี้โจทก์ได้ระบุมาในฟ้องแล้วว่า สถานที่ซึ่งจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ แม้โจทก์มิได้แนบประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้มาพร้อมฟ้อง ก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) เขตควบคุมมีอาณาบริเวณเพียงใด จำเลยกระทำผิดภายในเขตควบคุมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้
อำนาจของพนักงานสอบสวนจะมีประการใดย่อมเป็นไปตามกฎหมาย และข้อบังคับทั้งหลายของทางราชการที่ระบุถึงอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนนั้น ๆ ไว้ ดังนั้นการที่จะฟังว่าพนักงานสอบสวนผู้ใดมีอำนาจในการสอบสวนหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตควบคุมการแปรรูปไม้ & การฟ้องที่ไม่สมบูรณ์: ฎีกาห้ามในข้อเท็จจริง & อำนาจสอบสวน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี ริบของกลางทั้งหมดศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้คืนของกลางบางส่วนแก่จำเลย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยได้ทราบประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้ของทางราชการแล้ว ดังนี้โจทก์ได้ระบุมาในฟ้องแล้วว่าสถานที่ซึ่งจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้แม้โจทก์มิได้แนบประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้มาพร้อมฟ้องก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) เขตควบคุมมีอาณาบริเวณเพียงใด จำเลยกระทำผิดภายในเขตควบคุมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้
อำนาจของพนักงานสอบสวนจะมีประการใดย่อมเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลายของทางราชการที่ระบุถึงอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนนั้น ๆ ไว้ ดังนั้นการที่จะฟังว่าพนักงานสอบสวนผู้ใดมีอำนาจในการสอบสวนหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาและการมีบุคคลอื่นร่วมฟังการสอบสวนไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป
การสอบสวนคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควรภายในขอบเขตบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้กระทำผิดกฎหมายหรือผิดหน้าที่อย่างใด ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าฟังการสอบสวนการมีบุคคลอื่นนั่งฟังขณะพยานให้การต่อพนักงานสอบสวน หาทำให้การสอบสวนนั้นเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีเช็ค: การออกเช็คและปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นเหตุให้เกิดอำนาจสอบสวนและชำระคดีในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค การออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่นั้น ต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่อื่น ถือว่า จำเลยได้กระทำผิดอาญาในท้องที่ดังกล่าวต่อเนื่องกันเมื่อได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่มีการออกเช็คแล้ว พนักงานสอบสวนและศาลในท้องที่นั้นย่อมมีอำนาจสอบสวนและชำระคดีนี้ได้ แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยออกเช็คในท้องที่ใดและอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนที่สอบสวนคดีนี้หรือไม่ ยังไม่ได้ความแน่ชัด ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ประทับฟ้องและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและชำระคดีเช็ค: การกระทำความผิดต่อเนื่องในหลายท้องที่
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คการออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่อื่น ถือว่า จำเลยได้กระทำผิดอาญาในท้องที่ดังกล่าวต่อเนื่องกัน เมื่อได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่มีการออกเช็คแล้ว พนักงานสอบสวนและศาลในท้องที่นั้นย่อมมีอำนาจสอบสวนและชำระคดีนี้ได้ แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยออกเช็คในท้องที่ใดและอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนที่สอบสวนคดีนี้หรือไม่ ยังไม่ได้ความแน่ชัด ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ประทับฟ้องและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนเพิ่มเติมโดยพนักงานสอบสวนกองปราบปรามหลังพนักงานอัยการยังมิได้สั่งฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบบุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139 ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และ พนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การส่งสำนวนระหว่างพนักงานสอบสวนและการสอบสวนเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบ บุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3494/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาข้ามเขต – รับของโจร - การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายเมื่อยังไม่ทราบแน่ว่าเป็นการกระทำความผิดฐานใด
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมายังไม่พอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงต่อไปได้
ขณะพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์เริ่มทำการสอบสวน ยังไม่ทราบแน่ว่าจำเลยร่วมกับ พ. ทำการลักทรัพย์ หรือจำเลยเพียงกระทำผิดฐานรับของโจร หากเป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ย่อมไม่แน่ว่าได้กระทำผิดในท้องที่ใดตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์จนถึงจังหวัดสิงห์บุรี แม้ต่อมาได้ความตามทางสอบสวนว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรีและได้มีการฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ก็ถือว่าพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์ได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว
of 19