คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเพิกถอนคำสั่งอนุญาตชำระหนี้ที่ศาลสั่งโดยผิดหลงในคดีล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 108 บัญญัติว่า "คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งศาลสั่งอนุญาตแล้วนั้น ถ้าต่อมาปรากฏว่าศาลได้สั่งไปโดยผิดหลง เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้" จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติมาตรานี้ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ แม้คำสั่งศาลดังกล่าวจะถึงที่สุดก็ตาม ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้โดยผิดหลงว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งใหม่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีนี้เห็นว่ามูลหนี้ที่ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้มีข้อพิรุธสงสัยน่าเชื่อว่าจะไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง ที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้น่าจะเป็นการสั่งไปโดยผิดหลง ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคำขอรับชำระหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้
อย่างไรก็ดี เมื่อศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในสำนวนแล้วพบว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้คัดค้านจริง ที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นไม่ได้สั่งโดยผิดหลง ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ แม้ศาลสั่งอนุญาตถึงที่สุดแล้ว หากมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นการสั่งโดยผิดหลง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 108 ให้อำนาจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ แม้คำสั่งศาลดังกล่าวจะถึงที่สุดก็ตาม ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้โดยหลงผิดว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งใหม่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ขอรับชำระหนี้ คดีนี้ปรากฏว่าผู้ร้องตรวจสอบพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านอ้างต่อผู้ร้องในชั้นสอบสวน และเห็นว่าใบกำกับสินค้าอันเกี่ยวกับหนี้ที่ผู้คัดค้านขอรับชำระหนี้ไม่มีลายมือชื่อของลูกหนี้ ทั้งแถบบันทึกเสียงการสนทนาระหว่าง อ.กับลูกหนี้และท. ที่เมืองฮ่องกง นั้นลูกหนี้ก็ได้อ้างหนังสือเดินทางของตนเป็นพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าในวันดังกล่าวลูกหนี้ไม่ได้เดินทางออกจากประเทศไทย อันแสดงให้เห็นว่ามูลหนี้ที่ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้มีข้อพิรุธสงสัยน่าเชื่อว่าจะไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงผู้ร้องจึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคำขอรับชำระหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้ภาษีอากรค้างชำระจากทรัพย์สินลูกหนี้ และการใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินเพิ่ม และเงินเพิ่มใหม่ที่ลูกหนี้ค้างชำระนั้น ต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคแรกและการที่เจ้าหนี้นำเงินฝากในธนาคารเจ้าหนี้อันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ ไปหักออกจากหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็เป็นการกระทำเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง นั่นเอง หาใช่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร
การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่องการชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1 (3) นั้น คำสั่งดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป เป็นเพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากรบางส่วนมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินการตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องขอเข้าดำเนินคดีใหม่ หากโจทก์ยังคงดำเนินคดีเอง
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมา โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา และตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังประสงค์จะเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 25เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมา โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา และตามพฤติการณ์แห่งคดี ถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 25ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีกับให้ยกคำร้อง ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังประสงค์จะเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระหนี้จากการประมูลซื้อทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจในการพิจารณาคำร้องขอขยายเวลา
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดขยายระยะเวลานำเงินค่าซื้อทรัพย์มาวางครั้งหนึ่งแล้ว แต่ผู้ร้องไม่ใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ขยายให้นั้นดำเนินการชำระเงินค่าซื้อทรัพย์ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอีกโดยอ้างเหตุเดียวกับที่ขอขยายระยะเวลาในครั้งแรก เนื่องจากการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวเป็นดุลพินิจ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งจะพิจารณาสั่งตามที่เห็น สมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขยายระยะเวลาให้ผู้ร้องครั้งหนึ่งแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะ กำหนดเวลาให้ผู้ร้องนำเงินค่าซื้อทรัพย์ไปชำระเพราะเท่ากับเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมดสิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากยื่นคำร้องเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 การที่ ด.ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ทราบวันขายทอดตลาด แต่ไม่มาดูแลการขาย ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงการขายทอดตลาดในวันที่13 พฤศจิกายน 2535 ดังกล่าวด้วย ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2535 จึงเกินสิบสี่วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือ คำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของจำเลยมีผลต่อสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขาย การแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการทำนิติกรรม
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในกำหนด 3 ปี นับจากวันทำสัญญาคือ ภายในวันที่16 มกราคม 2519 แต่ในวันที่ 2 สิงหาคม 2517 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ชั่วคราว และต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2519 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของจำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งอยู่ในช่วงที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว เพราะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายของโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 122 ประกอบมาตรา 92 เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และล่วงพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว ถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 1 ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วกลับมีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้อีก
ขณะทำสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ในระหว่างที่ศาลพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด สัญญาดังกล่าวย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22, 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในการทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแทนตน ผู้มอบอำนาจจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจไว้ด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลล้มละลายเป็นโมฆะ, สิทธิเรียกร้องสูญเสียเมื่อไม่แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์และจำเลยที่ 1ตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในกำหนด 3 ปี นับจากวันทำสัญญาคือ ภายในวันที่ 16 มกราคม 2519 แต่ในวันที่2 สิงหาคม 2517 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1ชั่วคราว และต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2519 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของจำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22(1) เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งอยู่ในช่วงที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฎิบัติ ตามสัญญาดังกล่าว เพราะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122ประกอบมาตรา 92 เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฎิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และล่วงพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว ถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิก การล้มละลายของจำเลยที่ 1 ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วกลับมีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้อีก ขณะทำสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ในระหว่างที่ศาลพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาด สัญญาดังกล่าวย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในการทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแทนตน ผู้มอบอำนาจจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจไว้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: โจทก์หมดอำนาจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจเข้าว่าคดีแพ่งเรื่องนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 โดยโจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือเข้าว่าคดีแพ่งเรื่องนี้ได้อีก แต่ปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จนกระทั่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาคดีนี้ไปแล้ว แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของโจทก์แต่โจทก์ก็ได้ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นรวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 จะเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ และให้ยกการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นรวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
of 36