พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406-3410/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่โต้แย้งคำสั่งเงินทดแทนในเวลาที่กำหนด สิทธิในการต่อสู้คดีในศาลแรงงานเป็นอันสิ้นสุด
การที่นายจ้างทราบคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแล้วมิได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่ออธิบดีกรมแรงงานภายในกำหนด นายจ้างหามีสิทธิดำเนินการในศาลแรงงานไม่ และการดำเนินการไม่ได้นี้รวมถึงเมื่อลูกจ้างฟ้องขอให้ศาลบังคับนายจ้างจ่ายเงินทดแทนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน นายจ้างก็ไม่มีสิทธิต่อสู้คดีได้ด้วย เพราะต้องถือว่าคำวินิจฉัยของพนักงานเงินทดแทนนั้นเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406-3410/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งพนักงานเงินทดแทน: หากไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามขั้นตอนแล้ว จะไม่สามารถต่อสู้คดีในศาลแรงงานได้
การที่นายจ้างทราบคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแล้วมิได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่ออธิบดีกรมแรงงานภายในกำหนด นายจ้างหามี สิทธิดำเนินการในศาลแรงงานไม่ และการดำเนินการไม่ได้นี้ รวมถึงเมื่อลูกจ้างฟ้องขอให้ศาลบังคับนายจ้างจ่ายเงินทดแทนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน นายจ้างก็ไม่มีสิทธิต่อสู้คดีได้ด้วย เพราะต้องถือว่าคำวินิจฉัยของ พนักงานเงินทดแทนนั้นเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของนายจ้าง: อำนาจการรับรู้อยู่ที่ผู้อำนวยการองค์การ ไม่ใช่หน่วยงานสาขา
ผู้แทนของโจทก์ได้แก่ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้การที่จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทน ก็คือผู้อำนวยการของโจทก์ทราบนั่นเอง แม้โจทก์จะมีหน่วยงานอื่นซึ่งได้แก่ส่วนทำไม้ตากและฝ่ายทำไม้ภาคเหนือ แต่ทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็มิได้มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการจ่ายเงินทดแทน หรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว หรือมิได้มีอำนาจที่จะนำคดีมาสู่ศาลได้ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอันจะถือได้ว่าส่วนทำไม้ตากเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานการที่แรงงานจังหวัดกำแพงเพชรแจ้งคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนให้ส่วนทำไม้ตากรับทราบในวันที่ 21 ธันวาคม 2526 จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทราบคำสั่งในวันดังกล่าวถือว่าโจทก์เพิ่งทราบคำสั่งดังกล่าวจากบันทึกรายงานของฝ่ายทำไม้ภาคเหนือเมื่อวันที่ 19 มกราคม2527 การที่โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวและนำคดีมาสู่ศาลในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 จึงไม่เกิน 30 วันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันรู้แจ้งคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนสำหรับนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล: อำนาจของผู้รับมอบ และการนับระยะเวลาฟ้องคดี
ผู้แทนของโจทก์ได้แก่ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้การที่จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทน ก็คือผู้อำนวยการของโจทก์ทราบนั่นเองแม้โจทก์จะมีหน่วยงานอื่นซึ่งได้แก่ส่วนทำไม้ตากและฝ่ายทำไม้ภาคเหนือแต่ทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็มิได้มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการจ่ายเงินทดแทน หรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว หรือมิได้มีอำนาจที่จะนำคดีมาสู่ศาลได้ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอันจะถือได้ว่าส่วนทำไม้ตากเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานการที่แรงงานจังหวัดกำแพงเพชรแจ้งคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนให้ส่วนทำไม้ตากรับทราบในวันที่ 21 ธันวาคม 2526 จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทราบคำสั่งในวันดังกล่าวถือว่าโจทก์เพิ่งทราบคำสั่งดังกล่าวจากบันทึกรายงานของฝ่ายทำไม้ภาคเหนือเมื่อวันที่ 19 มกราคม2527 การที่โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวและนำคดีมาสู่ศาลในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 จึงไม่เกิน 30 วันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: การพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานและโรคประจำตัว
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ผู้ตายเป็นลูกจ้างได้ประสบอันตรายถึงแก่ความตายและเรียกเงินทดแทนแยกเป็นค่าทดแทนและค่าทำศพเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว ส่วนจำนวนที่เรียกร้องจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลจะวินิจฉัยต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โรคหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายอันเป็น ผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงดังนี้ เมื่อผู้ตายเดินตรวจสต๊อกในโชว์รูมแล้วลื่นล้มศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายโดยมีบาดแผลบริเวณแก้มขวาเพียงเล็กน้อย ประกอบทั้งการตรวจพิสูจน์ของแพทย์ว่าสาเหตุของ การตายเกิดจากหัวใจวาย และปรากฏว่าผู้ตายเป็นโรคหัวใจโตและลิ้นหัวใจรั่วอยู่ก่อนแล้ว โอกาสที่จะประสบอันตรายเพราะเกิดภาวะหัวใจวายโดยฉับพลันมีขึ้นเมื่อใดก็ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน ต้องมีความเชื่อมโยงกับการปฏิบัติหน้าที่ หากเป็นการถูกทำร้ายโดยไม่เกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน
ลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ปิดเปิดเครื่องกั้นถนนถูกคนร้ายใช้ปืนยิงได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างอย่างไร ตามทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนก็เพียงสันนิษฐานว่าคนร้ายยิงผิดตัวเข้าใจว่าลูกจ้างเป็นลูกจ้างของโจทก์อีกคนหนึ่งซึ่งเข้าเวรก่อนหน้านั้น สาเหตุที่ลูกจ้างถูกคนร้ายยิงจึงยังไม่เป็นที่แน่ชัด แม้จะเป็นการได้รับบาดเจ็บระหว่างการทำงานก็ถือไม่ได้ว่าประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการถูกยิงขณะละทิ้งหน้าที่ ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เข้าข่ายประสบอันตรายจากการทำงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งวินิจฉัยว่าลูกจ้างได้รับอันตรายถึงแก่ความตายมิใช่เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงอยู่ที่ว่าคณะกรรมการได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนหรือไม่ คำวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์ระบุว่าคณะกรรมการวินิจฉัยอย่างไร ลูกจ้างถูกยิงตายที่ใดและเมื่อใดซึ่ง จำเลยก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส่วนโจทก์จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ลูกจ้างถูกยิงตายเนื่องจากมูลกรณีใดและได้รับค่าจ้างเดือนละเท่าใด เป็นรายละเอียด หากจำเลยให้การโต้เถียงก็อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้ลูกจ้างจะถูกยิงตายในช่วงเวลาที่มีหน้าที่เป็นยามและสถานที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของลูกจ้างแต่การที่ลูกจ้างหลีกเลี่ยงหน้าที่ไปนั่งเสพสุราร่วมกับพวกและ จ. มิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ เป็นการละทิ้งหน้าที่ จะถือว่าระหว่างที่ลูกจ้างเสพสุราร่วม กับพวกเป็นการปฏิบัติหน้าที่เป็นยามควบคู่ไปด้วยหาได้ไม่ จึงไม่ใช่เป็น กรณีที่ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ อีกประการหนึ่ง คนร้ายที่ เข้ามาทำร้าย จ. มิใช่เข้ามาทำร้ายลูกจ้างหรือประสงค์ต่อทรัพย์สิน ของนายจ้าง มูลกรณีที่ลูกจ้างถูกยิงตายมิได้เกิดจากเหตุที่ทำงานให้ แก่นายจ้างหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง ถือไม่ได้ว่าลูกจ้าง ประสบอันตรายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงคนครัวเรือ: ค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณเงินทดแทน
ส. ลูกจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งคนครัวประจำเรือบรรทุกน้ำมันระหว่างปฏิบัติงานในเรือ โจทก์จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ โดยหนึ่งเดือนจะได้หยุดงาน 7 วันติดต่อกันและไม่ได้เบี้ยเลี้ยง การปฏิบัติงานของ ส. ระหว่างเรือออกปฏิบัติงานขนส่งน้ำมันจึงมิใช่เป็นการไปทำงานนอกสถานที่เป็นครั้งคราว เบี้ยเลี้ยงที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงลูกจ้างบนเรือบรรทุกน้ำมันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณเงินทดแทน
ส. ลูกจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งคนครัวประจำเรือบรรทุกน้ำมัน ระหว่างปฏิบัติงานในเรือ โจทก์จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้โดยหนึ่งเดือนจะได้ หยุดงาน 7 วันติดต่อกันและไม่ได้เบี้ยเลี้ยง การปฏิบัติงานของ ส. ระหว่างเรือออกปฏิบัติงานขนส่งน้ำมันจึงมิใช่เป็นการไปทำงาน นอกสถานที่เป็นครั้งคราวเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างซึ่งจะต้อง นำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทดแทนกับการจ่ายค่าชดเชย: แม้เปลี่ยนชื่อ แต่หลักเกณฑ์เดิมยังไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย
เงินทดแทนที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างมีหลักเกณฑ์แตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง แม้จำเลยจะแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินนั้นจาก "เงินทดแทน" เป็น "ค่าชดเชย " แต่หลักเกณฑ์การจ่ายและการได้มาซึ่งสิทธิก็ยังเป็นไปตามเดิม จึงหาทำให้เงินดังกล่าวกลายเป็นค่าชดเชยไม่