คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เด็ก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเด็กเข้าสถานพินิจฯ ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางเป็นเวลา 2 ปีไม่เป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74(5) ที่เบากว่าการลงโทษจำคุก เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218แต่ถ้าจำเลยหรือบิดามารดาของจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ก็ย่อมมีสิทธิที่จะไปร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งหรือสั่งใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74 วรรคท้าย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเด็กไปฝึกอบรมแทนการลงโทษจำคุก: ศาลฎีกาห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหากศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม
การส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางเป็นเวลา 2 ปี นั้น ไม่เป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74(5) ที่เบากว่าการลงโทษจำคุก เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยฎีกาว่า มิใช่เด็กเร่ร่อนจรจัด มีบิดามารดาให้ความอบอุ่นและหลักฐานบ้านช่องพร้อมที่จะให้ความรับรองต่อศาลจำเลยยังศึกษาอยู่ในโรงเรียน จำเลยมิได้มีเถยจิตหรือสันดานเป็นอาชญากร ขอใช้วิธีการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 อนุ (1) ถึง (3)นั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้ แต่ถ้าจำเลยหรือบิดามารดาจำเลยเห็นว่า พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ก็ย่อมมีสิทธิที่จะไปร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่อขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งหรือสั่งใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระทำชำเราเด็กและพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร จำเลยมีความผิดทั้งสองฐาน
จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 5 ปี 4 เดือน 11วัน ให้ไปเก็บดอกไม้ในสวนแล้วจะให้เงิน ผู้เสียหายหลงเชื่อเดินตามจำเลยไปในสวน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ดังนี้เป็นการกระทำที่ปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กและการพรากเด็กเพื่ออนาจาร: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 และ 317
จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 5 ปี 4 เดือน11 วัน ให้ไปเก็บดอกไม้ในสวนแล้วจะให้เงิน ผู้เสียหายหลงเชื่อเดินตามจำเลยไปในสวน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ดังนี้เป็นการกระทำที่ปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน: พิจารณาคดีอาญาเด็กต่ำกว่า 16 ปี แม้อายุเกิน 16 ปี ณ เวลาฟ้อง
ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีที่เด็กหรือเยาวชนถูกฟ้องคดีอาญาทุกประเภท เว้นแต่เยาวชนที่มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์ในขณะกระทำความผิดได้กระทำความผิดอาญาในลักษณะร้ายแรงตามมาตราต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ศาลคดีเด็กและเยาวชนจึงจะไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ จำเลยอายุไม่เกินกว่า 16 ปีบริบูรณ์ แม้ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยมีอายุ 16 ปี 3 เดือนเศษ โจทก์ต้องฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็ก, อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน, ลดโทษ, ลดมาตราส่วนโทษ, การพิจารณาคดี
การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 279 วรรคแรกด้วยหาได้ไม่ ศาลจังหวัดระนองไม่ใช่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนตามบทวิเคราะห์ศัพท์ ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 จึงไม่มีอำนาจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมในสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดสงขลา ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ มาตรา 31(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็ก, อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน, การลดโทษและเปลี่ยนโทษ
การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 279 วรรคแรกด้วยหาได้ไม่
ศาลจังหวัดระนองไม่ใช่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนตามบทวิเคราะห์ศัพท์ ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 จึงไม่มีอำนาจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมในสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดสงขลา ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน มาตรา 31(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี: พยานหลักฐานมั่นคงบ่งชี้จำเลยเป็นผู้กระทำผิด
ผู้เสียหายอายุ 13 ปี ถูกคนร้ายใช้อาวุธมีดปลายแหลมจี้คอและข่มขืนกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ 1 ครั้ง ในที่เกิดเหตุมืดแม้ผู้เสียหายไม่เห็นหน้าคนร้าย แต่จำเสียงได้ว่าเป็นเสียงของจำเลยผู้เสียหายและจำเลยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมกันโดยผู้เสียหายเป็นบุตรแม่เลี้ยงจำเลย ส่วนจำเลยเป็นบุตรพ่อเลี้ยงผู้เสียหายแม้จำเลยจะเบิกความว่าไม่ค่อย ได้พูดกับผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายมีเรื่องโกรธเคืองจำเลยจึงไม่มีข้อระแวงสงสัยว่าจะแกล้งกล่าวหา การที่ มารดา ผู้เสียหายซึ่งเป็นพยานโจทก์เบิกความว่าคืนเกิดเหตุผู้เสียหายไม่ได้บอกว่าใครทำ อาจเป็นการช่วยเหลือจำเลยเพราะพยานเป็นมารดาเลี้ยงจำเลยและอาศัยอยู่กับบิดาของจำเลย ย่อมจะต้องมีความเกรงใจบิดาจำเลยเป็นธรรมดา การที่ผู้เสียหายไปแจ้งความช้า ก็เพราะเห็นว่าพึ่งพามารดาไม่ได้เสียแล้ว จึงต้องไปหา ว.น้าชาย ให้ช่วย พาไปแจ้งความ ไม่ปรากฏว่า ว. เคยโกรธเคืองกับจำเลยด้วยสาเหตุอะไร ส่วนกางเกงขายาวของจำเลยที่ทิ้งอยู่ในห้องผู้เสียหายแม้มารดาผู้เสียหายจะเบิกความว่าไม่เคยเห็น ก็หาเป็นพิรุธทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายมีน้ำหนักน้อยลงไม่ พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุผลมั่นคงบ่งชี้ได้ชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นคนร้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในเหตุละเมิดจากการเล่นของเด็กและความรับผิดของบิดาในการดูแลบุตร
โจทก์ที่ 2 อายุ 15 ปี จำเลยที่ 1 อายุ 14 ปี ต่างสมัครใจเล่นขว้างปา ก้อนดิน ใส่ กัน ก้อนดิน ถูกตา ซ้าย โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บดังนี้ เป็นกรณีเกิดจากการเล่นตามวิสัยเด็กโดยโจทก์ที่ 2 สมัครใจเข้าร่วมเล่นด้วย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีส่วนเป็นต้นเหตุให้เกิดการละเมิด ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 นำกระบือไปเลี้ยงห่างหมู่บ้าน 4กิโลเมตร จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปด้วยการเล่นขว้างปา ก้อนดิน เป็นการเล่นธรรมดาทั่วไปที่เด็ก ๆ จะชักชวนและสมัครใจเล่นกันเองตามวิสัยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยรู้ว่าจำเลยที่ 1 เคยเล่นขว้างปา ก้อนดิน กันมาก่อนจึงเกินความคาดคิดที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบิดาจะควบคุมได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังดูแล จำเลยที่ 1 ตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี และความผิดฐานข่มขืนผู้สืบสันดาน
แม้โจทก์จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ก็ตาม แต่ฎีกาของโจทก์ที่ว่าศาลอุทธรณ์นับอายุของผู้เสียหายคลาดเคลื่อน เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณานั้น เป็นข้อกฎหมายจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
การข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดานอันจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง เพราะบทกฎหมายมาตรานี้ไม่ได้มุ่งลงโทษหนักขึ้นเฉพาะการกระทำแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จึงใช้คำว่า 'กระทำแก่ผู้สืบสันดาน' ดังนั้น การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา แม้ผู้นั้นจะมิใช่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำต่อผู้สืบสันดานตามความหมายของ มาตรา 285 นี้แล้ว.
of 27