พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากเหตุผลที่จำเลยให้การต่อสู้คดี และสิทธิการรับเงินบำเหน็จ
การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริตโดย หวังผลประโยชน์อันได้ชื่อ ว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แสดงว่าจำเลยได้ เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุไม่ไว้วางใจโดย มีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต มิใช่เลิกจ้างเพราะโจทก์กระทำทุจริตโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องนำสืบพยานถึง การกระทำทุจริตโดยตรงของโจทก์ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุไม่ไว้วางใจจึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่ถูก ปลดออกจากงานจะไม่มีสิทธิได้ รับเงินบำเหน็จเพราะมีความผิด เมื่อจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเพราะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่ได้ปลดออกเพราะกระทำผิด โจทก์จึงมีสิทธิได้ รับเงินบำเหน็จ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จ แม้จำเลยจะออกคำสั่งยกเลิกหลังลูกจ้างลาออก
ก่อนโจทก์ลาออกจากงาน จำเลยยังคงจ่ายค่าครองชีพให้พนักงานรวมทั้งโจทก์ด้วย ต่อมาหลังจากโจทก์ลาออกจากงานไปแล้ว จำเลยมีคำสั่งยกเลิกการจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงาน คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ ถือได้ว่าขณะโจทก์ลาออกจากงาน โจทก์ได้รับค่าครองชีพอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณเงินบำเหน็จด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักหนี้จากเงินบำเหน็จ-สะสมได้ แม้มีประกันความเสียหายจากจำนอง
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ในการทำสัญญาจ้างโจทก์ได้จำนองที่ดินแปลงหนึ่งไว้เป็นประกันความเสียหาย ซึ่งย่อมแยกการจำนองกับหนี้ที่เอาทรัพย์สินจำนองเป็นประกันออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจำเลยจึงมีสิทธิเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจำนองก็ได้เพราะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ไม่บังคับว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองเพียงทางเดียว ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ค่าเสียหายจากที่ดินที่จำนองและจำเลยมีหนี้ต้องชำระเงินสะสมและเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่งให้โจทก์ ประกอบกับจำเลยได้ใช้สิทธิขอหักหนี้มาในคำให้การแล้ว จำเลยจึงมีสิทธินำเงินบำเหน็จของโจทก์มาหักกับค่าเสียหายของจำเลยได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 341 โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันก่อน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512-523/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องเงินบำเหน็จลูกจ้าง: การคำนวณค่าจ้าง (รวมค่าครองชีพ) และดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 มาใช้บังคับเพราะโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างประจำของจำเลย หากศาลฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธินำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จเพราะค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้างตามระเบียบดังกล่าว หากศาลฟังว่าโจทก์มีสิทธินำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จ โจทก์ก็มีอายุงานที่จะได้รับเงินบำเหน็จตามฟ้อง เป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ชัดแจ้งแล้ว ส่วนที่ว่าหากศาลฟังว่าอย่างไรนั้น เป็นการกล่าวอ้างถึงคำวินิจฉัยของศาลหาใช่ยืนยันข้อเท็จจริงนั้นไม่ดังนี้ เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองแล้ว
เงินบำเหน็จลูกจ้างไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องจ่ายให้ลูกจ้างทันที่เมื่อเลิกจ้างจึงต้องทวงถามก่อน มิฉะนั้นจะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)
เงินบำเหน็จลูกจ้างไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องจ่ายให้ลูกจ้างทันที่เมื่อเลิกจ้างจึงต้องทวงถามก่อน มิฉะนั้นจะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512-523/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างประจำในการรับเงินบำเหน็จ: การพิจารณาค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 มาใช้บังคับเพราะโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างประจำของจำเลย หากศาลฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จ เพราะค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้างตามระเบียบดังกล่าวเป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ชัดแจ้งแล้ว ส่วนที่ว่าหากศาลฟังว่าอย่างไรนั้น เป็นการกล่าวอ้างถึงคำวินิจฉัยของศาล หาใช่ยืนยันข้อเท็จจริงนั้นไม่ เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้วคดีจึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินบำเหน็จ: เกณฑ์การรวมระยะเวลาทำงานนักเรียนอบรม, จำนวนวันทำงานรายวัน, และค่าครองชีพ
ตามข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างว่าด้วยกองทุนบำเหน็จกำหนดว่า 'พนักงาน' หมายถึง พนักงานประจำตามอัตรากำลังขององค์การทอผ้า และ 'อายุการทำงาน' หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจน ถึงวันพ้นตำแหน่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้บรรจุโจทก์เป็นนักเรียนอบรมโดยได้รับเบี้ยเลี้ยงในระหว่างเป็นนักเรียนอบรมตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม2512 และโจทก์ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำรายวันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ดังนั้นโจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานตามข้อบังคับดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ก่อนหน้านี้โจทก์ยังมิได้เป็นพนักงานประจำของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธินำระยะเวลาระหว่างที่เป็นนักเรียนอบรมมารวมคำนวณเงินบำเหน็จได้
ในการคำนวณเงินบำเหน็จ ข้อบังคับของจำเลยมิได้กำหนดว่าค่าจ้างเดือนสุดท้ายของพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างกี่วัน เพียงแต่ให้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือน หรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีของอายุการทำงานเท่านั้น จึงต้องถือจำนวนค่าจ้างที่ได้รับจริง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำงานเดือนละ 23 วัน แม้ระเบียบใหม่ของจำเลยจะระบุให้คิดเดือนหนึ่ง 26 วัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยออกใช้บังคับสำหรับพนักงานใหม่ที่ได้รับการบรรจุตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519 โดยเฉพาะโดยจำเลยมีสิทธิที่จะกำหนดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสำหรับพนักงานใหม่ได้หาใช่จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับโจทก์ไม่โจทก์จึงมีสิทธิคำนวณค่าจ้างรายวันโดยคิดได้เพียงจำนวน 23วันเป็นหนึ่งเดือนเท่านั้น
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์เดือนละ 400 บาท เป็นจำนวนแน่นอน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานเช่นเดียวกับค่าจ้างเมื่อข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ยกเว้นไว้โดยชัดแจ้งว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จให้โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
ในการคำนวณเงินบำเหน็จ ข้อบังคับของจำเลยมิได้กำหนดว่าค่าจ้างเดือนสุดท้ายของพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างกี่วัน เพียงแต่ให้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือน หรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีของอายุการทำงานเท่านั้น จึงต้องถือจำนวนค่าจ้างที่ได้รับจริง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำงานเดือนละ 23 วัน แม้ระเบียบใหม่ของจำเลยจะระบุให้คิดเดือนหนึ่ง 26 วัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยออกใช้บังคับสำหรับพนักงานใหม่ที่ได้รับการบรรจุตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519 โดยเฉพาะโดยจำเลยมีสิทธิที่จะกำหนดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสำหรับพนักงานใหม่ได้หาใช่จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับโจทก์ไม่โจทก์จึงมีสิทธิคำนวณค่าจ้างรายวันโดยคิดได้เพียงจำนวน 23วันเป็นหนึ่งเดือนเท่านั้น
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์เดือนละ 400 บาท เป็นจำนวนแน่นอน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานเช่นเดียวกับค่าจ้างเมื่อข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ยกเว้นไว้โดยชัดแจ้งว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จให้โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังไม่ได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการและจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังมิได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการ และจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังมิได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการและจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, เงินบำเหน็จ: การคำนวณฐานจากค่าครองชีพและเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ
องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปนายจ้างจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างประจำทุกเดือนและมีจำนวนแน่นอน ซึ่งเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานของลูกจ้างทุกคน ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ทั้งตามข้อบังคับของจำเลยให้ความหมายของคำว่า"เงินเดือน" ว่า หมายถึงเงินที่องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปจ่ายให้แก่พนักงานเป็นรายเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงาน ค่าครองชีพจึงอยู่ในความหมายของคำว่า "เงินเดือน" ตามข้อบังคับของจำเลย หาใช่เป็นสวัสดิการไม่ ฉะนั้น การคำนวณค่าชดเชยและเงินบำเหน็จของลูกจ้างจึงต้องนำค่าครองชีพมารวมคำนวณด้วย ส่วนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวเป็นเงินที่กระทรวงกลาโหมสั่งให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์ เพื่อเป็นการปูนบำเหน็จความชอบแก่โจทก์ เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่สู้รบณ สาธารณรัฐเวียตนาม มิใช่เป็นเงินที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จระบุว่า พนักงานซึ่งออกจากงานมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จแต่เพียงอย่างเดียว และให้ถือว่าเป็นเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย เงินบำเหน็จดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานด้วยดีตลอดมาจนออกจากงาน ถือได้ว่าเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากค่าชดเชยที่ข้อบังคับของจำเลยให้ถือว่าการจ่ายเงินบำเหน็จเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วยเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 ไม่มีผลบังคับ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ต่างหาก