คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องซ้ำต้องห้าม: ศาลวินิจฉัยแล้วว่าผู้ร้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิด จึงยกคำร้อง
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลชั้นต้นแล้วศาลชั้นต้นฟังว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง แต่ฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องไม่มีส่งนรู้เห็นเป็นใจในการที่จำเลยนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด จึงยกคำร้องและคดีถึงที่สุด แล้วผู้ร้องมายื่นคำร้องครั้งใหม่ได้อ้างเหตุอย่างเดียวกันกับในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการรร้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน: สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ และภาระการพิสูจน์เมื่อมีข้อพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด ซึ่งเป็นเอกสารมหาชนแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยผู้มีชื่อในโฉนด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง จำเลยผู้กล่าวอ้างว่าความจริงโจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยซึ่งมิได้เป็นไปตามข้อความในเอกสารนั้น มีภาระการพิสูจน์ให้ปรากฏความจริงตามคำกล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก แม้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์โดยตรง แต่มีสิทธิครอบครองตามสัญญา
ส. เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมาจากบริษัท โจทก์ที่ 1 ได้รับโอนสิทธิการเช่าซื้อและรับมอบรถยนต์คันดังกล่าวมาจาก ส.โดยมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่1กับส. ว่า หากโจทก์ที่ 1 ผ่อนชำระราคาเช่าซื้อในนามของ ส. ครบแล้ว บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจะโอนทะเบียนรถยนต์ให้แก่ ส.ส. ก็จะโอนทะเบียนรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิครอบครองรถยนต์ตามสัญญาที่ทำไว้กับ ส. และมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดแก่รถยนต์คันนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายฝากที่ดิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงและผลของการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ศ. ปลูกสร้างตึกแถวพิพาทในที่ดินโดยมีข้อสัญญากับ น.ว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จและ ศ. ได้รับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่า ศ. จะยกตึกแถวพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ น.เมื่อขณะปลูกสร้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับ น.ในขณะนั้น รู้เห็นยินยอมให้ น. ทำสัญญาดังกล่าว ต้องถือว่า น.มีสิทธิที่จะให้ก่อสร้างตึกแถวในที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยที่ 1ได้โดยไม่ถือว่าตึกแถวพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 เมื่อ ศ. ก่อสร้างตึกแถวพิพาทเสร็จและจดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้ น. น.จึงเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทแต่เพียงผู้เดียว เมื่อ น. ถึงแก่กรรมและทำพินัยกรรมยกตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท และจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่เจ้าของตึกแถวพิพาทไม่มีอำนาจทำสัญญาขายฝากนิติกรรมขายฝากตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมจึงไม่มีผลบังคับ จำเลยร่วมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนนิติกรรมขายฝากตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดินเมื่อมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้มีการอ้างเป็นทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนด จำเลยเก็บรักษาโฉนดไว้ โจทก์ขอโฉนดคืนจากจำเลย จำเลยไม่ยอมคืนให้ ขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อโฉนดมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งจากข้อความที่ระบุในโฉนดได้ความว่า ทางราชการออกโฉนดให้ไว้แก่โจทก์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดนั้น ส่วนที่จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกโฉนดคืนจากจำเลยโดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนด และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดนั้น คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลยหรือไม่ และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดของโจทก์ไว้ เพราะข้ออ้างดังคำให้การของจำเลยเป็นเพียงเหตุที่ทำให้คู่ความอาจไปใช้สิทธิดำเนินการเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกโฉนดคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า หากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดให้โจทก์ภายในกำหนด7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล หรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดฉบับเจ้าของที่ดินเดิม แล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดฉบับใหม่แทนให้โจทก์ โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดิน: แม้เป็นทรัพย์มรดก แต่เจ้าของสิทธิย่อมเรียกคืนได้หากไม่ได้ยินยอมให้ครอบครอง
โจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลย โดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าว และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นคดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์ จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลย และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้การที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินนั้นโจทก์มีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล หรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืนขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดฉบับเจ้าของที่ดินเดิมแล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดฉบับใหม่แทนให้โจทก์โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้นเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี โจทก์ขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องด้วยเหตุอันสมควร มิใช่การอาศัยอนุญาตจากเจ้าของกรรมสิทธิ์
การที่จำเลยปลูกบ้านในที่พิพาทโดยเจ้าของกรรมสิทธิ์พิพาทอนุญาตให้จำเลยอยู่อาศัย แม้จำเลยจะอยู่เรื่อยมาโดยไม่มี ผู้ใดโต้แย้งนั้นถือได้ว่า จำเลยครอบครองที่พิพาทแทนเจ้าของ แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องเปิดทางจำเป็น แม้ไม่ครอบครอง และฟ้องซ้ำไม่สำเร็จหากยังไม่มีคำพิพากษา
โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางจำเป็นได้โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ครอบครองทางพิพาท โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อน ศาลชั้นต้นจึงยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันมาฟ้องจำเลยคนเดียวกันอีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในละเมิดจากการรื้อถอนอาคาร, สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ vs ผู้จะซื้อ, และภาระการพิสูจน์ของผู้ว่าจ้าง
บรรยายฟ้องว่า จำเลยรื้อถอนอาคารที่ติดกับอาคารโจทก์โดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชา ทำให้อาคารของโจทก์ได้รับความเสียหายแตกร้าว โจทก์ต้องก่อสร้างอาคารใหม่ ทั้งเป็นเหตุทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการขายอาหารเพราะลูกค้าไม่กล้าเข้าร้านอาคารโจทก์ที่ใช้ประกอบกิจการค้าขายอาหาร ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่บรรยายเกี่ยวกับความเสียหายและค่าเสียหายชัดแจ้งแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ระบุในคำฟ้องนั้นโจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา เหตุละเมิดที่ทำให้อาคารได้รับความเสียหาย เกิดขึ้นในขณะที่โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อครอบครองอาคารดังกล่าวแทนผู้จะขายโจทก์จึงมีแต่เพียงบุคคลสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนแต่เฉพาะในส่วนที่ทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการขายอาหารในอาคารดังกล่าวซึ่งเป็นผลโดยตรงเท่านั้น โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ที่จะเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่ตัวอาคารเพราะสิทธินั้นเป็นของผู้จะขายอาคารเท่านั้น การที่โจทก์จะให้ผู้ว่าจ้างรับผิดร่วมกับผู้รับจ้างที่กระทำละเมิดต่อโจทก์นั้น โจทก์มีภาระต้องพิสูจน์ว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้างหรือเป็นผู้ควบคุมดูแลผู้รับจ้างที่ทำละเมิดนั้นเมื่อโจทก์สืบไม่ได้ ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในผลละเมิดที่ผู้รับจ้างได้กระทำขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีโดยไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา หากศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยประเด็นสำคัญที่จำเลยอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่าเสาไฟฟ้าเป็นของโจทก์นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงมาจากคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยมิได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยให้ตามอุทธรณ์ของจำเลย ทั้ง ๆ ที่เป็นประเด็นที่จำเลยให้การและอุทธรณ์ต่อสู้ไว้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเสาไฟฟ้าไม่ใช่ของโจทก์ เป็นการพิพากษาคดีโดยไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความตาม มาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประเด็นดังกล่าวแม้ศาลอุทธรณ์จะไม่วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาก็วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีกได้.
of 16