คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนคำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับและเพิกถอนคำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเด็ดขาด
การทุเลาการบังคับและการเพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับกฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้น ๆ ไปการขอให้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวแล้วคู่ความจะฎีกาคำสั่งนั้นต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และบังคับตามฟ้องแย้งของจำเลยโจทก์อุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ เช่นนี้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนและกำหนดวิธีการห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทอีกต่อไป ก็เท่ากับเป็นการขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้โจทก์ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์และบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่เป็นการร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์ที่พิพาทกันได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 264 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องแล้ว จำเลยจึงฎีกาคำสั่งนั้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับคดีและการเพิกถอนคำสั่ง: คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
การทุเลาการบังคับคดีและการเพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี กฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้น ๆ ไปถ้า เป็นการขอให้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีในระหว่างอุทธรณ์ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวแล้ว คู่ความจะฎีกาคำสั่งนั้นต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และบังคับตาม ฟ้องแย้งของจำเลยโจทก์อุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์ เช่นนี้การที่จำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษา โดย ขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนและกำหนดวิธีการห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทอีกต่อไป ก็เท่ากับเป็นการขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้โจทก์ทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์ และบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่เป็นการร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์ที่พิพาทกันได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 264 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องแล้ว จำเลยจะฎีกาคำสั่งนั้นอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในการชำระค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้ว เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นมีอำนาจไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริงและถ้าเห็นว่าโจทก์มีพฤติการณ์พิเศษและเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 และขยายเวลาให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี กรณีโจทก์มีเหตุสุดวิสัยในการชำระค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม โจทก์ไม่ได้นำมาชำระภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ วันรุ่งขึ้นโจทก์ยื่นคำร้องอ้างเหตุที่ไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระตามคำสั่งศาลว่า เนื่องจากฝนตกหนัก การจราจรติดขัดมาก ได้โทรศัพท์แจ้งเหตุขัดข้องให้พนักงานรับฟ้องทราบเมื่อเวลา 15 นาฬิกา และเดินทางมาถึงศาลเมื่อเวลา17 นาฬิกา พนักงานศาลไม่ยอมรับค่าฤชาธรรมเนียม อ้างว่าศาลปิดทำการแล้ว โจทก์มิได้จงใจทิ้งฟ้อง เป็นเหตุสุดวิสัย ขอให้ศาลไต่สวนอนุญาตให้โจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควรศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริง และถ้าเห็นว่าโจทก์มีพฤติการณ์พิเศษและเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และขยายระยะเวลาให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยและการเพิกถอนคำสั่งทิ้งฟ้อง: ศาลมีอำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งทิ้งฟ้องได้หากมีเหตุผลสมควร
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม โจทก์ไม่ได้นำมาชำระภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความวันรุ่งขึ้นโจทก์ยื่นคำร้องอ้างเหตุที่ไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระตาม คำสั่งศาลว่าเนื่องจากฝนตก หนักการจราจรติดขัดมาก ได้ โทรศัพท์แจ้งเหตุขัดข้องให้พนักงานรับฟ้องทราบเมื่อเวลา 15 นาฬิกา และเดินทางมาถึง ศาลเมื่อเวลา 17 นาฬิกาพนักงานศาลไม่ยอมรับค่าฤชาธรรมเนียม อ้างว่าศาลปิดทำการแล้วโจทก์มิได้จงใจทิ้งฟ้อง เป็นเหตุสุดวิสัย ขอให้ศาลไต่สวนอนุญาตให้โจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมและดำเนิน กระบวนพิจารณาต่อไป ดังนี้แม้ศาลชั้นต้นจะได้ สั่งจำหน่ายคดีโดย เห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้วก็ตามแต่ เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริง และถ้า เห็นว่าโจทก์มีพฤติการณ์พิเศษและเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และขยายระยะเวลาให้แก่โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23. (วินิจฉัยโดย ที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบในชั้นบังคับคดีได้ แม้จำเลยจะโอนทรัพย์ไปแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องโดยเหตุสุดวิสัย ก็ให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ จำเลยขอปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยวิธีคืนเงินให้โจทก์ อ้างเหตุผลในคำร้องว่าจำเลยจำต้องใช้บ้านที่อยู่อาศัย จำเลยไม่มีบ้านอื่นอีก ไม่สามารถหาที่อยู่ใหม่ได้และจำเลยเอาโฉนดไปประกันหนี้เงินกู้ไว้ เหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านได้ เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้องจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านอยู่ในวิสัยที่จะโอนให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่สอบถามโจทก์ก่อนและสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งในชั้นบังคับคดีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนได้ ที่จำเลยอ้างว่าได้โอนขายที่และบ้านให้บุคคลภายนอกไปแล้วไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้โจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำขึ้นในภายหลังที่จำเลยทราบคำบังคับของศาลแล้ว ไม่เป็นเหตุที่จะไม่ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปรับผู้ประกันถึงที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์ ไม่สามารถขอเพิกถอนได้
ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันแล้ว หากผู้ประกันไม่อุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวย่อมถึงที่สุด ผู้ประกันจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งปรับผู้ประกันและคืนหลักประกันในภายหลังอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและสิทธิอัยการคัดค้านคำร้องพิสูจน์สัญชาติ: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมได้หากผิดข้อกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาเห็นว่าคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เรื่องเขตอำนาจศาลศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นแล้วมีคำสั่งใหม่ได้ตามมาตรา 27 พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 วรรคท้ายบัญญัติให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะโต้แย้งคัดค้านคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติของผู้ร้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลสิทธิสัญชาติ: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องและพิจารณาคดีใหม่ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องมีสัญชาติไทยไว้ ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาเห็นว่าคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เรื่องเขตอำนาจศาลศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นและมีคำสั่งใหม่ได้ตามมาตรา 27
ตามพระราชบัญญติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ได้ให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะโต้แย้งคัดค้านในกรณีที่มีผู้ร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาล คำคัดค้านของพนักงานอัยการจึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดพลาดเนื่องจากวันนัดสืบพยานไม่ตรงกับที่ศาลจดไว้ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ตามมาตรา 27
โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนในวันที่ 8 มิถุนายน 2527 มิใช่วันที่ 8 พฤษภาคม 2527 ตามที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานจำเลยในวันที่ 8 พฤษภาคม 2527 และมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งจำหน่ายคดีโดยที่โจทก์จำเลยไม่ได้ขาดนัดพิจารณาเป็นคำสั่งที่เกิดจากการผิดหลงไม่มีผลบังคับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบโดยผิดหลงนั้นได้ ตามมาตรา 27
of 14