คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากทำร้ายร่างกายเป็นเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ การฟ้องต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1และที่3ร่วมกันเป็นตัวการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297,83ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายเพราะมีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปโดยมีจำเลยที่1และที่3ร่วมอยู่ในที่ชุลมุนด้วยสาระสำคัญในการกระทำความผิดที่พิจารณาได้ความคือการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปแต่ตามฟ้องไม่มีข้อความตอนใดบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปอันเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้รับอันตรายสาหัสซึ่งจะมีผลให้ลงโทษจำเลยที่1และที่3ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา299ได้ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฎตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญจึงลงโทษจำเลยที่1และที่3ตามทางพิจารณาที่ได้ความไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สถานที่ทำการที่เปลี่ยนแปลงและไม่มีหน้าที่ชำระภาษี
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีสำนักงานอยู่ที่เลขที่ 1745/11 ถนนปิ่นเกล้า - นครชัยศรี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ก็ตามแต่สำนักงานดังกล่าวมิใช่สำนักงานของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ทั้งปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่1745/11 ดังกล่าวก็ได้ถูกเพลิงไหม้ตั้งแต่ต้นปี 2536 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2536 ต่อโจทก์ และในการยื่นแบบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2536 นั้นจำเลยที่ 1 ระบุว่า อยู่บ้านเลขที่ 19/1 ถนนพญาไท แขวงพญาไท เขตพญาไทกรุงเทพมหานคร อันเป็นการที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบถึงบ้านเรือนหรือสำนักการค้าของตนที่โจทก์จะติดต่อกับจำเลยที่ 1 ได้หลังจากที่ได้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 1745/11 สำหรับสำนักงานชั่วคราวซึ่งอยู่ด้านหลังอาคารห้างสรรพสินค้า ว. พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้นำใบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไปส่งและปิดไว้นั้น ก็ได้ความว่าไม่มีป้ายชื่อแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ให้เช่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 1745/11 และไม่ปรากฏว่ามีธุรกิจอย่างอื่นในสถานที่ดังกล่าวอีก เมื่อโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่าได้ถูกเพลิงไหม้ไปแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องมีสำนักงานไว้ณ สถานที่นั้นอีก นอกจากนั้นสำนักงานชั่วคราวที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำแบบภ.ร.ด.8 (ใบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน) ไปปิดประกาศไว้นั้นเป็นสำนักงานของห้างสรรพสินค้า ว.ผู้เช่าซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยที่ 1จึงฟังไม่ได้ว่า สำนักงานชั่วคราวที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำใบแจ้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไปปิดไว้ เป็นบ้านเรือนหรือสำนักการค้าของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินไปให้จำเลยที่ 1 ผู้รับประเมินทรัพย์สินได้ทราบโดยชอบ ตามมาตรา 24 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจำเลยทั้งสี่จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินตามประเมินและค่าเพิ่มแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4855/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงทนายความไม่เป็นเหตุพิเศษขยายเวลาฎีกา แม้ทนายความเดิมยังคงมีอำนาจดำเนินคดี
แม้พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนเดิมของจำเลยที่2และที่3จะย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นก็ตามพนักงานอัยการคนเดิมนั้นก็ยังเป็นทนายความของจำเลยที่2และที่3มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ฉะนั้นการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนใหม่ของจำเลยที่2และที่3ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา1วันโดยอ้างว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยที่2และที่3เนื่องจากทนายความคนเดิมย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะให้ศาลสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของกลางเปลี่ยนแปลงหลังการขาย แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าของเดิม
แม้ในขณะที่มีการใช้รถจักรยานยนต์ของกลางในการกระทำความผิด ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางก็ตาม แต่ในระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ผู้ร้องได้ขายรถจักรยานยนต์ของกลางให้บุคคลภายนอกไปบุคคลภายนอกจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางนับแต่ที่ผู้ร้องได้ขายให้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง รถจักรยานยนต์ของกลางย่อมตกเป็นของแผ่นดิน บุคคลภายนอกผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์คันนั้นอีกต่อไป แม้ผู้ร้องจะซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางคืนมาและเปลี่ยนหมายเลขทะเบียนใหม่ ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลาง และไม่มีสิทธิร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367-368/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อที่ดินที่เหลือ
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ.2530ที่กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนที่ดินของโจทก์ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา159ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและข้อ22แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ลงวันที่27พฤศจิกายน2515ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ลงวันที่27พฤศจิกายนพ.ศ.2515พ.ศ.2530ประกอบกับมาตรา5วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2531ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องกำหนดราคาเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสี่ประกอบมาตรา21(2)หรือ(3)แต่ต่อมาหลังจากมีการฟ้องคดีแล้วระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ข้อ1ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และบัญญัติความใหม่แทนว่า"ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24"ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่29กุมภาพันธ์2534โดยข้อ5วรรคหนึ่งแห่งประกาศดังกล่าวบัญญัติว่า"บทบัญญัติมาตรา9วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย"ดังนั้นเมื่อคดีของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงถือว่ากรณีของโจทก์นี้เป็นการเวนคืนซึ่งการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดตามความหมายของข้อ5วรรคหนึ่งแห่งประกาศดังกล่าวการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องกำหนดราคาเบื้องต้นตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ1โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยถือเกณฑ์ตามมาตรา9วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ที่ถูกยกเลิกไปแล้วโดยถือตามราคาตามมาตรา21(2)หรือ(3)แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์จึงไม่ถูกต้องและเป็นธรรมแก่โจทก์จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21วรรคหนึ่ง(1)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แม้จะกระทำเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปรัฐก็มีหน้าที่ชดใช้ค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย เมื่อการเวนคืนเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ที่3ที่เหลือมีอาณาเขตไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันโจทก์ที่3จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนสำหรับราคาที่ดินที่ลดลงเพราะการเวนคืนของจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสามแต่ขณะที่มีการเวนคืนที่ดินของโจทก์ที่3ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคำนวณราคาที่ดินที่ลดลงออกมาใช้บังคับตามมาตรา21วรรคสี่แม้ว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนพ.ศ.2537เมื่อวันที่25มกราคม2537ก็ตามแต่ตามมาตรา5ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่าหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาตามพระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับดังนั้นพระราชกฤษฎีกานี้จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับกับคดีนี้ได้จึงต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่3ส่วนที่เหลือที่ราคาลดลงโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งโดยอนุโลมในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งเมื่อการเวนคืนทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน29ตารางวาของโจทก์ที่3ถูกตัดขาดจากที่ดินเดิมจนไม่มีถนนเข้าที่ดินซึ่งเห็นได้ว่าที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าวย่อมมีราคาลดลงโดยสภาพที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์ที่3รวมเป็นเงิน144,440บาทนั้นจึงเหมาะสมแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องจ่ายเงินจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้จัดการมรดกเพื่อประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
แม้จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องทั้งสี่ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อปรากฎต่อมาในภายหลังว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
แม้ศาลยกคำร้องของ ค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษ มิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่เป็นสาระเมื่อข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิม
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าตามพฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง จึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยจะระงับไปแล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีส่วนที่เปลี่ยนแปลงไป ถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1777/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก: ผลของการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและขอบเขตกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า สัญญาขายฝากเอกสารหมาย จ.1 ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ในเรื่องนี้ไว้ ข้อเท็จจริงจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว
สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ระบุกำหนดเวลาไถ่ 1 ปี การที่จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบพยานว่าได้มีข้อตกลงให้จำเลยไถ่ 2 ปี จึงเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
แม้สัญญาขายฝากระบุว่าขายฝากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันขายฝาก โดยมิได้ระบุว่าตกลงขายฝากบ้านพิพาทไว้ในสัญญาด้วยก็ตามแต่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน บ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีที่ได้ทำสัญญาขายฝากตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้โดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา144 วรรคสอง จึงถือได้ว่าสัญญาขายฝากดังกล่าวเป็นการขายฝากบ้านพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และการมีผลต่อความผิดทางอาญา
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่85 พ.ศ.2536 เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ลงวันที่ 19 มกราคม 2536 ได้กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 โดยสำหรับเมทแอมเฟตามีนกำหนดว่าต้องไม่เกิน 0.500 กรัม แต่ไม่ได้กำหนดให้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์และตาม พ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 59 บัญญัติให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทนั้นด้วย และมาตรา 4 บัญญัติว่า "วัตถุตำรับ หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ฯลฯ" ดังนี้ ปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์จึงต้องรวมถึงวัตถุตำรับที่ปรุงผสมอยู่ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าวถือว่าของกลางเป็นวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมด เมื่อของกลางมีปริมาณเกิน 0.500 กรัม จึงเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ลงวันที่ 3เมษายน 2538 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ.2536)ดังกล่าว และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 โดยเมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อเป็นดังนี้และปรากฏว่าของกลางตรวจพบเมทแอมเฟตามีนวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อันถือเป็นสารบริสุทธิ์หนัก0.217 กรัม ซึ่งไม่เกินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ คงมีความผิดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่งและมาตรา 106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาชี้ว่าคำสั่งศาลเดิมที่เป็นที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเปลี่ยนแปลงด้วยคำร้องใหม่ แม้มีเหตุเพิ่มเติม
จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องผู้ร้องอ้างว่าผู้เสนอราคาสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริตมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการไปโดยไม่สุจริต เมื่อการดำเนินการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน ให้ยกคำร้อง เท่ากับเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้น เมื่อมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 229 การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับต่อมาในวันรุ่งขึ้นขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดอีกครั้งหนึ่งโดยอ้างเหตุเพิ่มเติมว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลลบล้างคำสั่งเดิมซึ่งเป็นที่สุดไปแล้ว จึงสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้
of 40