คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6799/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดหย่อนอัตราอากรศุลกากรตามประกาศกระทรวงการคลัง การตีความอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมศุลกากร
การลดอัตราอากรสำหรับเครื่องจักรวัสดุและอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานหรือที่รักษาสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงการคลังที่ศก.9/2526ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้แล้วตามประกาศกระทรวงการคลังที่58613/2526โดยกำหนดเป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขด้วยว่าเครื่องจักรวัสดุและอุปกรณ์นั้นไม่เป็นของเก่าใช้แล้วหรือซ่อมแซมขึ้นใหม่ผู้นำของเข้าจะต้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการพิจารณาเครื่องจักรวัสดุและอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมพิจารณาเสียก่อนว่าเครื่องจักรวัสดุและอุปกรณ์ที่นำเข้าอยู่ในข่ายที่จะได้รับการพิจารณาลดอัตราอากร โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการพิจารณาตามเงื่อนไขทั้งระบุด้วยว่าเครื่องกำเนิดไอน้ำเป็นของใหม่และมีหนังสือรับรองด้วยว่าเครื่องจักรไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ข้อ3.2และ3.3ของประกาศกระทรวงการคลังที่58613/2526ซึ่งไม่เป็นของเก่าใช้แล้วหรือซ่อมแซมขึ้นใหม่ดังนี้แม้ประกาศกระทรวงของจำเลยที่1ที่60/2527กำหนดเป็นระเบียบพิธีเกี่ยวกับการขอลดอัตราอากรศุลกากรให้ผู้นำเข้ารับรองในใบขนสินค้าว่าของที่นำเข้า"ไม่เป็นของเก่าใช้แล้วหรือซ่อมแซมขึ้นมาใหม่"อันมีอยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการลดอัตราอากรศุลกากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่58613/2526ประกาศของจำเลยที่1ก็เป็นเพียงระเบียบพิธีการเกี่ยวกับการลดอัตราศุลกากรเพื่อจำเลยที่1จะใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติในการให้ลดอัตราศุลกากรในรายที่คณะกรรมการพิจารณาเครื่องจักรวัสดุและอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมได้แจ้งผลการพิจารณาซึ่งจำเลยที่1มีอำนาจตามประกาศกระทรวงการคลังที่58613/2526แล้วเท่านั้นระเบียบพิธีการดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบภายในของจำเลยที่1หาใช่กฎหมายที่จะทำให้มีผลลบล้างการปฏิบัติของโจทก์ไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังที่58613/2526ครบถ้วนแล้วให้โจทก์หมดสิทธิที่จะลดอัตราอากรไปได้ไม่จำเลยที่1ต้องอนุมัติให้โจทก์ได้ลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ศก.58613/2526จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่1ที่60/2527ไม่ได้อำนาจในการอนุมัติหาได้อยู่กับประกาศของจำเลยที่60/2527โดยเด็ดขาดไม่การประเมินและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ศาลฎีกาหลังรับฎีกา: ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งทิ้งฎีกา
ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาโจทก์แล้ว กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีทั้งหมดภายหลังจากนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาจะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งหรือมีคำพิพากษาต่อไป นอกจากอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแทนได้คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องโจทก์ภายหลังจากที่มีคำสั่งรับฎีกาแล้วว่าโจทก์ทิ้งฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ก้าวล่วงอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของศาลฎีกา ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้ศาลชั้นต้นสั่งเช่นนั้นได้ เป็นคำสั่งไม่ชอบคำสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นผลจากคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งไม่ชอบเช่นกัน ส่วนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ฟังว่า โจทก์จงใจทิ้งฎีกาเป็นคำสั่งสืบเนื่องมาจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งโดยปราศจากอำนาจจึงถือว่าเป็นคำพิพากษาที่มิชอบ เพราะคำพิพากษาดังกล่าวได้รับวินิจฉัยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวมาโดยชอบของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 คดีนี้โจทก์มิได้นำส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ยื่นคำร้องถึงเหตุดังกล่าวว่าหลงลืม ซึ่งถือได้ว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้อง ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประเมินภาษีหลังเลิกบริษัท: ต้องแจ้งผู้ชำระบัญชี ไม่ใช่กรรมการ/ผู้จัดการ
บริษัทจำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1250,1259(3) กรรมการหรือผู้จัดการของจำเลยหามีอำนาจอีกต่อไปไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรมีหมายเรียกและแจ้งการประเมินภาษีของบริษัทไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) เพราะอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำหนี้นี้มาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานจูงใจเจ้าพนักงาน แม้จะออกใบอนุญาตแล้ว เจ้าพนักงานยังคงมีอำนาจหน้าที่ และการโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานเป็นดุลพินิจของศาล
โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเรียกและรับเงินจากผู้เสียหาย โดยอ้างว่าจะนำไปให้ ก. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารแก่ผู้เสียหาย เพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ อันเป็นคุณแก่ผู้เสียหายโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 นั้นมิได้อยู่ที่เจ้าพนักงานได้กระทำการในหน้าที่แล้วหรือไม่ แม้จะออกใบอนุญาตแล้ว ก. ก็ยังคงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย การออกใบอนุญาตไปแล้วมิได้ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งมิให้ศาลรับฟังเทปบันทึกเสียงซึ่งถอดเทปเป็นตัวอักษรไว้แล้วเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก: การส่งเอกสารเพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก
ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ตั้งผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1และผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ร่วมกัน ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมยังคงผูกพันตามคำสั่งศาลชั้นต้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของส.ร่วมกัน และมีหน้าที่จะต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งเอกสารตัวจริงที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกมาไว้ที่ศาล เพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการ, การจ้างช่วง, การรับผิดในความเสียหาย, ตัวแทนช่วง, การคืนเงินผู้สมัครงาน
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการของเจ้าหนี้นำงานพิมพ์ไปให้สหกรณ์กลาโหม จำกัด รับจ้างช่วง โดยไม่ได้จัดทำสัญญาจ้างตามแบบที่กำหนดจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าเป็นตั๋วแลกเงินเต็มจำนวนค่าจ้าง และจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละครั้งเกิน 300,000 บาท เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจ้าง พ.ศ. 2504 และข้อบังคับว่าด้วยการมอบอำนาจและกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ พ.ศ. 2496ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำโดยปราศจากอำนาจ และต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ส่วนนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 มีอำนาจตั้ง ส. เป็นตัวแทนช่วงให้ดำเนินกิจการจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ. 2496 มาตรา 22และข้อบังคับว่าด้วยการมอบอำนาจและกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการพ.ศ. 2496 ข้อ 7 เมื่อไม่ปรากฏว่า ส. เป็นผู้ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินกิจการดังกล่าวแทนเจ้าหนี้ หรือเป็นผู้ไม่สมควรไว้วางใจจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ในการที่เจ้าหนี้ต้องคืนเงินที่ ส. เรียกรับเอาไปให้แก่ผู้สมัครงาน เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่กลั่นแกล้งกล่าวหาผู้อื่น เพื่อยึดทรัพย์สินโดยมิชอบ ถือเป็นความผิดข่มขืนใจตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายได้ทั่วราชอาณาจักร ใช้อำนาจในตำแหน่งแกล้งกล่าวหาผู้เสียหายว่ากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ โดยผู้เสียหายมิได้กระทำผิด จำเลยกล่าวหาเช่นนั้นเพื่อมิให้ผู้เสียหายขัดขวางในการที่จำเลยกับพวกยึดเอาเลื่อยยนต์ของผู้เสียหายไป การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมมอบทรัพย์สินของผู้เสียหายให้แก่จำเลยกับพวกนั่นเอง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย และการไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้
การขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่เพิกถอนการโอนทรัพย์สินดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อไปหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเท่านั้น ทั้งกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการใดได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว มีแต่เฉพาะการกระทำตามมาตรา 145(1) ถึง (5)เท่านั้น แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการสละสิทธิตามมาตรา 145(3) จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้เสียก่อน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งโดยไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์ การรุกล้ำลำรางสาธารณะ และอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในการดูแลรักษา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเลขที่ 54/8 รุกล้ำเข้าไปในลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายสภาพเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล เนื้อที่ 4.4 ตารางวา ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์ไม่ต้องแสดงโฉนดหรือหลักฐานแห่งที่ดินว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อย่างไร เพราะการเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่เป็นไปตามสภาพของที่ดิน และโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ทั้งหมดมีเนื้อที่เท่าใดจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำตั้งแต่เมื่อใด มีเขตกว้างยาวเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่คู่ความอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ลำรางสาธารณประโยชน์สำหรับระบายน้ำจากภูเขาซึ่งมีมานานแล้วเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะไม่มีสภาพเป็นทางระบายน้ำต่อไปและไม่มีราษฎรใช้ประโยชน์เมื่อยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินนั้นยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม ที่งอกริมตลิ่ง หมายถึงที่ดินที่งอกไปจากตลิ่งตามธรรมชาติซึ่งเกิดจากการที่สายน้ำพัดพาดินจากที่อื่นมาทับถมกันริมตลิ่งจนเกิดที่งอกขึ้น มิใช่งอกจากที่อื่นเข้ามาหาตลิ่ง โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตเทศบาลตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์: อำนาจหน้าที่และขอบเขตการฟ้องร้อง
จำเลยฎีกาว่ามิได้เบียดบังเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ตามใบเสร็จรับเงินรวม 3 กระทงนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและความผิดทั้งสามกระทงดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก หนังสือของอธิบดีกรมการปกครองถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดมีข้อความระบุว่า ไม่ควรให้พนักงานบัญชีมาทำหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่เพราะพนักงานบัญชีมีหน้าที่รับเงินภาษีบำรุงท้องที่ที่เก็บได้ตามคู่ฉบับใบเสร็จรับเงินเพื่อลงบัญชีอยู่แล้วเช่นนี้ มิใช่ระเบียบหรือคำสั่งให้ต้องปฏิบัติตาม เป็นเพียงการซักซ้อมความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าจำเลยเป็นพนักงานบัญชีไม่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ตามหนังสือของอธิบดีกรมการปกครองฉบับนี้ได้ การที่จำเลยมีหน้าที่รับเงินจากลูกจ้างชั่วคราวที่ทำหน้าที่รับเงินภาษีบำรุงท้องที่ที่หมวดการคลัง เมื่อรับเงินแล้วก็ต้องมีหน้าที่ลงบัญชีด้วย ถือได้ว่าจำเลยมีหน้าที่จัดการหรือรักษาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 แล้ว ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายแต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่เก็บเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่จากประชาชนเท่านั้น หากแต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยมีหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ ลงบัญชีเงินสดและบัญชีแยกประเภท และต้องนำเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ที่จัดเก็บได้ในแต่ละวันไปฝากธนาคารตามระเบียบ สาระสำคัญของคำฟ้องจึงอยู่ที่ว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือรักษาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 เท่านั้น ดังนั้นแม้ทางพิจารณาโจทก์กลับนำสืบว่าจำเลยไม่มีหน้าที่เก็บเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่จากประชาชน หน้าที่ดังกล่าวเป็นของหัวหน้าหมวดการคลัง ซึ่งในทางปฏิบัติได้จ้างลูกจ้างชั่วคราวมาทำหน้าที่แทนก็หาเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างจากฟ้องไม่
of 24