คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของรถ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ขับขี่จากอุบัติเหตุทางถนน, การขาดไร้อุปการะ, และข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่2และที่ 3จำเลยที่2เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่3เป็นกรรมการจำเลยที่1กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และที่3ขับรถยนต์ด้วยความประมาทล้อรถยนต์หลุดไปชนนางล.ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ให้การว่าจำเลยที่2ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่1ขับรถไปในที่เกิดเหตุจำเลยที่1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่2ที่3ดังนี้ข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่2ให้บริษัทก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุและข้อที่จำเลยที่2ฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่2กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่2นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตามเมื่อได้ความว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป100เมตรนางล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันทีและได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้วแต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษาเหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ดังนี้ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่1มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด การที่นางล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านางล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง กรมธรรม์ประกันภัยจำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้25,000บาทต่อหนึ่งคนและ100,000บาทต่อหนึ่งครั้งเมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคนจำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง25,000บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า100,000บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน100,000บาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361-1372/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถต้องรับผิดต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ แม้จะทำสัญญาประกันภัย และอายุความไม่ตัดสิทธิผู้รับประกันภัย
จำเลยที่1มีชื่อเป็นคู่สัญญาซื้อรถบรรทุกคันเกิดเหตุและมีชื่อเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์นั้นไว้กับจำเลยร่วมเมื่อเกิดเหตุรถชนกันขึ้นอ. บุตรชายของจำเลยที่2และเป็นผู้มีส่วนในการดำเนินกิจการของจำเลยที่1อยู่ด้วยได้ให้ถ้อยคำกับพนักงานสอบสวนว่ารถเป็นของจำเลยที่1ส. เป็นคนขับรถของจำเลยที่1โดยในวันเกิดเหตุอ. ได้สั่งให้ส. ขับรถเอามันเส้นของจำเลยที่1ไปส่งที่อำเภอบางประกง นอกจากนี้จำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ได้มอบอำนาจให้อ. ไปรับรถคืนจากพนักงานสอบสวนโดยอ้างว่าเป็นรถของจำเลยที่1พยานหลักฐานต่างๆเหล่านี้รับฟังได้ว่ารถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเป็นของจำเลยที่1และส. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่1ได้ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่1 เมื่อโจทก์นำสืบให้ปรากฏแล้วว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์แม้โจทก์จะไม่นำสืบหรือนำสืบไม่ได้ว่าค่าเสียหายเป็นจำนวนเท่าใดศาลก็อาจกำหนดให้ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด แม้จำเลยที่1ที่2จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเป็นเวลาเกิน1ปีนับแต่วันละเมิดแต่ได้เรียกเข้ามาในฐานะเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่1ที่2จำเลยร่วมจึงไม่อาจยกอายุความละเมิดขึ้นต่อสู้ให้ยกฟ้องคดีโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขับขี่กับเจ้าของรถ หากเจ้าของรถไม่มีส่วนรับผิด ผู้รับประกันภัยก็ไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 7 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ อันเป็นรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายครั้งนี้คดีได้ความแต่เพียงว่า จำเลยที่1 ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุซึ่งเป็นรถของ ช. และช.เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับบริษัทจำเลยที่ 7 เท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏไว้เลยว่า จำเลยที่1 ขับรถยนต์ของ ช. คันดังกล่าวในฐานะอะไร และมีนิติสัมพันธ์กันอย่างไรกับ ช. จึงฟังไม่ได้ว่า ช. เจ้าของรถคันดังกล่าวมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 อันจะเป็นเหตุให้ ช. ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ครั้งนี้ จำเลยที่ 7 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่ ช. ต้องรับผิดชอบ เมื่อ ช.ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 7 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้าง/เจ้าของรถต่อการละเมิดของลูกจ้าง/ผู้ขับขี่ และประเด็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 5 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลยที่ 4 ชนรถโจทก์เสียหายดังนี้คำฟ้องของโจทก์ย่อมมีความหมายว่า จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 เป็นเพียงผู้แทนของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งพอเข้าใจว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 และได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทำแทน จึงเป็นคำฟ้องที่ให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 และ มาตรา 820 แล้ว
การที่จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5และศาลกะประเด็นข้อพิพาทว่า การที่จำเลยที่ 1 ขับรถก่อการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 หรือไม่เป็นการกะประเด็นกว้างๆซึ่งย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และที่กะประเด็นอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เพียงใดหรือไม่ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะส่วนตัว และหมายถึงจำเลยที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้แทน ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้าง/เจ้าของรถต่อการละเมิดของลูกจ้าง/ผู้ขับขี่ และประเด็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 5 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลยที่4 ชนรถโจทก์เสียหายดังนี้คำฟ้องของโจทก์ย่อมมีความหมายว่า จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 เป็นเพียงผู้แทนของจำเลยที่5 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งพอเข้าใจว่าจำเลยที่1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 และได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่5 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทำแทน จึงเป็นคำฟ้องที่ให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 และ มาตรา 820 แล้ว
การที่จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และศาลกะประเด็นข้อพิพาทว่า การที่จำเลยที่ 1 ขับรถก่อการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 หรือไม่เป็นการกะประเด็นกว้างๆ ซึ่งย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และที่กะประเด็นอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่2 ถึงที่ 6 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เพียงใดหรือไม่ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะส่วนตัว และหมายถึงจำเลยที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4เป็นผู้แทน ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้รับประกันภัยจากอุบัติเหตุสะพานพัง กรณีบรรทุกเกินน้ำหนัก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุซึ่งมีลูกจ้างเป็นผู้ขับขี่ และกล่าวหาว่ารถยนต์คันดังกล่าวบรรทุกข้าวมีน้ำหนักรวมรถยนต์ประมาณ 27 ตันครึ่ง แล่นผ่านสะพานไม้ชั่วคราวซึ่งโจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและได้ติดตั้ง ป้ายห้ามรถที่มีน้ำหนักบรรทุกเกินกว่า 10 ตันแล่นผ่านไว้แล้วทั้งนี้ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่น เป็นเหตุให้สะพานไม้ชั่วคราวยุบพังชำรุดใช้การไม่ได้ เป็นคำฟ้อง ที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421, 437 นั้นเป็นการบรรยายฟ้องให้ชัดยิ่งขึ้นอีกว่าจำเลยในฐานะเจ้าของ และ ผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 437และการฟ้องให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 437เช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ขับรถยนต์ว่าเป็นใครก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172
ตามคำให้การของจำเลยและจำเลยร่วมไม่ได้ปฏิเสธหรือต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าขณะเกิดเหตุละเมิดจำเลยได้อยู่หรือนั่งมาในรถยนต์คันเกิดเหตุหรือไม่
จำเลยร่วมไม่ได้ยกข้อต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.10 ให้เป็นประเด็นไว้อย่างชัดแจ้ง จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในข้อนี้
การใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมายที่จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีความหมายว่าเป็นการใช้รถเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อกฎหมายโดยตรงเช่นใช้รถเป็นพาหนะไปปล้นหรือจงใจบรรทุกของหนีภาษีเป็นต้นแต่การใช้โดยผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกยังเรียกไม่ได้ว่าใช้รถยนต์ใน ทางที่ ผิดกฎหมายจำเลยร่วมจึงไม่พ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องระบุเจ้าของรถเพียงพอ แม้ไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ การใช้รถโดยประมาทไม่ถือเป็นความผิดตามกรมธรรม์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุซึ่งมีลูกจ้างเป็นผู้ขับขี่และกล่าวหาว่ารถยนต์คันดังกล่าวบรรทุกข้าวมีน้ำหนักรวมรถยนต์ประมาณ 27 ตันครึ่งแล่นผ่านสะพานไม้ชั่วคราวซึ่งโจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและได้ติดตั้ง ป้ายห้ามรถที่มีน้ำหนักบรรทุกเกินกว่า 10 ตันแล่นผ่านไว้แล้วทั้งนี้ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่น เป็นเหตุให้สะพานไม้ชั่วคราวยุบพังชำรุดใช้การไม่ได้เป็นคำฟ้อง ที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420,421,437 นั้นเป็นการบรรยายฟ้องให้ชัดยิ่งขึ้นอีกว่าจำเลยในฐานะเจ้าของ และ ผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 437และการฟ้องให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 437เช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ขับรถยนต์ว่าเป็นใครก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ตามคำให้การของจำเลยและจำเลยร่วมไม่ได้ปฏิเสธหรือต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุคดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าขณะเกิดเหตุละเมิดจำเลยได้อยู่หรือนั่งมาในรถยนต์คันเกิดเหตุหรือไม่ จำเลยร่วมไม่ได้ยกข้อต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.10 ให้เป็นประเด็นไว้อย่างชัดแจ้งจึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในข้อนี้ การใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมายที่จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีความหมายว่าเป็นการใช้รถเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อกฎหมายโดยตรงเช่นใช้รถเป็นพาหนะไปปล้นหรือจงใจบรรทุกของหนีภาษีเป็นต้นแต่การใช้โดยผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกยังเรียกไม่ได้ว่าใช้รถยนต์ใน ทางที่ ผิดกฎหมายจำเลยร่วมจึงไม่พ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ประกอบการเดินรถจากการกระทำของคนขับรถรับจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์เก๋งรับจ้างสาธารณะ คันหมายเลขทะเบียน 1 ท-3725 และนำไปวิ่งร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะคันดังกล่าวเป็นประจำ หรือจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่1 เชิดจำเลยที่ 3 ออกแสดงเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1โดยการขับรถยนต์สาธารณะคันดังกล่าว ซึ่งมีตรา หรือเครื่องหมายอันเป็นสัญญลักษณ์ของจำเลยที่ 3 ติดอยู่ที่ประตูด้านหลังของรถยนต์คันดังกล่าวและยังบรรยายฟ้องต่อไปอีกว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการใช้รถยนต์คันดังกล่าวรับจ้างขนส่งผู้โดยสาร จำเลยที่2 จึงต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วยแสดงให้เห็นว่านอกจากโจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดฐานนายจ้างของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ยังฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะจำเลยที่ 3 เชิดให้ จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขับรถโดยสารประจำทาง ไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่ง การกระทำผิดจึงอยู่ที่เจ้าของรถและองค์การขนส่งมวลชน
รถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ประกอบการขนส่งประจำทางร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพดังนั้น เจ้าของรถยนต์ร่วมกับองค์การฯเป็นผู้รับผิดชอบในการใช้รถคันนี้ในการขนส่งประจำทาง จำเลยเป็นเพียงผู้ใช้รถยนต์ ในนามของเจ้าของรถร่วมกับองค์การฯ เท่านั้น จำเลยไม่ได้เป็น ผู้ประกอบการขนส่งประจำทางแต่อย่างใด แม้จำเลยจะนำรถยนต์ แล่นรับส่งคนโดยสารนอกเส้นทางที่ได้รับอนุญาตไว้ ก็ไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 23,126

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2713/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดร่วมกันในคดีแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยจำกัดขอบเขตความรับผิดของเจ้าของรถ
ศาลฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งตามคำพิพากษาส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยว่า จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยประมาททำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัสแต่จะใช้ฟังยันจำเลยที่ 1 เจ้าของรถยนต์ด้วยไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว
of 13