พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเวนคืน: การกระทำครบถ้วนตามประกาศคปช. และการกำหนดเจ้าหน้าที่เวนคืนตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอ้างเหตุสิทธิในการฟ้องว่าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2524 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับโดยบัญญัติให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และวันที่ 30 มีนาคม 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศกำหนดให้ทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกเป็นทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตั้งอยู่ที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา (พระโขนง) กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ตามมาตรา 3 ซึ่งมีพื้นที่เขตยานนาวาตรงตามโฉนดที่ดินของโจทก์ดังกล่าวในฟ้องและเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสอง ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปร่วมประชุมกับคณะกรรมการปรองดองฯเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทน แต่ตกลงกันไม่ได้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ทำการสำรวจที่ดินซึ่งถูกเวนคืน มีที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนด้วย แต่ตกลงค่าทดแทนกันไม่ได้ จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เพื่อชดใช้ให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์แล้วจึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งสองได้ทำการหรือได้ปฏิบัติครบถ้วน แห่งเงื่อนไขตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67แล้วที่ดินของโจทก์ถูกสร้างเป็นทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วมิใช่ถูกสร้างเป็นทางด่วนพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือที่ดินของโจทก์จึงมิได้ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือแม้จำเลยที่ 1 มิได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม แต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกให้แก่จำเลยที่ 1 และต่อมาอนุมัติให้ทางการพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างถนนรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ตั้งงบประมาณ ความรับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้างถนนเทศบาลสายรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยายังคงเป็นของจำเลยที่ 1 และตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 64 ได้กำหนดเงื่อนไข ในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนต้องระบุ (1) ความประสงค์ของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์(2) เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (3) ท้องที่ที่จะเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ข้อ 4 ให้จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ก็คือเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 64(2) นั่นเอง และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึงข้อ 77 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองกำหนดยังไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, อายุความ, ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขึ้นเป็นประเด็นในคำให้การไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องนั้นวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 จึงถือว่าจำเลยที่ 2 มิได้ยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) คณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งสอบสวนเสร็จส่งเรื่องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา และผู้ว่าราชการจังหวัดได้ส่งเรื่องให้อธิบดีโจทก์ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องรับผิดในทางแพ่งอธิบดีของโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน2526 ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2527 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้างานรับผิดชอบการปฏิบัติราชการ กำกับควบคุมงานการเงินบัญชีและธุรการสารบรรณทั้งหมด มีหน้าที่ดูแลเก็บรักษาใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม ใบเสร็จรับเงินค่าภาษี แต่กลับไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บรักษาใบเสร็จรับเงิน สมุดทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงินเพียงคนเดียวจึงเป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 ทุจริต นำใบเสร็จรับเงินเล่มที่ยังไม่ถึงกำหนดนำออกใช้ เอาออกมาใช้รับเงินค่าภาษีรถและไม่ลงบัญชีไม่นำส่งเงินตามระเบียบ ได้เบียดบังเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวมาเป็นเวลานานก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมารับราชการที่สำนักงานเกิดเหตุถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อปัดความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแจ้งเกิด: การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามระเบียบราชการ ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องต่อจำเลยแจ้งการเกิดของโจทก์ที่ 1ที่เกิดจากมารดาคนต่างด้าว เพื่อให้จำเลยจดทะเบียนการเกิดออกหลักฐานการเกิดและเพิ่มชื่อนามสกุลของโจทก์ที่ 1 ในทะเบียนบ้านจำเลยได้รวบรวมเอกสารและพยานหลักฐานต่าง ๆ เสนอให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา แต่ยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาความล่าช้าของการดำเนินการเกิดจากการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทยไม่ได้เกิดจากเหตุที่จำเลยไม่ดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองตามระเบียบของทางราชการถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาบุกรุกที่ดินและการพิสูจน์การรับทราบคำสั่งเจ้าหน้าที่ตามระเบียบ
สำหรับจำเลยที่ 6 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108,108ทวิ และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ซึ่งมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 6 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่อาจฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ในข้อหาความผิดนั้นได้อีก ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนฎีกาที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ทวิ โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่าขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น มิได้กล่าวว่าการกระทำของจำเลยที่ 6 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราทั้งสองดังกล่าวเช่นกัน ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์พุทธศักราช 2515 ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้และให้มีพยานอย่างน้อย 2 คน ลงชื่อรับรองไว้ในบันทึกนั้นด้วยเมื่อผู้นำส่งหนังสือแจ้งได้ปฏิบัติการดังกล่าวนั้นแล้ว ให้ถือว่าผู้ฝ่าฝืนได้รับหนังสือแจ้งแล้ว แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 7 นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้ว ยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้ และไม่ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเอกสารที่อ้างอิงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ถึงที่ 7 ว่าเป็นผู้เข้าไปยึดถือครอบครองก่อสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่างใดบันทึกข้อความนั้นจึงยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ระเบียบดังกล่าวกำหนด ดังนั้น จะถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 7ได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ถึงที่ 7 ยังไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเมื่อมีการเช่าที่ดินและโรงงานแยกกัน การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
สัญญาเช่าที่ดินที่โจทก์เช่าจากกระทรวงการคลังระบุเฉพาะการเช่าที่ดินเท่านั้นแต่ในที่ดินดังกล่าว มีโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ซึ่งโจทก์เป็นผู้ปลูกสร้างและยกให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าที่โจทก์ได้ทำไว้กับจำเลยที่ 1 อีกต่างหากแสดงว่าการเช่าโรงงานแยกออกจากการเช่าที่ดิน ที่ดินที่ตั้งโรงงานเป็นของกระทรวง-การคลัง ส่วนโรงงานเป็นของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่โจทก์จะอ้างว่ามีค่ารายปีเฉพาะค่าเช่าที่ดิน ดังนั้นการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้นำค่าเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 มาตั้งเป็นฐานในการคำนวณค่ารายปีรวมกับค่าเช่าที่ดินแล้วกำหนดให้โจทก์เสีย-ภาษีโรงเรือนและที่ดินตามค่ารายปีที่โจทก์เสียค่าเช่าทั้งที่ดินและโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย จึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 3 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ตามอำนาจหน้าที่เมื่อผู้รับประเมินไม่พอใจได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ได้พิจารณามีคำชี้ขาด อันเป็นการปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ได้กระทำการใดเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดหน้าที่ จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อได้รับแจ้งคำชี้ขาดให้เสียภาษีแล้ว แม้จะมิได้ฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด แต่ก็ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อโจทก์จะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาที่ให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 นับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลเป็นเหตุให้โจทก์ต้องฟ้องคดีเอง มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
จำเลยที่ 3 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ตามอำนาจหน้าที่เมื่อผู้รับประเมินไม่พอใจได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ได้พิจารณามีคำชี้ขาด อันเป็นการปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ได้กระทำการใดเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดหน้าที่ จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อได้รับแจ้งคำชี้ขาดให้เสียภาษีแล้ว แม้จะมิได้ฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด แต่ก็ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อโจทก์จะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาที่ให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 นับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลเป็นเหตุให้โจทก์ต้องฟ้องคดีเอง มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องชัดเจนและมีเหตุผลตามกฎหมาย โดยเฉพาะการกล่าวอ้างเรื่องค่าใช้จ่ายและเจ้าหน้าที่ขัดขวาง
พระราชบัญญัติ ญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522หมวด 9 การคัดค้านการเลือกตั้ง บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ว่า กรณีที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้นั้นเฉพาะกรณีที่การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นมีการฝ่าฝืนมาตรา 26 มาตรา 32 มาตรา 34 มาตรา 51 หรือมาตรา 52 เท่านั้น คำร้องของผู้ร้องได้กล่าวอ้างถึงการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 32 เรื่องที่ผู้ได้รับเลือกตั้งใช้เงินเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดว่า ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ใช้เงินคนละกว่าสามล้านบาทโดยไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำนวนเงินที่แน่นอนของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ใช้นั้นเป็นเท่าใด คงใช้วิธีประมาณการเอาเท่านั้นและมิได้บรรยายข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องใดเท่าใด จ่ายไปเมื่อใด ให้แก่ใคร ส่วนที่กล่าวไว้ว่าใช้การซื้อเสียงด้วยเงินก็ไม่กล่าวว่าซื้อเสียงใคร จำนวนมากน้อยเท่าใดสิ้นเงินไปในการนี้เท่าใด ได้จ่ายไปก่อนหรือหลังจากมีการสมัครรับเลือกตั้งข้อกล่าวอ้างตามคำร้องจึงไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาพอที่จะให้ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ซึ่งถูกกล่าวหาเข้าใจได้ดีพอที่จะต่อสู้คดีได้ถูกต้อง นอกจากนั้นในคำร้องก็มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงเป็นการยืนยันให้เห็นว่า การจ่ายเงินจำนวนที่ผู้ร้องประมาณการมานั้นเป็นการใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งคงกล่าวแต่เพียงว่าใช้เงินคนละกว่าสามล้านบาทเท่านั้น คำร้องของผู้ร้องในส่วนนี้จึงเคลือบคลุมสำหรับข้ออ้างเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งตามมาตรา 52 ผู้ร้องกล่าวในคำร้องแต่เพียงว่า ในวันเลือกตั้งปรากฏว่าที่หน่วยเลือกตั้งบางหน่วย เช่น หน่วยเลือกตั้งบ้านโคกกระดี่อำเภอตาคลี กรรมการควบคุมการเลือกตั้งได้ช่วยกากากบาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 โดยไม่ได้กล่าวว่ากรรมการควบคุมการเลือกตั้งที่กระทำการดังที่อ้างนั้นเป็นใคร จำนวนคะแนนที่อ้างว่า กากบาทให้นั้นเป็นจำนวนเท่าใด จะทำให้ผลของการเลือกตั้งเปลี่ยนไปหรือไม่ ข้อกล่าวอ้างของผู้ร้องไม่อาจเข้าใจได้ว่าเจ้าพนักงานคนใดกระทำอย่างนั้น ผู้คัดค้านที่ 3 ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งไม่อาจเข้าใจข้อหาและต่อสู้ข้อกล่าวอ้างของผู้ร้องได้ถูกต้อง คำร้องของผู้ร้องในส่วนนี้จึงเคลือบคลุม เมื่อคำร้องของผู้ร้องเป็นคำร้องที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 จึงไม่อาจพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่ผู้ร้องนำสืบมาในเหตุอ้างสองประการดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่เบียดบังเงินบำรุงโรงพยาบาลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานประจำโรงพยาบาล มีหน้าที่จัดซื้อจัดการซ่อมแซม และดูแลรักษาพัสดุครุภัณฑ์และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านการเงินด้วย จำเลยได้ลงชื่อคู่กับผู้อำนวยการโรงพยาบาลในฐานะเจ้าของบัญชีและผู้มอบฉันทะในแบบถอนเงินจำนวน14,000 บาท จากบัญชีเงินบำรุงโรงพยาบาลพรหมพิรามมาสำรองจ่ายค่าพัสดุครุภัณฑ์ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จัดซื้อแล้วมอบให้ ส. นำไปถอนเงินจำนวนดังกล่าวจากธนาคารมาให้ตน จำเลยได้รับแล้วมิได้จัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์แต่อย่างใด และปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ได้ขาดหายไปจากบัญชี การกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังเงินจำนวน 14,000บาท ที่อยู่ในความครอบครองตามหน้าที่ของตนไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ในการส่งมอบเงินกู้
จำเลยเป็นเลขานุการคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์จำเลยได้รับเงินกู้ของ ค.และพ. ไปจากโจทก์โดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยรับเงินกู้แทน เงินดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์อยู่ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินกู้ไปมอบให้แก่ผู้กู้ตามหน้าที่และข้อบังคับของโจทก์ การที่จำเลยมอบเงินกู้ให้ผู้อื่นรับไปมอบให้ผู้กู้ เมื่อผู้กู้ไม่ได้รับเงินกู้ ดังนี้จำเลยกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6000/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการพิสูจน์สัญชาติไทย: การยื่นคำร้องต่อศาลหลังคำสั่งเจ้าหน้าที่
ผู้ร้องได้ยื่นคำขอพิสูจน์สัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งประการใดแล้วถ้าผู้ร้องไม่พอใจ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาได้เพราะผู้ร้องได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522มาตรา 57 โดยถูกต้องแล้วไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระวังแนวเขตที่ดินสาธารณะ: การยึดหลักเขตเดิมเป็นเกณฑ์ และการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของเจ้าหน้าที่
จำเลยมีหน้าที่ดูแล ที่สาธารณะภายในเขตรับผิดชอบ และการระวังแนวเขตบึงทรายกองดินด้าน ที่ติด กับที่ดินของโจทก์ จำเลยได้ปฏิบัติตาม คำสั่ง กระทรวงมหาดไทย ที่วางระเบียบปฏิบัติไว้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบและถูกต้อง แล้วการคัดค้านแนวเขตที่ดินพิพาทเป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมายและสุจริต จำเลยทั้งสี่มิได้ทำละเมิดสิทธิของโจทก์ เมื่อไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้อง มีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้นฉะนั้น นอกจากเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยนำพยานบุคคลเข้าสืบได้ ว่า กระทรวงมหาดไทย ออกระเบียบปฏิบัติในการระวังแนวเขตที่สาธารณะไว้อย่างไร แม้เอกสารเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่อ้างเป็นพยานจะฟังไม่ได้เพราะไม่ใช่ต้นฉบับ และผู้ รับรอง สำเนาก็มิใช่ผู้มีอำนาจ แต่ พยานบุคคลที่จำเลยนำเข้าสืบรับฟังได้ .