คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่ต้องรับผิดหนี้เงินประกันความเสียหายตามสัญญาเช่าเดิม
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้ว ก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะการคืนเงินประกันความเสียหายเป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่า จึงไม่ใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตาม จำเลยที่ 2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1จะต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิสัญญาเช่าและการรับผิดชอบเงินประกันความเสียหายของผู้รับโอน
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวให้เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้วก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินนี้ขึ้นใหม่ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 วรรคสอง แต่อย่างใดเนื่องจากการคืนเงินนี้เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่าจึงหาใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตามไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325-2326/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันการทำงานและการผิดสัญญาจ้าง: การริบเงินประกันเมื่อลูกจ้างลาออกก่อนกำหนดและไม่แจ้งล่วงหน้า
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดให้โจทก์วางเงินประกันการทำงานไว้ต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างและกำหนดเงื่อนไขในการที่โจทก์จะได้เงินดังกล่าวคืนเมื่อลาออกจากงานว่า โจทก์ได้ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีโดยแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือน เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ประกันความเสียหายเนื่องจากการทำงานไม่ครบกำหนดสองปีตามข้อตกลง และมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามเงื่อนไขข้อบังคับของจำเลย มิใช่เป็นเงินประกันค่าเสียหายเนื่องจากการทำงานของโจทก์ขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับในกรณีผิดข้อตกลงหรือผิดสัญญาเมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยไม่ถึงสองปี และได้ลาออกโดยมิได้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือน อันเป็นการผิดข้อตกลงและเงื่อนไขเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยย่อมได้รับความเสียหาย และกรณีไม่มีข้อโต้แย้งว่าเป็นจำนวนค่าเสียหายที่สูงเกินส่วน จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินประกันได้ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325-2326/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันการทำงานเป็นเบี้ยปรับได้ หากลูกจ้างลาออกก่อนครบกำหนดและไม่แจ้งล่วงหน้า
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดให้โจทก์วางเงินประกันการทำงานไว้ต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างและกำหนดเงื่อนไขในการที่โจทก์จะได้เงินดังกล่าวคืนเมื่อลาออกจากงานว่า โจทก์ได้ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีโดยแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือนเงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ประกันความเสียหายเนื่องจากการทำงานไม่ครบกำหนดสองปีตามข้อตกลง และมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามเงื่อนไขข้อบังคับของจำเลย มิใช่เป็นเงินประกันค่าเสียหายเนื่องจากการทำงานของโจทก์ขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยแต่ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับในกรณีผิดข้อตกลงหรือผิดสัญญาเมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยไม่ถึงสองปี และได้ลาออกโดยมิได้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือน อันเป็นการผิดข้อตกลงและเงื่อนไขเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยย่อมได้รับความเสียหาย และกรณีไม่มีข้อโต้แย้งว่าเป็นจำนวนค่าเสียหายที่สูงเกินส่วน จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินประกันได้ทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อนุญาตอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีแรงงาน และยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ให้คืนเงินประกัน
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779-4781/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน-การหักค่าจ้าง-เงินประกันความเสียหาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นอำนาจศาลและขอบเขตการพิพากษา
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่อันเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาก็อาจยกขึ้นพิจารณาได้แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยก็ไม่รับวินิจฉัยให้ได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ขาดไป ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยหักค่าจ้างโจทก์บางส่วนและหักจากเงินประกันความเสียหายของโจทก์บางส่วนซึ่งเป็นการไม่ชอบ เมื่อเงินประกันความเสียหายคือเงินค่าจ้างของโจทก์ที่จำเลยหักไว้แต่ละเดือนอันถือได้ว่าเป็นค่าจ้างส่วนหนึ่งด้วยเช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินประกันความเสียหายที่จำเลยหักจากโจทก์ไปดังกล่าว จึงหาเป็นการเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779-4781/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน, การหักค่าจ้างและเงินประกัน, การพิพากษาเกินคำขอ: คดีนี้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา และการพิพากษาคืนเงินประกันไม่เกินคำขอ
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่อันเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาก็อาจยกขึ้นพิจารณาได้แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยก็ไม่รับวินิจฉัยให้ได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ขาดไป ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยหักค่าจ้างโจทก์บางส่วนและหักจากเงินประกันความเสียหายของโจทก์บางส่วนซึ่งเป็นการไม่ชอบ เมื่อเงินประกันความเสียหายคือเงินค่าจ้างของโจทก์ที่จำเลยหักไว้แต่ละเดือน อันถือได้ว่าเป็นค่าจ้างส่วนหนึ่งด้วยเช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินประกันความเสียหายที่จำเลยหักจากโจทก์ไปดังกล่าว จึงหาเป็นการ เกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและสิทธิเรียกร้องจากสัญญาจ้างแรงงาน การหักเงินประกันความเสียหาย
บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ มีหน้าที่รับฝากเงินค่าขายตั๋วโดยสาร ได้ละทิ้งหน้าที่ไปอันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับของโจทก์เป็นเหตุให้คนร้ายงัดประตูด้านหลังตึกเข้ามางัดลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยและตู้เหล็ก ลักเอาธนบัตรและเงินเหรียญของโจทก์ไปได้ เช่นนี้ โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องสองทาง เมื่อสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาจ้างแรงงาน: ศาลยืนยันการริบเงินประกันได้ตามสัญญา แต่ต้องลดลงตามความเสียหายจริง
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดว่ากรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามสัญญา ลูกจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างริบเงินประกันได้ทันทีโดยให้คำมั่นว่าจะไม่เรียกร้องประการใดจากนายจ้าง จึงเป็นข้อสัญญาซึ่งกำหนดบังคับในลักษณะเป็นเบี้ยปรับอันมีจำนวนเท่ากับเงินประกันที่วางไว้ล่วงหน้าเป็นเงิน 2,100 บาทนั้น เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างภายในระยะเวลาทดลองงาน 180 วัน เพราะเหตุที่ทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของโรงพยาบาลจำเลยเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยมีสิทธิริบเงินประกันในฐานะเป็นเบี้ยปรับได้ตามสัญญา แต่เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งหากสูงเกินกว่าที่เสียหายจริงศาลย่อมลดลงได้ ปรากฏว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับคิดเป็นเงิน 100 บาท ดังนั้นนายจ้างย่อมมีสิทธิริบเงินประกันไว้ได้เพียง 100 บาท ส่วนที่เกินต้องคืนให้ลูกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาจ้างแรงงาน: การริบเงินประกันเมื่อลูกจ้างผิดสัญญาและข้อจำกัดเรื่องความเสียหายที่แท้จริง
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดว่ากรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามสัญญา ลูกจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างริบเงินประกันได้ทันทีโดยให้คำมั่นว่าจะไม่เรียกร้องประการใดจากนายจ้าง จึงเป็นข้อสัญญาซึ่งกำหนดบังคับในลักษณะเป็นเบี้ยปรับอันมีจำนวนเท่ากับเงินประกันที่วางไว้ล่วงหน้าเป็นเงิน 2,100 บาทนั้น เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างภายในระยะเวลาทดลองงาน 180 วัน เพราะเหตุที่ทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของโรงพยาบาลจำเลยเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยมีสิทธิริบเงินประกันในฐานะเป็นเบี้ยปรับได้ตามสัญญา แต่เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งหากสูงเกินกว่าที่เสียหายจริงศาลย่อมลดลงได้ ปรากฏว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับคิดเป็นเงิน 100 บาท ดังนั้นนายจ้างย่อมมีสิทธิริบเงินประกันไว้ได้เพียง 100 บาท ส่วนที่เกินต้องคืนให้ลูกจ้าง.
of 13