พบผลลัพธ์ทั้งหมด 170 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2710/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน: มีไว้เพื่อจำหน่าย พิจารณาจากปริมาณทรัพย์สินและพฤติการณ์
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ++
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนอกจากจะบรรจุไว้ในซองพลาสติก ซึ่งมีลักษณะแบ่งแยกไว้จำเพาะแล้ว และยังมีจำนวนถึง 1,140 เม็ด มากเกินกว่าที่จำเลยจะนำมาเสพเอง ส่วนอีเฟดรีนก็มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ถือว่าเป็นจำนวนมาก และยังเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตเมทแอมเฟตามีนอีกด้วย ของกลางทั้งสองรายการล้วนเป็นของผิดกฎหมายส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์จะนำไปใช้ในทางไม่สุจริต โดยเฉพาะอีเฟดรีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้นั้นส่วนหนึ่งอยู่ในถุงพลาสติกซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสีดำสำหรับใช้สะพายรวมอยู่ด้วยกับอาวุธปืนของจำเลย จากโต๊ะเครื่องแป้งในห้องนอน และอีเฟดรีนอีกส่วนหนึ่งอยู่ในกล่องกระดาษบรรจุในถุงหิ้วได้มาจากโซฟานอกห้องนอน ดังนี้ อีเฟดรีนทั้งสองจำนวน จำเลยย่อมรู้เห็นเพราะอยู่ในวิสัยที่จำเลยสามารถค้นหาพบอย่างง่ายดาย เจ้าพนักงานตำรวจยังได้ยึดทรัพย์สินอย่างอื่นของจำเลยอีกจำนวนมาก อาทิ รถยนต์ 4 คัน นาฬิกาข้อมือ ฝังเพชร สร้อยคอทองคำฝังเพชร และแหวนทองคำ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์สินที่มีค่าและราคาแพงตลอดทั้งมีสมุดฝากเงินของธนาคารถึง 5 แห่ง กับบันทึกข้อความสั่งให้จ่ายเงินนับสิบล้านบาท เก็บซุกซ่อนอยู่ในห้องพักคอนโดมิเนียมที่จำเลยเช่าอยู่กับภริยาลำพัง2 คน หรือรถยนต์ราคาแพงที่จอดไว้ที่ลานจอดรถ ทรัพย์สินเหล่านั้นทั้งหมดเมื่อมาเปรียบเทียบกับอาชีพการงานของจำเลยเกินกว่าฐานะตามที่ควรจะเป็น ส่อแสดงให้เห็นว่าการได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมีพิรุธและไม่สุจริต พฤติการณ์ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นและจากการสืบทราบของเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยมีการลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางไว้เพื่อจำหน่าย โจทก์หาจำต้องมีประจักษ์พยานให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดให้โทษมาก่อนเกิดเหตุไม่
โทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลาง จำเลยได้นำมาใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารให้ได้รับผลในการกระทำความผิดนอกเหนือจากการใช้สื่อสารตามปกติธุระของจำเลย ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29, 30 ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลางเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชอบแล้ว
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนอกจากจะบรรจุไว้ในซองพลาสติก ซึ่งมีลักษณะแบ่งแยกไว้จำเพาะแล้ว และยังมีจำนวนถึง 1,140 เม็ด มากเกินกว่าที่จำเลยจะนำมาเสพเอง ส่วนอีเฟดรีนก็มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ถือว่าเป็นจำนวนมาก และยังเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตเมทแอมเฟตามีนอีกด้วย ของกลางทั้งสองรายการล้วนเป็นของผิดกฎหมายส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์จะนำไปใช้ในทางไม่สุจริต โดยเฉพาะอีเฟดรีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้นั้นส่วนหนึ่งอยู่ในถุงพลาสติกซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสีดำสำหรับใช้สะพายรวมอยู่ด้วยกับอาวุธปืนของจำเลย จากโต๊ะเครื่องแป้งในห้องนอน และอีเฟดรีนอีกส่วนหนึ่งอยู่ในกล่องกระดาษบรรจุในถุงหิ้วได้มาจากโซฟานอกห้องนอน ดังนี้ อีเฟดรีนทั้งสองจำนวน จำเลยย่อมรู้เห็นเพราะอยู่ในวิสัยที่จำเลยสามารถค้นหาพบอย่างง่ายดาย เจ้าพนักงานตำรวจยังได้ยึดทรัพย์สินอย่างอื่นของจำเลยอีกจำนวนมาก อาทิ รถยนต์ 4 คัน นาฬิกาข้อมือ ฝังเพชร สร้อยคอทองคำฝังเพชร และแหวนทองคำ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์สินที่มีค่าและราคาแพงตลอดทั้งมีสมุดฝากเงินของธนาคารถึง 5 แห่ง กับบันทึกข้อความสั่งให้จ่ายเงินนับสิบล้านบาท เก็บซุกซ่อนอยู่ในห้องพักคอนโดมิเนียมที่จำเลยเช่าอยู่กับภริยาลำพัง2 คน หรือรถยนต์ราคาแพงที่จอดไว้ที่ลานจอดรถ ทรัพย์สินเหล่านั้นทั้งหมดเมื่อมาเปรียบเทียบกับอาชีพการงานของจำเลยเกินกว่าฐานะตามที่ควรจะเป็น ส่อแสดงให้เห็นว่าการได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมีพิรุธและไม่สุจริต พฤติการณ์ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นและจากการสืบทราบของเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยมีการลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางไว้เพื่อจำหน่าย โจทก์หาจำต้องมีประจักษ์พยานให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดให้โทษมาก่อนเกิดเหตุไม่
โทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลาง จำเลยได้นำมาใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารให้ได้รับผลในการกระทำความผิดนอกเหนือจากการใช้สื่อสารตามปกติธุระของจำเลย ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29, 30 ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลางเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีน) ในวาระเดียวกัน ถือเป็นกรรมเดียว
เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนต่างก็เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) ซึ่งกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ลำดับที่ 20 ส่วนเฮโรอีนอยู่ในลำดับที่ 14 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวไว้ในครอบครองในวาระเดียวกัน ดังนั้น แม้วัตถุแห่งการกระทำความผิดจะต่างชนิดกันแต่ก็ต่างเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะเมทแอมเฟตามีนจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ และการใช้กฎหมายอาญามาตรา 3
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในความครอบครองและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ส่วนจะต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ตาม ป.อ.มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 เมื่อคดีนี้มิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 เมื่อคดีนี้มิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเภทของเมทแอมเฟตามีนจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ และการใช้กฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในความครอบครองและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ส่วนจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67ทั้งนี้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 เมื่อคดีนี้มิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7095/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบยาเสพติดถือเป็นความผิดฐานขาย แม้ยังไม่ได้รับเงิน
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4บัญญัติว่า ขาย หมายความรวมถึง ส่งมอบ ดังนี้การที่จำเลยตกลงขายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ผู้ซื้อถึงขั้นส่งมอบเมทแอมเฟตามีนแล้ว แม้ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคาก็เป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนสำเร็จ โดยมิพักต้องวินิจฉัยในแง่กฎหมายแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6774/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจริบทรัพย์สินจากการกระทำผิด: แม้ได้มาจากการกระทำผิดก่อนถูกจับกุม
ในการจับจำเลยซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้ให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบธนบัตรของกลาง ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่นไปก่อนหน้าที่จำเลยจะถูกจับในคดีนี้ด้วยและตาม ป.อ.มาตรา 33 (2) บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดด้วย เมื่อธนบัตรของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้การกระทำดังกล่าวจะเกิดขึ้นก่อนหน้าที่จำเลยจะถูกจับในคดีนี้ ศาลก็มีอำนาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนเพื่อจำหน่าย และความผิดกรรมเดียวจากยาเสพติดประเภท 1
การมีเมทแอมเฟตามีน2,000เม็ดและอีเฟดรีน 4,600 เม็ด โดยไม่ปรากฏเหตุผลความจำเป็นอย่างอื่น ผิดปกติวิสัยที่จะมีไว้เพื่อเสพเอง ทั้งมีการแบ่งบรรจุในถุงพลาสติก4 ถุง ถุงละ 200 เม็ด เท่า ๆ กัน ประกอบกับในขณะจับกุมจำเลยที่ 1 รับสารภาพว่ามีวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อขาย จึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน ไว้เพื่อขายจริง
ในระหว่างพิจารณาคดีมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้แล้วและมีผลให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อไป แต่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณเพื่อขาย และมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเป็นการกระทำความผิดในวาระเดียวกันจับได้พร้อมกัน แม้วัตถุแห่งการกระทำความผิดต่างชนิดกันแต่ก็เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 มีโทษหนักกว่าความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 89 ดังนั้นจึงต้องนำกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง
การมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขายในขณะเดียวกันย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว และเป็นกรรมเดียวกับการมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนด
ในระหว่างพิจารณาคดีมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้แล้วและมีผลให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อไป แต่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณเพื่อขาย และมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเป็นการกระทำความผิดในวาระเดียวกันจับได้พร้อมกัน แม้วัตถุแห่งการกระทำความผิดต่างชนิดกันแต่ก็เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 มีโทษหนักกว่าความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 89 ดังนั้นจึงต้องนำกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง
การมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขายในขณะเดียวกันย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว และเป็นกรรมเดียวกับการมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบนำเข้าเมทแอมเฟตามีน: การตีความความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร เมื่อของห้ามเสียภาษี
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยได้ลักลอบนำหรือพาเข้ามา ในราชอาณาจักรเป็นของที่มีไว้เป็นความผิดซึ่งไม่อาจ เสียภาษีได้ การที่จำเลยพาเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น มิใช่เป็นการนำหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยง การเสียภาษีศุลกากร จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 นอกเหนือจาก ความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และการเพิ่มโทษเจ้าพนักงานที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความสอดคล้องต้องกันในข้อสาระสำคัญ และต่างเป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ทั้งจำเลย ก็เป็นเจ้าพนักงานตำรวจเช่นเดียวกับพยานโจทก์ทั้งสอง จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะมาเบิกความปรักปรำจำเลย ส่วนที่พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างกันในเรื่องที่ขึ้นไปชั้นสองของตัวบ้านพร้อมกันหรือไม่นั้นเป็นข้อแตกต่างที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ไม่ทำให้คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองขาดน้ำหนักที่จะรับฟังแต่อย่างใดเมื่อพิจารณาถึงจำนวนเมทแอมเฟตามีนของกลางที่มีจำนวนมาก และมีราคาสูง ตามปกติวิสัยของคนทั่วไปย่อมต้องวางไว้ ข้างตัวเพื่อจะปกป้องได้ทันหากมีเรื่องไม่คาดหมายเกิดขึ้น จึงน่าเชื่อว่าเป็นของจำเลย และจำนวนเมทแอมเฟตามีน ของกลางก็มีมากเกินกว่าจะมีไว้เสพเอง พยานหลักฐานโจทก์ จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลาง ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดและลงโทษจำคุก 3 ปี นั้น ยังไม่ถูกต้องเพราะตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 3 และมาตรา 10 บัญญัติเพิ่มโทษเฉพาะความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทางด้านการผลิตนำเข้าส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น แม้ปัญหานี้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน) ถือเป็นการ “ผลิต” ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ขณะจำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนใส่หลอดกาแฟ แล้วใช้ไฟลนหลอดกาแฟปิดหัวท้าย หลอดละ 10เม็ด จำนวน 14 หลอด หลอดละ 20 เม็ด จำนวน 1 หลอด หลอดละ 1 เม็ดจำนวน 136 หลอดของกลาง แม้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยสภาพอัดเป็นเม็ดไม่จำเป็นต้องแบ่งบรรจุเหมือนเฮโรอีนก็ตาม แต่บทบัญญัติ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" หมายความว่า เพาะปลูกทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย ดังนี้แม้เมทแอมเฟตามีนมีการอัดเป็นเม็ดที่ไม่จำเป็นต้องแบ่งบรรจุ ก็สามารถนำออกจำหน่ายได้สะดวกก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่สามารถแบ่งบรรจุได้ ดังนั้นเมื่อกระทำของจำเลยเห็นได้ว่าเป็นการแบ่งบรรจุแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการผลิตตามที่ให้บทนิยามไว้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนด้วย