พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,471 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พฤติการณ์ขับรถชนเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อหลบหนี มีเจตนาประสงค์ให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า
พฤติการณ์ของจำเลยที่ขับรถพุ่งเข้าชนสิบตำรวจตรีป.ขณะเข้าทำการตรวจค้น ขับรถด้วยความเร็วสูงสลับกับการห้ามล้อหลายครั้งในขณะที่สิบตำรวจตรีป.นอนคว่ำหน้าอยู่บนฝากระโปรงด้านหน้าของรถที่จำเลยขับเพื่อให้สิบตำรวจตรีป.ตกจากรถ ล้วนแต่ มุ่งประสงค์ที่จะให้สิบตำรวจตรีป. เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งสิ้น เมื่อไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจสั่งงดจ่ายเงินเดือนย่อมไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่ง ผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็น ความผิดตามมาตรานี้ อำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนของข้าราชการตำรวจเป็นอำนาจหน้าที่ของ กรมตำรวจหรือผู้ที่กรมตำรวจมอบหมายโดยตรง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับ มอบหมายให้มีหน้าที่สั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจ แม้จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาในการที่โจทก์ขาดราชการเกินกว่า 15 วัน และเสนอความเห็นให้มีคำสั่งให้ โจทก์ออกจากราชการ และการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่การเงินจ่ายเงินเดือนให้ โจทก์ก็เพราะเหตุที่เชื่อว่าโจทก์ละทิ้งราชการหรือหนีราชการ ประกอบกับในทางปฏิบัติ กองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้จ่ายเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนให้แก่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ขอเบิกรับเงินไป หากมีเงินส่งคืนก็จะบันทึก เหตุผลในการส่งคืนไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรอง แม้ผู้รับรองไม่มีอำนาจโดยตรง แต่เอกสารตรงกับต้นฉบับและไม่มีการโต้แย้ง
แม้สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่โจทก์อ้างส่งศาลมีสิบตำรวจตรี ม. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจลงชื่อรับรองสำเนาเอกสารดังกล่าวโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญ เพราะในชั้นพิจารณาไม่ปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกับต้นฉบับ ทั้งจำเลยมิได้คัดค้านโต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนี้ เมื่อเป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรองว่าถ่ายมาจากต้นฉบับจริงย่อมรับฟังได้โดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 238
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการเข้าข่ายความผิดต่อเสรีภาพ: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน, เหตุสมควร, และเจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคหนึ่ง และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับจึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรี และคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวให้จึงเป็นการมิชอบ ต้องถือว่าความผิดต่อเสรีภาพตามฟ้องของโจทก์ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4514/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การใช้กำลังและการปรับบทอาญา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 การ "จับ" นั้น เพียงแต่ทำให้ผู้ถูกจับรู้สึกตัวว่าขาดอิสระภาพไม่สามารถไปไหน ได้สะดวกต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานก็พอไม่จำต้องใช้กำลัง ไม่จำต้องแจ้งข้อหาทันที หรือแจ้งสิทธิของ ผู้ถูกจับหรือต้องทำบันทึกการจับกุมก่อน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง, 295, 296 ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องมาตรา 295 และมาตรา 296 จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว โดยโจทก์มิได้ฎีกาขอเพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 และมาตรา 296 ได้ ถือเป็นการปรับบทให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 212
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง, 295, 296 ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องมาตรา 295 และมาตรา 296 จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว โดยโจทก์มิได้ฎีกาขอเพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 และมาตรา 296 ได้ ถือเป็นการปรับบทให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติหน้าที่มิชอบ จับกุมและควบคุมตัวผู้เสียหายโดยไม่มีอำนาจ
++ เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
++ ความผิดต่อเสรีภาพ
++ ความผิดต่อร่างกาย
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 173 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ ความผิดต่อเสรีภาพ
++ ความผิดต่อร่างกาย
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 173 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำความผิด พยายามชิงทรัพย์ ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน พยานหลักฐานไม่พอฟัง
จำเลยพูดกับผู้เสียหายว่า "ถ้ามึงไม่ไป เอารถมาให้กู" นั้น แต่ผู้เสียหายมิได้ให้รถจักรยานยนต์แก่จำเลยไปและจำเลยมิได้แย่งเอารถจากผู้เสียหาย คำพูดของจำเลยจึงมีความหมายเพียงเพื่อต้องการบีบบังคับผู้เสียหายให้ขับรถไปส่งตนเท่านั้น มิได้มีเจตนาจะเอารถไปจากความครอบครองของผู้เสียหายในขณะนั้นแต่อย่างใด หากจำเลยประสงค์จะชิงเอารถที่ผู้เสียหายขับไป ก็น่าจะให้ผู้เสียหายขับรถไปในที่เปลี่ยวแล้วบังคับให้ผู้เสียหายลงจากรถหรือทำร้ายผู้เสียหาย ย่อมเป็นการสะดวกในการชิงทรัพย์มากกว่าที่จะบังคับให้ผู้เสียหายขับรถเข้าไปในเมือง ทั้งผู้เสียหายไม่เคยรู้จักจำเลยมาก่อนดังนั้นการที่จำเลยชักปืนออกมาจี้บังคับผู้เสียหาย น่าเชื่อว่าเพื่อให้ผู้เสียหายยอมตามและขับรถไปส่งในเมืองเท่านั้น หาใช่เพื่อให้ผู้เสียหายมอบรถจักรยานยนต์ให้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง ขณะเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 5 เมตร ถ้าจำเลยถือปืนจ้องเล็งมายังเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว เจ้าพนักงานตำรวจคงไม่ทันร้องบอกให้จำเลยวางปืนหรือยิงปืนขู่ก่อน จำเลยอาจยิงเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ทันที แต่ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลที่จำเลยถูกยิง และวิถีกระสุนปืนล้วนแต่เข้าทางด้านหลัง แสดงว่าจำเลยหันหลังวิ่งหนีและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิง น่าเชื่อว่าเมื่อจำเลยเห็นเจ้าพนักงานตำรวจ คงเกิดความกลัวตามสัญชาตญาณของคนร้ายและวิ่งหนีทันทีมิใช่ถือปืนจ้องไว้เฉย ๆ หรือจ้องจะต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาไม่พอฟังลงโทษจำเลยฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเจ้าพนักงาน: การเสนอสินบนเพื่อขอคืนของกลาง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยเสนอจะให้เงินแก่ ม. และ ว. ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเสนอจะให้เงินแก่ ก. แต่ ม. กับ ว. ก็เป็นผู้ร่วมยึดสินค้าของกลางกับ ก. ข้อแตกต่างจึงไม่ใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยนำสืบปฏิเสธว่ามิได้เสนอจะให้เงินแก่ผู้ใดทั้งสิ้น จึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และการเพิ่มโทษเจ้าพนักงานที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความสอดคล้องต้องกันในข้อสาระสำคัญ และต่างเป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ทั้งจำเลย ก็เป็นเจ้าพนักงานตำรวจเช่นเดียวกับพยานโจทก์ทั้งสอง จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะมาเบิกความปรักปรำจำเลย ส่วนที่พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างกันในเรื่องที่ขึ้นไปชั้นสองของตัวบ้านพร้อมกันหรือไม่นั้นเป็นข้อแตกต่างที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ไม่ทำให้คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองขาดน้ำหนักที่จะรับฟังแต่อย่างใดเมื่อพิจารณาถึงจำนวนเมทแอมเฟตามีนของกลางที่มีจำนวนมาก และมีราคาสูง ตามปกติวิสัยของคนทั่วไปย่อมต้องวางไว้ ข้างตัวเพื่อจะปกป้องได้ทันหากมีเรื่องไม่คาดหมายเกิดขึ้น จึงน่าเชื่อว่าเป็นของจำเลย และจำนวนเมทแอมเฟตามีน ของกลางก็มีมากเกินกว่าจะมีไว้เสพเอง พยานหลักฐานโจทก์ จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลาง ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดและลงโทษจำคุก 3 ปี นั้น ยังไม่ถูกต้องเพราะตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 3 และมาตรา 10 บัญญัติเพิ่มโทษเฉพาะความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทางด้านการผลิตนำเข้าส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น แม้ปัญหานี้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าเจ้าพนักงานขณะหลบหนี: พยายามฆ่า แม้ไม่สำเร็จ
ขณะที่จำเลยกับพวกลงจากรถยนต์แท็กซี่ จำเลยกับพวกมีพิรุธน่าสงสัย สิบตำรวจตรี ส.กับพวกได้แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นตัวจำเลยกับพวกเนื่องจากสงสัยว่าจำเลยกับพวกเป็นคนร้าย แต่จำเลยกับพวกไม่ยอมให้ตรวจค้นและวิ่งหนีไปทันที ขณะสิบตำรวจตรี ส.กับพวกวิ่งไล่ตามจำเลยไปห่างกันประมาณ 10 เมตร จำเลยได้เอี้ยวตัวหันหน้ามาแล้ว จำเลยใช้อาวุธปืนยิงมาทางสิบตำรวจตรี ส. แม้จำเลยไม่ได้หยุดวิ่งขณะหันกลับมาใช้อาวุธปืนยิงไป 1 นัด แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงมาทางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ขณะวิ่งไล่ตามจำเลยไป จำเลยย่อมเล็งเห็นผลหรือคาดหมายได้ว่ากระสุนปืนที่จำเลยยิงไปนั้นหากถูกเจ้าพนักงานคนใดคนหนึ่งที่วิ่งตามมา เจ้าพนักงานดังกล่าวย่อมถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ เมื่อจำเลยได้ลงมือกระทำไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกผู้ใด จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่