คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนการโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินช่วงล้มละลาย: สุจริตของผู้รับโอน และผลกระทบถึงผู้รับจำนอง
การร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ล้มละลายกับผู้คัดค้านที่ 1 และเพิกถอนการจำนองที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2เป็นคำร้องที่ขอให้ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ชำระหนี้อันจะแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะอุทธรณ์คนเดียว และศาลฎีกาฟังว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทมาโดยสุจริตศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงผู้คัดค้านที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้เดิม vs. ผู้รับโอนสุจริต
การร้องขอเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115นั้น ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมีการโอน และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ เพราะการที่จำเลยนำทรัพย์เท่าที่มีไปชำระเจ้าหนี้คนใดโดยเฉพาะเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้คนนั้น และทำให้เจ้าหนี้คนอื่นเสียเปรียบ กฎหมายมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกัน ซึ่งเป็นหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบแก่กัน จำเลยโอนขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ช.ก่อนโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายไม่ถึง 1 เดือน แม้จะเป็นการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งทำให้ช.มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาขายฝากก็ตาม แต่เมื่อ ช.ผู้รับโอนมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก่อนทำสัญญาขายฝาก และ ช.ผู้รับโอนเข้าทำสัญญากับจำเลยโดยไม่ทราบความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย จึงเพิกถอนการโอนรายนี้ตามมาตรา 115 ไม่ได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 และมาตรา 115 ต่างก็มีวัตถุประสงค์คุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ต่างกันเพียงว่า ถ้าโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิมคนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นแล้ว อาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวก็พอให้เพิกถอนได้ โดยไม่ต้องให้เจ้าหนี้เดิมพิสูจน์ว่าตนสุจริตและมีค่าตอบแทน เพราะเจ้าหนี้เช่นนี้รู้หรือควรจะรู้แล้วถึงสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย แต่ถ้าเป็นการโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยผู้รับโอนซึ่งไม่เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิมและโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ก็ยังเพิกถอนได้ตามมาตรา 114ไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 115 ตรงกันข้าม ถ้าผู้รับโอนเช่นนี้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจะนำมาตรา 115 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมิได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันมาก่อน อีกประการหนึ่งจะถือว่าผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2534)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้เดิม vs. ผู้รับโอนสุจริตและมีค่าตอบแทน
การร้องขอเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 นั้น ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมีการโอน และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆของจำเลยเสียเปรียบ เพราะการที่จำเลยนำทรัพย์เท่าที่มีไปชำระเจ้าหนี้คนใดโดยเฉพาะเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้คนนั้น และทำให้เจ้าหนี้คนอื่นเสียเปรียบ กฎหมายมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกันซึ่งเป็นหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบแก่กัน จำเลยโอนขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ช. ก่อนโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายไม่ถึง1 เดือน แม้จะเป็นการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งทำให้ ช.มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาขายฝากก็ตาม แต่เมื่อ ช. ผู้รับโอนมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก่อนทำสัญญาขายฝาก และ ช.ผู้รับโอนเข้าทำสัญญากับจำเลยโดยไม่ทราบความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย จึงเพิกถอนการโอนรายนี้ตามมาตรา 115 ไม่ได้พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และมาตรา 115ต่างก็มีวัตถุประสงค์คุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ต่างกันเพียงว่า ถ้าโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิมคนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นแล้ว อาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวก็พอให้เพิกถอนได้โดยไม่ต้องให้เจ้าหนี้เดิมพิสูจน์ว่าตนสุจริตและมีค่าตอบแทน เพราะเจ้าหนี้เช่นนี้รู้หรือควรจะรู้แล้วถึงสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย แต่ถ้าเป็นการโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยผู้รับโอนซึ่งไม่เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิมและโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ก็ยังเพิกถอนได้ตามมาตรา 114 ไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 115 ตรงกันข้าม ถ้าผู้รับโอนเช่นนี้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจะนำมาตรา 115 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมิได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันมาก่อน อีกประการหนึ่งจะถือว่าผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาว่าเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมหรือไม่ และผู้รับโอนสุจริตหรือไม่
พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 115 ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนการโอนได้ในกรณีที่จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นนั้น มีความหมายว่าการโอนทรัพย์สินต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้วและการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้รับชำระหนี้หรือไม่ได้รับชำระหนี้เต็ม จำนวนจากจำเลยเพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยนำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบเทียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ เพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระหนี้โดยเฉลี่ยจากทรัพย์ที่โอนไปกฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน เมื่อผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน จึงไม่มีกรณีที่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นแต่อย่างใด จะนำมาตรานี้มาเพิกถอนการโอนรายนี้ไม่ได้และเมื่อผู้รับโอนได้รับโอนมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 114 ได้เช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมเพื่อให้ได้เปรียบเหนือเจ้าหนี้อื่น
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 115 ได้นั้น การโอนนั้นจะต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ แต่การโอนตามสัญญาซื้อขายผู้ซื้อมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน จึงไม่มีกรณีที่ผู้ซื้อจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ย่อมนำมาตรา 115 มาเพิกถอนการโอนตามสัญญาซื้อขายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนประทานบัตรเนื่องจากเจ้าหนี้เสียเปรียบและการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อเท็จจริง
ขณะเกิดกรณีพิพาท ว.ดำรงตำแหน่งอธิบดีโจทก์ว. จึงเป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อนับระยะเวลาที่ ว.ในฐานะผู้แทนโจทก์ได้รู้ถึงเหตุที่จะขอเพิกถอนการโอนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกินกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการที่เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของโจทก์ทราบเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนการโอนแต่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ในระดับต่าง ๆ ดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากประทานบัตรที่พิพาทในอันที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ ช. รับโอน ประทานบัตรที่พิพาทโดยรู้ถึงความจริงดังกล่าว กรณีจึงเป็นการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบถือไม่ได้ว่าเป็นการรับโอนโดยสุจริต และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทของ ช. รับโอนประทานบัตรที่พิพาทมาในฐานะที่เป็นมรดกจำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิดีไปกว่า ช. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกเมื่อนิติกรรมการได้ประทานบัตรที่พิพาทของ ช. เป็นอันจะต้องถูกเพิกถอนเนื่องจากผลแห่งการกระทำของ ช. เอง จำเลยที่ 3ในฐานะทายาทจึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะที่เป็นบุคคลภายนอกได้แต่กลับมีหน้าที่ในฐานะทายาทที่จะต้องโอนประทานบัตรที่พิพาทกลับคืนตามหน้าที่ที่ ช. เจ้ามรดกมีอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนประทานบัตรเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษี และการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อความจริง
อธิบดีกรมโจทก์เป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนประทานบัตร เป็น ทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2526 ซึ่ง เป็นเหตุที่จะขอเพิกถอนการโอนได้ การนับระยะเวลา ที่ จะ ใช้ สิทธิเรียกร้องขอให้เพิกถอนการโอนจึงต้องนับแต่วันดังกล่าว แม้ เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จะขอให้ เพิกถอน การ โอนเกินกำหนด 1 ปี แต่บุคคลดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจ กระทำการ แทน โจทก์จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ไม่ได้ ช. เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ดำเนินการในการทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรที่พิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมา ช. จะ ต้องรู้ดีว่ามีรายได้จากการประกอบการนั้นเท่าใดและจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเท่าใด การที่จำเลยที่ 1 ชำระภาษีในบางปีไม่ครบถ้วนหรือไม่ชำระเลย ช. ในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินการแทนจะต้องทราบและรู้ดีว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้ภาษีอากรหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากประทานบัตร ที่ พิพาท ในอันที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ การที่ ช. รับโอนประทานบัตร ที่พิพาทโดยรู้ถึงความจริงดังกล่าวนับได้ว่าเป็นการรับโอน โดย รู้ เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เสียเปรียบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับโอนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น ทายาท ของ ช.รับโอนประทานบัตรที่พิพาทมาในฐานะที่เป็นมรดกจึง ไม่มี สิทธิ ดีกว่าช. ซึ่งเป็นเจ้ามรดก และไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะ ที่ เป็นบุคคลภายนอกได้ แต่กลับมีหน้าที่ในฐานะทายาทที่จะ ต้อง โอน กลับคืนไปตามหน้าที่ที่เจ้ามรดกมีอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนฟ้องล้มละลายและการเปลี่ยนแปลงคู่กรณี
การที่ลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เกินกว่า 3 ปี ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว ไม่ว่าการโอนจะมีค่าตอบแทนและเป็นการโอนโดยสุจริตหรือไม่ ก็ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ได้ และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นของ ม. การโอนระหว่าง ม.และ พ.ต่อมาจึงมิใช่การโอนระหว่างลูกหนี้กับ พ. จะขอให้เพิกถอนการโอนตามบทกฎหมายข้างต้นก็ไม่ได้เช่นกัน
ข้ออ้างที่ว่า ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกัน มิได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของลูกหนี้แต่ผู้เดียวนั้น มิใช่เรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกล่าวแต่เพียงว่าการโอนระหว่างลูกหนี้และ ม.เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนเท่านั้น จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน ผู้ร้องจะกลับยกประเด็นอื่นขึ้นมากล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องในประเด็นนี้จึงขัดต่อมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลายต้องอาศัยเหตุที่ยกขึ้นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การยกประเด็นใหม่ในคำร้องคัดค้านย่อมเป็นไปไม่ได้
การยื่นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ ล้มละลายฯ มาตรา 146 ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะยกประเด็นเรื่องอื่นขึ้นมากล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านไม่ได้เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายต้องกระทำภายใน 3 ปี และต้องเป็นการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้รับโอนโดยตรง
การที่ลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ม. เกินกว่า 3 ปี ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว ไม่ว่าการโอนจะมีค่าตอบแทนและเป็นการโอนโดยสุจริตหรือไม่ ก็ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ได้ และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นของ ม. การโอนระหว่าง ม. และ พ. ต่อมาจึงมิใช่การโอนระหว่างลูกหนี้กับ พ. จะขอให้เพิกถอนการโอนตามบทกฎหมายข้างต้นก็ไม่ได้เช่นกัน ข้ออ้างที่ว่า ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกัน มิได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของลูกหนี้แต่ผู้เดียวนั้น มิใช่เรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกล่าวแต่เพียงว่าการโอนระหว่างลูกหนี้และ ม. เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนเท่านั้น จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน ผู้ร้องจะกลับยกประเด็นอื่นขึ้นมากล่าว อ้างในคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องในประเด็นนี้จึงขัดต่อมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.
of 15