พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับชำระหนี้เช็คพิพาททำให้สิทธิฟ้องอาญาและหนี้ตามเช็คระงับ
การที่ผู้เสียหายยอมรับเงินที่จำเลยนำมาชำระหนี้บางส่วนและรับเช็ค 2 ฉบับที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้ที่ยังค้างชำระอยู่ตามเช็คพิพาท แสดงว่าผู้เสียหายและจำเลยมุ่งหมายจะระงับข้อพิพาท โดยผู้เสียหายตกลงเข้าถือสิทธิในเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว และสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็คพิพาทอีกต่อไปรวมทั้งสิทธิที่จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยด้วย หนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันระงับไปมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงสิ้นความผูกพัน คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในเช็คพิพาทย่อมระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการแก้ไขเช็คพิพาท: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์จำเลยขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุเจ็บป่วยมาหลายนัดและในการอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีที่แล้วมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำชับจำเลยและกำหนดเงื่อนไขการเลื่อนคดีของจำเลยในเหตุเจ็บป่วยหากจะมีอีกไว้แล้วแต่จำเลยไม่นำพาจะปฏิบัติตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ศาลกำชับไว้เป็นการประวิงคดีศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะมีคำสั่งว่าจำเลยประวิงคดีแม้จะเป็นคำสั่งในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกก็ตาม การแก้ไขจำนวนเงินในเช็คพิพาทที่เป็นตัวเลขให้ตรงกับจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรโดยไม่ทราบเจตนาของจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่ใช่การแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เช็คพิพาทเสียไปตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1007วรรคหนึ่งเพราะแม้ไม่มีการแก้ไขจำเลยก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา12อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655-2656/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเช็คพิพาทจากหนี้ที่มีดอกเบี้ยเกินอัตรา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์รับเช็คพิพาทจาก ช. เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำความผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมาย แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ก็จะถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำเช็คพิพาทมาฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655-2656/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเช็คพิพาทจากหนี้เงินกู้ที่มีดอกเบี้ยเกินอัตรา ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องร้องคดีเช็ค
การที่โจทก์รับเช็คพิพาทจากช. เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำความผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมายแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทก็จะถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายไม่ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำเช็คพิพาทมาฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในฟ้องที่ไม่เป็นสาระสำคัญ และสิทธิของผู้ทรงเช็ค
การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
บ้านพร้อมที่ดินที่จะซื้อขายเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ ส.ได้มาในระหว่างสมรสกับ บ. จึงเป็นสินสมรส จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินจาก ส. โดย บ. ลงชื่อเป็นพยานในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 2ออกเช็คพิพาทให้แก่ บ. เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำตามข้อตกลง บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท การที่จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส.มีสิทธิที่จะริบเงินมัดจำตามหนังสือสัญญาจะซื้อขาย เช็คพิพาทที่ออกเพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำบ้านพร้อมที่ดินจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย บ.เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน บ.จึงเป็นผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ระบุว่าผู้เสียหายเป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีแต่ทางพิจารณาได้ความว่า ภริยาจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีผู้เสียหายก็เป็นเพียงการฝากเช็คให้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ถือว่าภริยาจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังกล่าวในฟ้องไม่ใช่ในข้อสาระสำคัญ และมิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงต่อสู้
บ้านพร้อมที่ดินที่จะซื้อขายเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ ส.ได้มาในระหว่างสมรสกับ บ. จึงเป็นสินสมรส จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินจาก ส. โดย บ. ลงชื่อเป็นพยานในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 2ออกเช็คพิพาทให้แก่ บ. เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำตามข้อตกลง บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท การที่จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส.มีสิทธิที่จะริบเงินมัดจำตามหนังสือสัญญาจะซื้อขาย เช็คพิพาทที่ออกเพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำบ้านพร้อมที่ดินจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย บ.เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน บ.จึงเป็นผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ระบุว่าผู้เสียหายเป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีแต่ทางพิจารณาได้ความว่า ภริยาจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีผู้เสียหายก็เป็นเพียงการฝากเช็คให้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ถือว่าภริยาจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังกล่าวในฟ้องไม่ใช่ในข้อสาระสำคัญ และมิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท สินสมรส การกระทำแทนกัน ผู้เสียหาย การรอการลงโทษ
บ้านพร้อมที่ดินที่จะซื้อขายเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ ส. ได้มาระหว่างสมรสกับ บ. บ้านพร้อมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสการที่จำเลยที่2ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินนั้นจาก ส.โดย บ. ลงลายมือชื่อเป็นพยานแล้วจำเลยที่2ออกเช็คพิพาทให้แก่ บ. เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำ บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทการที่จำเลยที่2ผิดสัญญา ส. จึงมีสิทธิริบเงินมัดจำเช็คพิพาทที่จำเลยที่2ออกให้เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำบ้านพร้อมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่า บ. ผู้เสียหายเป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีผู้เสียหายแต่ทางพิจารณากลับได้ความว่าภริยาจำเลยที่2เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของผู้เสียหายก็เป็นเพียงการฝากเช็คให้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินถือว่าภริยาจำเลยที่2เป็นตัวแทนของผู้เสียหายข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาแม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎในฟ้องก็มิใช่ในข้อสาระสำคัญอีกทั้งจำเลยที่2ก็มิได้หลงต่อสู้ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ ไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้รับโทษจำคุกมาก่อนและความผิดที่กระทำไม่ร้ายแรงการรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่2จะเป็นผลดีกว่าโทษกักขังแทนโทษจำคุกแต่เพื่อให้จำเลยที่2หลาบจำจึงให้ลงโทษปรับอีกสถานหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คพิพาทโดยผู้จัดการมรดกแก่ทายาทตามพินัยกรรม และผลของการนำสืบต่อสู้ข้อต่อสู้อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงเช็คก่อนกับผู้ทรงคนปัจจุบัน
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ป.พ.พ.มาตรา ๙๑๘ ประกอบมาตรา ๙๘๙ ช.เป็นผู้จัดการมรดกของ ก.ตามคำสั่งศาล ก.ทำพินัยกรรมต่อหน้า ช. น. และ ย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดก หลังจาก ช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้ว ช.ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้าง และคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่าก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่า ก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว เมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจาก ก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่ จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา ๙๑๖
จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้ง แต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา ๙๐๐ วรรคหนึ่ง
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจาก ก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่ จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา ๙๑๖
จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้ง แต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา ๙๐๐ วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คพิพาททางมรดก ผู้รับมรดกมีสิทธิเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบธรรม แม้มีการอ้างหักกลบลบหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 ช. เป็นผู้จัดการมรดกของ ก.ตามคำสั่งศาล ก.ทำพินัยกรรมต่อหน้า ช.น.และ ย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดกหลังจากช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วช. ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้าง และคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่า ก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่า ก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว เมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจาก ก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้ง แต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไปจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คพิพาทโดยทายาทตามพินัยกรรม และการหักกลบลบหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา918ประกอบมาตรา989ช. เป็นผู้จัดการมรดกของก.ตามคำสั่งศาลก.ทำพินัยกรรมต่อหน้าช.น.และย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดกหลังจากช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วช. ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้างและคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่าก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่าก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้วเมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจากก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา916 จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กันจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้งแต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไปจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ทรงเช็คพิพาท – เงื่อนไขการจ่ายเช็ค – อำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้การต่อสู้ว่ามีเงื่อนไขตกลงกับโจทก์ว่าโจทก์จะต้องมอบเครื่องเพชรพลอยรูปพรรณให้จำเลยที่ 1 ไปจำหน่าย แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง จำเลยที่ 1จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84
แม้โจทก์จะนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของบุคคลใด แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ย่อมเป็นบุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์จะนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของบุคคลใด แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ย่อมเป็นบุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง