พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,077 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามปล้นทรัพย์โดยสำคัญผิดถึงตัวผู้เสียหาย ไม่เป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และพวกคนร้ายนั่งอยู่ด้วยไปจอดที่หน้าบ้านเกิดเหตุ คนร้ายส่วนหนึ่งไปเคาะประตูบ้านเกิดเหตุ เรียกให้คนงานเปิดประตูและส่งเงินให้ มิฉะนั้นจะยิง เจ้าพนักงานตำรวจที่ซุ่มอยู่จะเข้าจับกุม คนร้ายดังกล่าววิ่งขึ้นรถยนต์กระบะซึ่งจำเลยที่ 1 ขับย้อนกลับมาพาหลบหนี เจ้าพนักงานตำรวจจึงติดตามจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกไว้ได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกย่อมมีความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกประสงค์จะปล้นทรัพย์ชาวมอญซึ่งพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุ และได้ลงมือปล้นทรัพย์โดยสำคัญผิดว่าผู้ที่อยู่ในบ้านเกิดเหตุเป็นชาวมอญ แต่ความจริงเป็น ส. ผู้เสียหาย เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะยกความสำคัญผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้เจตนากระทำต่อ ส. หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่การพยายามกระทำความผิดที่ไม่สามารถบรรจุผลได้อย่างแน่แท้
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกประสงค์จะปล้นทรัพย์ชาวมอญซึ่งพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุ และได้ลงมือปล้นทรัพย์โดยสำคัญผิดว่าผู้ที่อยู่ในบ้านเกิดเหตุเป็นชาวมอญ แต่ความจริงเป็น ส. ผู้เสียหาย เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะยกความสำคัญผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้เจตนากระทำต่อ ส. หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่การพยายามกระทำความผิดที่ไม่สามารถบรรจุผลได้อย่างแน่แท้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4849/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปริมาณยาเสพติดกับข้อสันนิษฐานการมีไว้เพื่อจำหน่าย: โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนา แม้ปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) ฯ มาตรา 15 วรรคสาม ได้กำหนดข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดของกฎหมายว่าผู้ที่ครอบครองยาเสพติดให้โทษเกินปริมาณที่กำหนดไว้ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หาได้มีความหมายในทางกลับกันว่าผู้ที่มียาเสพติดให้โทษในปริมาณที่ต่ำกว่าข้อสันนิษฐานแล้วจะฟังว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ได้แต่ประการใด โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ความผิดให้ศาลเชื่อได้ว่ามีไว้ในครอบครองนั้นเพื่อจำหน่าย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 9 เม็ด จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์สืบพยานประกอบคำให้การรับสารภาพว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจริง การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์
มีดที่จำเลยใช้เป็นอาวุธเป็นมีดสปาต้ายาวประมาณ 1 ศอก นับว่าเป็นมีดขนาดใหญ่ที่อาจใช้เป็นอาวุธฟันทำอันตรายแก่บุคคลอื่นถึงแก่ความตายได้ และจำเลยเข้าไปฟันผู้เสียหายบริเวณใบหน้าในขณะที่ผู้เสียหายนอนอยู่ไม่ทันได้ระวังตัว ซึ่งจำเลยสามารถที่จะฟันโดยแรงให้ผู้เสียหายมีแผลฉกรรจ์ได้ แต่ปรากฏว่าบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับบริเวณดั้งจมูกมีขนาดยาวเพียง 2 เซนติเมตร ส่วนที่ศีรษะด้านหลังก็มีขนาดยาวเพียง 3 เซนติเมตร บาดแผลทั้งสองแห่งเป็นแผลตื้นใช้เวลารักษาประมาณ 15 วัน เท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟันโดยแรง นอกจากนี้ยังได้ความจากผู้เสียหายว่ามีดที่จำเลยใช้ฟันมีผ้าพันทั้งด้าม โดยจำเลยเพียงดึงผ้าที่พันทางด้านปลายมีดออกเล็กน้อยเท่านั้น แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายถึงชีวิต สำหรับสาเหตุที่จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายนั้น ปรากฏว่าผู้เสียหายไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้าจำเลยมาก่อน คงได้ความตามทางนำสืบของจำเลยว่ามีสาเหตุมาจากจำเลยเห็นว่าผู้เสียหายเป็นวัยรุ่นหมู่บ้านปลาปากที่เคยทำร้ายเพื่อนของจำเลยซึ่งมิใช่สาเหตุร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกัน พฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า คงฟังเพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4314/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันลักทรัพย์: การพิสูจน์เจตนาและความผิดฐานร่วมกัน vs. ความผิดฐานเฉพาะ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานตั้งแต่สองคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) และ (8) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกระทำความผิดด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) แต่เป็นการกระทำความผิดเฉพาะตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) วรรคแรก โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นปรับบทเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 เป็นการไม่ถูกต้อง และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่แก้ไขก็เป็นการไม่ชอบ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลบหนี vs. พยายามฆ่า: การกระทำที่ส่อแสดงถึงการขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ผู้เสียหายจึงเรียกให้จอดรถข้างทางเพื่อจับกุม ขณะผู้เสียหายยืนอยู่บริเวณไฟเลี้ยวด้านขวาห่างจากรถประมาณ 1 ศอก และหันหน้าเฉียงเข้าหารถเพื่อจดหมายเลขทะเบียนรถได้ยินเสียงเร่งเครื่องยนต์และจำเลยขับรถเคลื่อนมาข้างหน้า ผู้เสียหายจึงกระโดดขึ้นไปบนฝากระโปรงหน้ารถและจับยึดที่ปัดน้ำฝนไว้ จำเลยขับรถแล่นออกไป ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยกระทำก็เพื่อจะหลบหนีผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้จับกุม หากจำเลยมีเจตนาฆ่าคงกระทำโดยการขับรถเบียดกระแทกหรือพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทันทีในขณะผู้เสียหายกำลังก้มจดหมายเลขทะเบียนรถ อันเป็นช่วงโอกาสที่จำเลยจะกระทำเช่นนั้นได้เพราะเป็นระยะใกล้ชิดกันและผู้เสียหายไม่ทันได้ระวังตัว หลังจากที่ผู้เสียหายกระโดดขึ้นไปอยู่บนฝากระโปรงรถและจำเลยยังคงขับแล่นต่อไปรวมเป็นระยะทางประมาณ 6 ถึง 7 กิโลเมตร เป็นเหตุการณ์ที่ใกล้ชิดต่อเนื่องจากเหตุการณ์ตอนแรก จึงน่าเชื่อว่าจำเลยขับรถไม่เร็วมากนัก พฤติการณ์เป็นไปได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะหลบหนีให้พ้นการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจเพียงอย่างเดียว ยังไม่ถึงขั้นพยายามฆ่าเจ้าพนักงานโดยเล็งเห็นผล คดีคงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์: ศาลพิจารณาเจตนาผู้เสียหายและลงโทษตามมาตรา 319 แทน 318
แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยตาม ป.อ. มาตรา 318 แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้เสียหายเต็มใจไปด้วยกับจำเลยอันเป็นกรณีตาม ป.อ. 319 ซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลฎีกาย่อมลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4159/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปและไม้สักอันยังมิได้แปรรูปเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (1) ส่วนความผิดฐานมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1) ความผิดทั้งสองฐานอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากกันได้ แม้จำเลยจะมีไม้ของกลางไว้ในครอบครองคราวเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เจตนา 'มีไว้เพื่อจำหน่าย' ยาเสพติด โจทก์ต้องพิสูจน์ชัดเจน ไม่สามารถสันนิษฐานจากปริมาณได้
การที่จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีน 101 เม็ด แล้วจะสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายนั้น ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานอันเป็นผลร้ายกับจำเลยที่ 1 โจทก์มีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความแจ้งชัดโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสอง เดิม บัญญัติว่า "การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย" ซึ่งตามฟ้องโจทก์ก็ได้ความว่าเมทแอมเฟตามีน 101 เม็ดดังกล่าวมีน้ำหนัก 9.019 กรัม เท่านั้น จึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) และมาตรา 87 (3) (เดิม) ซึ่งเกี่ยวกับภาษีการค้าได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินให้ผู้เสียภาษีทราบโดยระบุให้ทำเป็นหนังสือ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมิน ดังนั้น การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีอากรต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้เสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ จำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่มิได้แจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เพิ่งมีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งให้จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 จึงเป็นการแจ้งการประเมินเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) (เดิม) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์พิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม จำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันนำเข้า ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรจึงขาดอายุความ
การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์พิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม จำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันนำเข้า ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่น: การตีความถ้อยคำ 'ขี้ข้า' บริบทการใช้งานและเจตนาของผู้กล่าว
คำว่า "ดูหมิ่น" ตาม ป.อ. มาตรา 393 ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง ดูถูกเหยียดหยามทำให้อับอายเป็นที่เกลียดชังของประชาชน โดยถ้อยคำที่กล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น หาใช่ตัวผู้กล่าวเองไม่ คำว่า "ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า" นั้น จำเลยมิได้เหยียดหยามตัวผู้เสียหายว่ามีสถานภาพอย่างขี้ข้าหรือผู้รับใช้ แต่เป็นการพูดถึงสถานภาพของครูในโรงเรียนรวมทั้งจำเลยว่าเป็นผู้รับใช้ของผู้เสียหาย เมื่อคำว่า "ขี้ข้า" ในที่นี้จำเลยหมายถึงตัวจำเลยเองและครูในโรงเรียนที่ถูกผู้เสียหายใช้งาน มิใช่หมายถึงตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงมิใช่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้าตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 393