พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานเติมข้อความในบันทึกจับกุม และเบิกความเท็จ ส่งผลต่อการดำเนินคดีอาญา
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุมได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึก พร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหา ลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้น บางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำ ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุม ว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า"ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1 ดูด้วยข้าพเจ้าแจ้งข้อหาว่าจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับ จำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความจริงและเป็นข้อสำคัญในคดีโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158,18(5) ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหานี้ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริงโจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานเบิกความเท็จ: พยานหลักฐานต้องสำคัญในคดี
ความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จและเบิกความเท็จตาม ป.อ.มาตรา 180 และ 177 มีองค์ประกอบความผิดสำคัญประการหนึ่งว่า พยานหลักฐานและคำเบิกความอันเป็นเท็จจะต้องเป็นข้อสำคัญในคดีที่นำสืบหรือเบิกความด้วย ดังนั้นประเด็นสำคัญในคดีมีว่าอย่างไร พยานหลักฐานและคำเบิกความของจำเลยที่ 1 เป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร จึงเป็นสาระสำคัญอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายไว้ให้ชัดแจ้งในคำฟ้อง เมื่อคำฟ้องของโจทก์หาได้บรรยายถึงสาระสำคัญเช่นว่านั้นไม่ ถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องความผิดฐานเบิกความเท็จ/แสดงหลักฐานเท็จ ต้องระบุให้ชัดเจนว่าพยานหลักฐาน/คำเบิกความนั้น 'สำคัญ' ในคดี
ความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จและเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 และ 177มีองค์ประกอบความผิดสำคัญประการหนึ่งว่า พยานหลักฐานและคำเบิกความอันเป็นเท็จจะต้องเป็นข้อสำคัญในคดีที่นำสืบหรือเบิกความด้วย ดังนั้นประเด็นสำคัญในคดีมีว่าอย่างไรพยานหลักฐานและคำเบิกความของจำเลยที่ 1 เป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร จึงเป็นสาระสำคัญอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายไว้ให้ชัดแจ้งในคำฟ้องเมื่อคำฟ้องของโจทก์หาได้บรรยายถึงสาระสำคัญเช่นว่านั้นไม่ถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเกี่ยวกับวันหย่าในคดีโกงเจ้าหนี้ ศาลวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่ข้อแพ้ชนะสำคัญ
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 กับพวก ในข้อหาโกงเจ้าหนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์จะใช้หรือได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แม้คดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 เบิกความและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จว่า จำเลยที่ 1 กับ ม.หย่ากันเมื่อใดก็ตาม ศาลไม่ได้หยิบยกข้อความที่ว่าจำเลยที่ 1 หย่ากันม.ขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อแพ้ชนะ อันจะเป็นข้อสำคัญในคดีจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปลอมเช็ค-เบิกความเท็จ-ความผิดนิติบุคคล: การกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและเบิกความเท็จ รวมถึงความรับผิดของนิติบุคคล
เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าขายสินค้าของจำเลยที่ 1ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยทั้งสองโดยไม่มีอำนาจและมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ได้จัดให้มีการเขียนวันที่สั่งจ่ายลงในเช็คนั้นเพื่อให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับชำระหนี้อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1ที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการเติมข้อความในเอกสารสิทธิและตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริงที่โจทก์ทำขึ้น โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,264,265,266(4) เมื่อจำเลยทั้งสองนำเช็คปลอมไปเข้าบัญชีเพื่อเรียก เก็บเงิน จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิและตั๋วเงินปลอม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,264 จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เบิกความต่อศาล ในคดีอาญาว่าโจทก์ไม่ใช่พนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ซื้อสินค้าไปจากจำเลยที่ 1 แล้วสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าโดยเช็คดังกล่าวได้เขียนรายการครบถ้วน ซึ่งความจริงแล้วปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายให้จำเลยทั้งสองไว้ เพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่เพื่อชำระหนี้ และวันที่สั่งจ่ายในเช็คถือเป็นข้อสำคัญในคดี เพราะหากผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่สั่งจ่าย ก็ถือว่าไม่ได้ระบุวันในการกระทำผิดผู้สั่งจ่ายเช็คไม่อาจมีความผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะเป็นนิติบุคคล แต่การที่จำเลยที่ 2เลิกความดังกล่าวเป็นการเบิกความแทนจำเลยที่ 1ด้วย ทั้งนี้ สังเกต ได้จากการที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2มอบอำนาจให้ ศ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนมีการดำเนินคดีแก่โจทก์ทางอาญา และพนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คการที่จำเลยที่ 2 เบิกความในคดีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แม้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 จะไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเบิกความไว้ แต่นิติบุคคลอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ ดังนั้น ผู้จัดการของนิติบุคคลย่อมต้องเบิกความต่อศาล และถือได้ว่าเป็นการกระทำตามวัตถุประสงค์ขอนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เบิกความแทนจำเลยที่ 1 เป็นเท็จ ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันเบิกความเท็จ โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2523เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีอาญาหมายเลขดำที่15081/2522 ของศาลชั้นต้น ว่าบริษัทผู้เสียหายได้รับเช็คจากโจทก์เป็นค่าเครื่องไฟฟ้า โจทก์ไม่ใช่พนักงานของบริษัทและเช็คที่รับมามีวันที่สั่งจ่ายเรียบร้อยแล้วเป็นข้อสำคัญในคดีเพราะหากเช็คดังกล่าวสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้หรือไม่มีวันที่สั่งจ่ายโจทก์ก็ไม่มีความผิดทางอาญา ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกิดการกระทำนั้น ๆ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และครบองค์ประกอบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177แล้ว คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเช็ค, เบิกความเท็จ, และความผิดของนิติบุคคล: บทลงโทษและขอบเขตความรับผิด
เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าขายสินค้าของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 1และจำเลยทั้งสองโดยไม่มีอำนาจและมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ได้จัดให้มีการเขียนวันที่สั่งจ่ายลงในเช็คนั้นเพื่อให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับชำระหนี้อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการเติมข้อความในเอกสารสิทธิและตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริงที่โจทก์ทำขึ้นโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,264,265,266(4) เมื่อจำเลยทั้งสองนำเช็คปลอมไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิและตั๋วเงินปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,268 จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เบิกความต่อศาลในคดีอาญาว่า โจทก์ไม่ใช่พนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ซื้อสินค้าไปจากจำเลยที่ 1 แล้วสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าโดยเช็คดังกล่าวได้เขียนรายการครบถ้วนซึ่งความจริงแล้วปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายให้จำเลยทั้งสองไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ไม่ใช่เพื่อชำระหนี้ และวันที่สั่งจ่ายในเช็คถือเป็นข้อสำคัญในคดีเพราะหากผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่สั่งจ่ายก็ถือว่าไม่ได้ระบุวันในการกระทำผิด ผู้สั่งจ่ายเช็คไม่อาจมีความผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ ในการพิจารณาคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 1ถึงแม้จะเป็นนิติบุคคล แต่การที่จำเลยที่ 2 เบิกความดังกล่าวเป็นการเบิกความแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งนี้สังเกตได้จากการที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้ ศ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนมีการดำเนินคดีแก่โจทก์ทางอาญา และพนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ การที่จำเลยที่ 2 เบิกความในคดีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แม้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 จะไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเบิกความไว้แต่นิติบุคคลอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ ดังนั้นผู้จัดการของนิติบุคคลย่อมต้องเบิกความต่อศาล และถือได้ว่าเป็นการกระทำตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เบิกความแทนจำเลยที่ 1 เป็นเท็จก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์, อำนาจศาลในการพิพากษาเกินคำขอ, และผลของการเบิกความเท็จต่อกรรมสิทธิ์
ในคดีอาญาโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยขอให้ลงโทษฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทคดีนี้โดยปรปักษ์ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้มาโดยการสืบทอดทางมรดก จำเลยได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่มิชอบ เพราะจำเลยเบิกความเท็จทำให้ศาลหลงเชื่อ จึงขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทให้โจทก์ การพิจารณาว่าคดีนี้จะเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ จะต้องปรากฏว่าความรับผิดในทางแพ่งในคดีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผลของการกระทำผิดอาญาโดยตรง แต่การที่จำเลยเบิกความเท็จในการเบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งไม่เป็นผลโดยตรงที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทในคดีนี้ เหตุที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในคดีแพ่ง ก็เพราะศาลฟังว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ กรณีจึงไม่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญา จึงไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) และ 246 ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทต่อไป อันเป็นการขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ การที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครอง จำเลยย่อมเอาคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนให้จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์ก็เท่ากับขอให้ที่พิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดไม่ให้มีชื่อจำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนให้จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินส่วนที่พิพาทก็ควรจะพิพากษาห้ามมิให้จำเลยนำคำสั่งของศาลดังกล่าวไปจดทะเบียนลงชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานเบิกความเท็จ ต้องระบุประเด็นสำคัญในคดีแพ่งที่เบิกความเท็จให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จและเบิกความเท็จต่อศาลในคดีแพ่ง เรื่องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเป็นข้อสำคัญในคดี และบรรยายรายละเอียดที่จำเลยทั้งสองเบิกความอันเป็นเท็จพร้อมกับความเป็นจริงว่าอย่างไรทั้งคำเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าในคดีดังกล่าวประเด็นและข้อความที่เป็นเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีนั้นอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี แม้โจทก์จะบรรยายเลขสำนวนคดีที่จำเลยทั้งสองเบิกความมาในฟ้องและนำสืบอ้างสำนวนคดีนั้นมาด้วยก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่ปรากฏในสำนวนดังกล่าวไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องของโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายที่ดินเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 แม้ไม่ทำให้โจทก์เสียหายโดยตรง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งไว้ว่า จำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่ การที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์ลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยย่อมเป็นการเบิกความเกี่ยวกับประเด็นพิพาทอันเป็นข้อแพ้ชนะคดี ถือได้ว่าเป็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น ไม่ว่าผลของคดีจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ต่อไปหรือไม่ เมื่อคำเบิกความนั้นเป็นเท็จแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเข้าครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคแรกหาจำต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยจะต้องก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำนั้นจึงจะเป็นความผิดแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียว
คดีเดิม พนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาบุกรุกโดยจำเลยขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและเบิกความในคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์มีความผิดตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องศาลฎีกาพิพากษายืน ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ในข้อหาฟ้องเท็จและเบิกความเท็จในคดีก่อน ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ ดังนี้ การที่จำเลยยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ในคดีเรื่องเดิมไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จอีกกรรมหนึ่งเพราะเป็นการกระทำโดยมีเจตนาให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษโจทก์ตามที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกับที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น จำเลยเบิกความเท็จในคดีเรื่องเดิมรวมสองครั้ง ครั้งแรกเบิกความไม่จบปาก ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนไปซักค้านต่อในครั้งต่อไปข้อความที่เบิกความครั้งแรกและครั้งหลังก็ต่อเนื่องกัน คำเบิกความของจำเลยในครั้งหลังเจตนาที่จะให้โจทก์ในคดีเรื่องเดิมได้รับโทษเช่นเดียวกับการเบิกความในครั้งแรก ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน แม้ฟ้องของโจทก์ทั้งสอง คงมีโจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องแต่เพียงคนเดียว โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทนายความหรือได้รับมอบอำนาจ จากโจทก์ที่ 2 ให้เป็นผู้แทนก็ตามเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยร่วมกันในความผิดเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 แล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องของโจทก์ที่ 2 จะชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 158(7) หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันจะได้รับวินิจฉัย.