คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุบัติเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่ายและการแบ่งความรับผิด
เมื่อขับรถในเวลากลางคืน ผู้ขับรถต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11, 15 กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 บรรทุกรถแทรกเตอร์ซึ่งมีใบมีดจานไถยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกโดยมิได้ติดไฟสัญญาณไว้ที่ปลายใบมีดจานไถทั้งสองข้าง เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกอันเป็นกฎหมายที่มีประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 422 นอกจากนี้บริเวณจุดชนอยู่ในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศ ที่จำเลยที่ 4 ขับส่วนทางมา จึงฟังได้ว่าเหตุเฉี่ยวชนกันเกิดจากการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 4 ขับรถโดยสารปรับอากาศด้วยความเร็วสูง เมื่อขับลงเนินความเร็วของรถยนต์จะต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนเมื่อเห็นมีแสงไฟของรถยนต์ที่สวนมาเห็นได้ไกล จำเลยที่ 4 จะต้องเพิ่มความระมัด-ระวังให้มากขึ้นโดยลดความเร็วให้ช้าลง แต่จำเลยที่ 4 ยังคงขับรถโดยสารปรับอากาศต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 เมื่อเป็นเหตุให้ชนกับรถบรรทุกรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่ 2 ขับมาโดยใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ล้ำออกนอกตัวรถและล้ำเข้าไปในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศและโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ต่างฝ่ายต่างทำละเมิด แต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์ แต่ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 ที่ศาลล่างทั้งสองแบ่งส่วนแห่งความรับผิดโดยให้จำเลยที่ 2 รับผิด 2 ส่วน ส่วนจำเลยที่ 4 รับผิด1 ส่วน นับว่าถูกต้องและเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความรับผิดร่วมกันของผู้ขับขี่และผู้ประกอบการ การแบ่งความรับผิดตามสัดส่วน
การที่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกในเวลากลางคืนบรรทุกรถแทรกเตอร์ใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกจำเลยที่2จะต้องติดไฟสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจแต่จำเลยที่2มิได้กระทำเป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422 จำเลยที่4ขับรถในเวลากลางคืนลงเนินซึ่งความเร็วของรถต้องเพิ่มขึ้นขณะที่มีแสงไฟของรถแล่นสวนมาเห็นได้ไกลจำเลยที่4จะต้องระวังเพิ่มขึ้นโดยลดความเร็วแต่จำเลยที่4ยังขับต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุชนกับใบมีดรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่2ขับมาจึงเป็นความประมาทของจำเลยที่4ด้วย ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดในกรณีที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสและทุพพลภาพได้แก่ค่ารักษาพยาบาลค่าขาเทียมค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตตามมาตรา444และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามมาตรา446วรรคหนึ่งได้แก่ค่าที่ต้องทุพพลภาพพิการตลอดชีวิตต้องทรมานร่างกายและจิตใจนอกจากนี้หากทรัพย์สินหายจากการกระทำละเมิดก็มีสิทธิได้รับชดใช้อีกต่างหาก จำเลยที่2และที่4ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดโดยมิได้ร่วมกันแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์คงรับผิดเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสงวนสิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายหลังเกิดอุบัติเหตุ และผลของการทำสัญญาแทนผู้เยาว์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิด เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 จำนวนเงิน90,000 บาทโจทก์ที่ 5 และที่ 6 จำนวนเงินคนละ 60,000บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่6 แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ. หรือไม่ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ. หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ตกลงใช้เงินจำนวน150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5แทนผู้เยาว์ทั้งสามซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1574(8) เดิม(มาตรา 1574(12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไว้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: การประมาทเลินเล่อของทั้งคนขับรถบรรทุกและพนักงานขับรถไฟ
การที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทย วิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่า เมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 57 (8) จึงบัญญัติว่า ห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า 15 เมตรแต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่น เมื่อจำเลยที่ 2 นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ 2 เมตร หรือ 1 เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ผิด กรณีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา 425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223 วรรคหนึ่ง, 438 วรรคหนึ่ง และ 442 ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่น พนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไป ส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ 20 เมตร เมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ 10 เมตร เห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน ช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้น ซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้ว ปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ 50 เมตร ในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ 3 ปี ก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำ และพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา 18 นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น การที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้า แสดงว่าการที่จำเลยที่ 2 นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้ พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อย จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่า เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับ เป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่า ในส่วนของความประมาทเลินเล่อศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: การเฉลี่ยความรับผิดเมื่อเกินวงเงินประกัน
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุให้จำเลยที่ 4 รับผิดในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวน 500,000 บาทต่ออุบัติเหตุ 1 ครั้ง แต่ในมูลคดีเดียวกันนี้จำเลยที่ 4 ถูกองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฟ้องเรียกค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเงิน 144,580.48 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวคือจำเลยที่ 4 คดีนี้จำเลยที่ 4 ได้ชำระเงิน 195,183 บาท ไปแล้ว เมื่อรวมกับความรับผิดของจำเลยทั้งสองที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้ จำนวน 2,620,210.80 บาท รวมยอดความรับผิดทั้งสิ้น 2,764,791.28 บาท จึงเกินวงเงินที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำกัดความรับผิดไว้เพียง 500,000 บาท ดังนั้นจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์คดีนี้เฉลี่ยตามส่วนที่ได้รับความเสียหายโดยต้องรับผิดเพียง 473,853.27 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีอุบัติเหตุซ้ำซ้อน ศาลคำนวณความรับผิดตามสัดส่วนความเสียหาย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุให้จำเลยที่4รับผิดในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวน500,000บาทต่ออุบัติเหตุ1ครั้งแต่ในมูลคดีเดียวกันนี้จำเลยที่4ถูกองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฟ้องเรียกค่าเสียหายศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเงิน144,580.48บาทซึ่งจำเลยที่2ในคดีดังกล่าวคือจำเลยที่4คดีนี้จำเลยที่4ได้ชำระเงิน195,183บาทไปแล้วเมื่อรวมกับความรับผิดของจำเลยทั้งสองที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้จำนวน2,620,210.80บาทรวมยอดความรับผิดทั้งสิ้น2,764,791.28บาทจึงเกินวงเงินที่จำเลยที่4จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำกัดความรับผิดไว้เพียง500,000บาทดังนั้นจำเลยที่4จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์คดีนี้เฉลี่ยตามส่วนที่ได้รับความเสียหายโดยต้องรับผิดเพียง473,853.27บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุและการแจ้งสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยคำนึงถึงเหตุจำเป็น
คำว่า"ทุพพลภาพ"หมายถึงหย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์และต้องพูดคุยกับลูกค้าที่มาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า"การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ"ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควรโจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับขี่และการเว้นระยะห่างที่ปลอดภัย ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์
ก่อนเกิดเหตุ มีผู้โดยสารเคาะกระจกให้จำเลยที่ 1 จอดรถจำเลยที่ 1 จึงจอดรถเข้าข้างทางให้ผู้โดยสารลง ขณะที่ผู้โดยสารกำลังลงจากรถจำเลยที่ 2 ก็ขับรถจักรยานยนต์แล่นมาชนท้ายรถของจำเลยที่ 1 แม้จะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถเร็ว แต่พฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่า จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ตามหลังรถของจำเลยที่ 1 ด้วยความประมาทโดยไม่เว้นระยะห่างพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถโดยปลอดภัย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4), 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9035/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่เบี้ยความเสียหายจากอุบัติเหตุรถแท็กซี่: ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม และขอบเขตความรับผิดตามสัญญา
โจทก์และจำเลยในคดีนี้กับ ป.เคยถูก ช.ฟ้องเป็นจำเลยให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากรถยนต์แท็กซี่ของจำเลยซึ่งขับโดย ป.ชนรถยนต์ของ ช.เสียหาย คดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ ป.และโจทก์ร่วมกันชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมแก่ ช.ส่วนจำเลยศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้นำรถยนต์แท็กซี่พิพาทเข้าร่วมเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อประโยชน์ร่วมกัน แม้โจทก์กับจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อนด้วย คำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยคดีนี้ด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยไม่ได้นำรถยนต์แท็กซี่พิพาทเข้าร่วมเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
แม้ในแบบพิมพ์คำร้องขอลาออกจากการเป็นสมาชิกของโจทก์ซึ่งจำเลยลงชื่อจะมีข้อความว่า หากจำเลยหรือบุคคลที่จำเลยมอบหมายให้ขับรถยนต์แท็กซี่คันพิพาทได้กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น ทำให้โจทก์ต้องร่วมรับผิด และทางโจทก์มาทราบผลละเมิดภายหลังที่จำเลยได้ลาออกจากการเป็นสมาชิก จำเลยขอรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ทั้งสิ้น และขอสละข้อต่อสู้ต่าง ๆ ทั้งหมดในการที่โจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายก็ตาม เงื่อนไขตามเอกสารดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีละเมิดที่เกิดในระหว่างที่จำเลยเป็นสมาชิกและนำรถยนต์แท็กซี่พิพาทเข้าวิ่งร่วมกับโจทก์ตามสัญญารถร่วมด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดและผูกพันโจทก์และจำเลยว่าจำเลยไม่ได้นำรถยนต์แท็กซี่พิพาทเข้าร่วมเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อประโยชน์ร่วมกันและจำเลยไม่ต้องรับผิดร่วมกับโจทก์แล้วโจทก์จะมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8137-8138/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งความรับผิดชอบค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะที่เหมาะสม
ในคดีอาญาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแม้จำเลยที่2จะขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้รถซึ่งจำเลยที่2ขับชนกับรถซึ่งผู้ตายขับทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายแต่ปรากฏตามคำฟ้องว่าผู้ตายเป็นฝ่ายประมาทด้วยและข้อเท็จจริงได้ความว่าสาเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นเพราะผู้ตายกลับรถกลางถนนในเขตชุมนุมชนผู้ตายจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มากกรณีมีเหตุอันควรปรานีรอการลงโทษให้จำเลยที่2ดังนี้ศาลฎีกามิได้วินิจฉัยว่าผู้ตายกระทำโดยประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่2ศาลฎีกาเพียงแต่ให้เหตุผลว่าผู้ตายเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มากควรรอการลงโทษให้จำเลยที่2เท่านั้น
of 47