คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิ่มโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เด็กหนีออกจากบ้านขาดการดูแล-ล้างมลทิน-เพิ่มโทษจำคุก
การที่เด็กหนีออกจากบ้านมาเป็นเด็กเร่ร่อนและขอทานอยู่โดยไม่ยอมกลับบ้านอีก ย่อมแสดงว่าเด็กได้หนีไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยเด็ดขาดแล้ว แม้มารดาเด็กยังติดตามหาอยู่ก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเด็กยังอยู่ในความปกครองดูแลของมารดาในขณะนั้นแต่อย่างใด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย การที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง เป็นการขอนอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติว่า"ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่ง พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ" ความผิดคดีก่อนจำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 และพ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ก่อนพ.ศ.2537 ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิ่มโทษจำคุกจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของ พ.ร.ฎ.อภัยโทษและ พ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษจำเลยที่พ้นโทษแล้ว
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539 มาตรา 6 (3) ประกาศใช้บังคับมีผลให้จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับพักการลงโทษเพื่อคุมประพฤติ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป และต่อมามีพ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มาตรา 4 ประกาศใช้บังคับมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสอง ซึ่งได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 92, 93 ไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินและการเพิ่มโทษ: ผลกระทบต่อผู้พ้นโทษก่อนบังคับใช้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยพ้นโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ไปก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับจำเลยจึงได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังกล่าว ซึ่งถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษจำเลยในคดีใหม่ แม้เคยมีโทษจำคุกแต่เปลี่ยนเป็นกักขัง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ50ปีพ.ศ.2539ใช้บังคับมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่9มิถุนายนพ.ศ.2539และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยพ้นโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ไปก่อนวันที่9มิถุนายน2539ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจำเลยจึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าวดังกล่าวซึ่งถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อนจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสารวัตรกำนันไม่ใช่เจ้าพนักงาน – เพิ่มโทษ 3 เท่าจากยาเสพติดไม่ได้
สารวัตรกำนันมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยและรับใช้สอยกำนันตามพ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 44 เท่านั้น มิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จึงไม่อาจเพิ่มโทษเป็นจำนวนสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันผลิตยาเสพติดและบทบาทของสารวัตรกำนัน การเพิ่มโทษจาก พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยที่3มีน้ำยาแอมเฟตามีนมาเก็บไว้เพื่อนำไปผลิตอีเฟดรีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่2ร่วมกับจำเลยที่1จึงเป็นตัวการในการผลิตอีเฟดรีนแต่เมื่อจำเลยที่3เป็นสารวัตรกำนันมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยและรับใช้สอนกำนันตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457มาตรา44มิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายจึงมิอาจเพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มาตรา10ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสารวัตรกำนันไม่เป็นเจ้าพนักงาน จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามกฎหมายยาเสพติดได้
สารวัตรกำนันมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยและรับใช้สอบกำนันตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457มาตรา44เท่านั้นมิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายจึงไม่อาจเพิ่มโทษเป็นจำนวนสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดพลาด: การแก้ไขฟ้องและการเพิ่มโทษจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากเดิมซึ่งขอให้เพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 93 ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่ และมิได้สอบถามจำเลย ส่วนจำเลยยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง การที่ศาลชั้นต้นด่วนพิพากษาคดีไปโดยมิได้สอบและสั่งคำร้องขอของโจทก์นับได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดพลาด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 เพียงหนึ่งในสาม และศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ก่อนแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6476/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ไม่เพิ่มโทษตามมาตรา 336 ทวิ และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา336ทวิเป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา335ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆกึ่งหนึ่งหาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา336ทวิกำหนดไว้แต่คงพิพากษาว่าจำเลยที่3มีความผิดตามมาตรา335(1)(3)(8)ตามที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นปรับและใช้อัตราโทษตามมาตรา335วรรคสามลงโทษจำเลยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน5ปีจำเลยที่3จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทิน, เพิ่มโทษ, และการริบของกลาง: ข้อจำกัดการใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทิน และอำนาจศาลในการริบ
ผู้ที่จะได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษาพ.ศ.2530 มาตรา 4 คือ ผู้ได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับ แต่จำเลยยังไม่พ้นโทษในวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่ได้รับผลจากพ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อจำเลยพ้นโทษฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองมายังไม่เกินห้าปี กลับมากระทำผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีกจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมิได้ฟ้องว่าจำเลยจำหน่ายเฮโรอีน เงินสดของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดในคดีนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินสดของกลางด้วยจึงไม่ชอบ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 50