คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินกู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบรับเงินทดรองและชำระหนี้ รวมถึงเงินกู้ ต้องปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีแบบพิมพ์หรือกรรมการเซ็น
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใดๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้ว แม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้ง เงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจทก์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้ เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้นโจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ ในการรับชำระเงินคืนบริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและ ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา: ศาลยืนยันการบังคับคดีแม้มีข้อกล่าวหาอื่น
ศาลบังคับคดีตามยอม ให้จำเลยผ่อนชำระเงินกู้เดือนละ 3,000 บาทโจทก์ถูกฟ้องในข้อหาเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ทำหลักฐานเท็จหลีกเลี่ยงภาษีอากรไม่เป็นเหตุที่จะงดการบังคับคดีตาม มาตรา 293

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีว่าสัญญาไม่มีมูลหนี้และไม่ได้กู้เงินจริง จำเลยมีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ไป 7,000 บาท ได้มอบตราจองที่ดินของจำเลยให้โจทก์ยึดถือไว้ แล้วจำเลยไม่ชำระ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า น้องสาวและน้องเขยของจำเลยกู้เงินโจทก์ 14,000 บาท ได้นำตราจองไปให้โจทก์ยึดถือไว้ เนื่องจากจำเลยและน้องสาวของจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมในตราจองดังกล่าว จำเลยจึงลงชื่อในสัญญากู้เพื่อค้ำประกันหนี้ของน้องสาวและน้องเชย โดยจำเลยไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ไปจากโจทก์ ดังนี้ จำเลยมีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย เพราะเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอันเป็นมูลเหตุและความประสงค์ที่สัญญาเพื่อแสดงว่าไม่มีมูลหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ประการหนึ่งและหนี้เงินกู้ตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ เพราะโจทก์ไม่ได้ส่งมอบเงินที่กู้ให้จำเลยอีกประการหนึ่ง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15 และ 16/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารสิทธิเพื่อหลอกลวงเอาเงินกู้ และการใช้เอกสารปลอมนั้น
จำเลยกู้เงินผู้เสียหายแล้วทำหนังสือสัญญากู้ลงลายมือชื่อผู้อื่นในช่องผู้กู้ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยเองเป็นผู้กู้ การกระทำของจำเลยเป็นการทุจริตเพื่อจะให้ได้เงินที่กู้ไป แต่มิให้ผู้เสียหายใช้สัญญากู้นั้นเป็นหลักฐานฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลย ผู้เสียหายได้รับความเสียหายจำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิเมื่อจำเลยได้มอบสัญญากู้ให้ผู้เสียหายยึดถือไว้ จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการใช้เงินกู้ - สัญญาซื้อขายที่ดินไม่ใช่หลักฐานการชำระหนี้กู้
หนี้ตามสัญญาเงินกู้ซึ่งแปลงมาจากหนี้ที่ค้างชำระราคาที่ดินที่ซื้อขายกันระหว่างโจทก์จำเลยนั้น จะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดงว่าจำเลยได้ใช้เงินตามที่กู้แล้ว หรือได้มีการแทงเพิกถอนลงในสัญญากู้นั้น การที่โจทก์เซ็นในหนังสือสัญญาซื้อขาย (ที่ดินแปลงนั้น) ว่าได้รับเงินไปแล้วนั้น เป็นคนละเรื่องกับการกู้ยืมรายนี้ ยังไม่พอจะถือเป็นหลักฐานที่จำเลยได้คืนเงินกู้ให้โจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจรับเงินกู้: ตัวแทนกระทำภายในขอบอำนาจ ตัวการต้องรับผิด แม้ตัวการไม่ได้รับเงิน
ผู้กู้ทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นรับเงินที่กู้จากผู้ให้กู้ถือว่าผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของผู้กู้ ผู้กู้ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของตัวแทนของตนซึ่งกระทำไปภายในขอบอำนาจการที่ตัวแทนของผู้กู้ได้รับเงินจากผู้ให้กู้แล้ว แต่มิได้นำไปให้ผู้กู้หาทำให้สัญญากู้ไม่สมบูรณ์ไม่ ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกู้จากผู้กู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายเพื่อตีใช้หนี้เงินกู้ การชำระหนี้บางส่วน และสิทธิในการอายัดทรัพย์
จำเลยกู้เงินโจทก์แล้วต่อมาจำเลยตกลงจะขายที่พิพาทให้โจทก์หักหนี้เงินกู้กับราคาที่พิพาท และให้ถือว่าเงินที่จำเลยกู้ไปเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยเป็นค่าที่ดินล่วงหน้าบางส่วน และโจทก์จะจ่ายเงินค่าที่พิพาทให้จำเลยในวันที่ไปทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันที่อำเภออีก 500 บาทด้วย ดังนี้ เป็นสัญญาจะซื้อจะขายและมีการชำระค่าที่ดินบางส่วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงซื้อขายเพื่อชำระหนี้เงินกู้ โดยถือว่าเงินกู้เป็นค่าที่ดินล่วงหน้า ถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
จำเลยกู้เงินโจทก์แล้วต่อมาจำเลยตกลงจะขายที่พิพาทให้โจทก์หักหนี้เงินกู้กับราคาที่พิพาท และให้ถือว่าเงินที่จำเลยกู้ไปเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยเป็นค่าที่ดินล่วงหน้าบางส่วน และโจทก์จะจ่ายเงินค่าที่พิพาทให้จำเลยในวันที่ไปทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันที่อำเภออีก 500 บาทด้วย ดังนี้ เป็นสัญญาจะซื้อจะขายและมีการชำระค่าที่ดินบางส่วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1018/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องร้องเรียกเงินกู้และดอกเบี้ย: การแสดงสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้อง และการพิสูจน์ข้อตกลง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไป 3,000 บาท อัตราชั่งละ 1 บาทต่อเดือน โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ไว้ตามสำเนาท้ายฟ้องจำเลยผิดนัดค้างส่งดอกเบี้ยตลอดมา โจทก์ทวงถามก็ไม่ชำระ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินต้นและดอกเบี้ย 4,440 บาทพร้อมกับดอกเบี้ยชั่งละ 1 บาทต่อเดือนคิดจากเงินต้น 3,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเงินเสร็จหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ใช้แทน และยังปรากฏตามสัญญาข้อ 4 และข้อ 6 ด้วยว่า "ข้าพเจ้ายอมให้ดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือนแก่ท่านทุกเดือนไปจนกว่าจะนำเงินต้นส่งให้แก่ท่านจนครบจำนวน แม้ข้าพเจ้าประพฤติผิดสัญญานี้แต่ข้อหนึ่งข้อใดก็ดีข้าพเจ้ายอมให้ท่านฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ข้าพเจ้าตามกฎหมาย" ดังนี้ ฟังได้ว่าฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยผิดนัดตามสัญญากู้ที่โจทก์อ้างเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีล้มละลาย vs. คดีขอชำระหนี้เงินกู้ แม้เป็นเรื่องเดียวกันแต่ประเด็นต่างกัน
ในคดีล้มละลายที่โจทก์ฟ้องจำเลยและศาลยกฟ้องไปแล้วนั้น มีประเด็นข้อใหญ่อยู่ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินจะชำระหนี้ อยู่ในเกณฑ์ที่ศาลจะพิพากษาให้ล้มละลายได้หรือไม่ ในคดีนี้มีประเด็นอยู่ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริงหรือไม่ โดยโจทก์ฟ้องขอให้ชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้เงินโจทก์ไป ซึ่งเป็นคนละประเด็นกันการวินิจฉัยในเรื่องทั้งสองนี้จึงมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144, 148
of 11