คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เยาวชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10384/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนเด็กและเยาวชนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ผลกระทบต่อการรับฟังพยานหลักฐานและอำนาจฟ้อง
แม้การแจ้งข้อหาและการสอบปากคำจำเลยในชั้นสอบสวนมิได้กระทำต่อหน้าที่ปรึกษากฎหมายตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 75 วรรคสอง โดยกระทำต่อหน้าทนายความซึ่งไม่ผ่านการอบรมเป็นที่ปรึกษากฎหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง แต่ก็มีผลเพียงทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 เท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นเหตุให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไป กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10384/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนเด็กและเยาวชน: การมีทนายความที่ไม่ผ่านอบรมเฉพาะทางไม่มีผลทำให้การสอบสวนเป็นโมฆะ
การแจ้งข้อหาและการสอบปากคำจำเลยในชั้นสอบสวนแม้มิได้กระทำต่อหน้าที่ปรึกษากฎหมายตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 75 วรรคสอง โดยกระทำต่อหน้าทนายความซึ่งไม่ผ่านการอบรมเป็นที่ปรึกษากฎหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง แต่ก็มีผลเพียงทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 6 เท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นเหตุให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไป กรณีถือได้ว่าพนักงานสอบสวนได้มีการสอบสวนความผิดในคดีนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาผัดฟ้องคดีเยาวชนหลังฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นผล
ผู้ต้องหาถูกจับกุมขณะบังคับใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ซึ่งตามมาตรา 50 กำหนดให้เจ้าพนักงานผู้รับเด็กหรือเยาวชนมีหน้าที่ต้องแจ้งการจับกุมไปยังผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยไม่ชักช้า ดังนั้น ผู้อำนวยการสถานพินิจย่อมมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติดำเนินการจัดทำรายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนได้ โดยไม่จำต้องรอรับตัวเด็กหรือเยาวชนมาควบคุมภายหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่พอใจ และพนักงานสอบสวนก็ต้องดำเนินการสอบสวนโดยกระทำควบคู่ไปพร้อมกับกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องขอผัดฟ้องบัญญัติว่า เมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรีบดำเนินการสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้ทันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม แต่หากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องได้ทันตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในวรรคสองและวรรคสาม จึงเห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่ต้องการเร่งรัดให้มีการสอบสวนและฟ้องเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนให้ได้รับการพิจารณาคดีโดยเร็ว นอกจากนั้น พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า ในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนคดีต่อไป เมื่อการสอบสวนเสร็จให้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการโดยไม่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปด้วย แม้มาตรา 19 วรรคท้าย บัญญัติว่า ในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.บ.นี้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือขอผัดฟ้องตามกฎหมายก็ตาม แต่การที่ไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือผัดฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอฝากขังหรือผัดฟ้องเฉพาะช่วงระยะเวลาที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยไม่ต้องนำระยะเวลาระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมารวมเข้ากับระยะเวลาที่ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องหรือฝากขังเท่านั้น
ผู้ร้องยื่นคำร้องระบุว่า พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งผลคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ต้องหาไม่เป็นที่พอใจตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 นับถึงวันที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2554 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่ถูกจับกุม ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ และสิทธิในการอุทธรณ์
พ. ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 4, 5, 6, 10, 12, 15 ศาลชั้นต้นตรวจสอบการจับแล้ว มีคำสั่งว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดจริง การจับเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้คัดค้านสืบเสาะข้อเท็จจริงและจัดทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ต่อมาผู้คัดค้านรายงานว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชลบุรีเห็นว่า ผู้ต้องหาอาจกลับตนเป็นพลเมืองดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง พนักงานอัยการเห็นชอบให้มีการดำเนินการตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 โดยส่งแผนให้ศาลชั้นต้นพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เนื่องจากความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน รัฐเป็นผู้เสียหายจึงไม่อาจให้ความยินยอมได้ และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 86 ได้ จึงไม่อนุญาต ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 63 (กฎหมายเดิม) และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 86 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) บัญญัติเป็นมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาแก่เด็กหรือเยาวชน อันมีลักษณะเป็นการใช้กระบวนยุติธรรมเบี่ยงเบนคดีออกจากกระบวนการยุติธรรม ซึ่งตามมาตรา 63 (กฎหมายเดิม) ให้อำนาจเด็ดขาดแก่พนักงานอัยการที่จะสั่งไม่ฟ้องโดยไม่ผ่านการพิจารณาของศาล แต่ตามมาตรา 86 (กฎหมายใหม่) ให้พนักงานอัยการพิจารณาว่าเห็นชอบกับแผนหรือไม่ ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับแผน ผู้อำนวยการสถานพินิจไม่มีสิทธิโต้แย้ง แต่ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบกับแผน พนักงานอัยการยังไม่มีอำนาจสั่งไม่ฟ้อง ต้องให้ศาลพิจารณาก่อน ถ้าศาลเห็นชอบกับแผน และมีการปฏิบัติตามแผนแล้ว พนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องตามมาตรา 88 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) นอกจากนี้ตามมาตรา 86 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) ใช้ถ้อยคำว่า "ให้ศาลสั่งตามที่เห็นสมควร" บ่งชี้ให้เห็นเจตนารมณ์ของมาตรานี้ว่า ให้ศาลชั้นต้นตรวจสอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูอีกชั้นหนึ่งก่อนและให้สั่งตามที่เห็นสมควร อันเป็นดุลพินิจเด็ดขาดของศาลชั้นต้น การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า มาตรา 86 เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจและพนักงานอัยการในการพิจารณาแผนบำบัดฟื้นฟู โดยให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือพนักงานอัยการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6360/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีเยาวชน: หลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้องขอให้ฎีกาเมื่อศาลล่างมีคำสั่งห้ามฎีกา
หลักเกณฑ์การฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180 (2) ประกอบมาตรา 183 ต้องแยกพิจารณาว่าเป็นการฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กหรือฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานว่าไม่ได้กระทำผิด หากฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกาเว้นแต่กำหนดเวลาฝึกอบรมเกินกว่าสามปี หรือกำหนดเวลาฝึกอบรมเป็นขั้นต่ำขั้นสูงและขั้นสูงเกินกว่าสามปี หากฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิด ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. ซึ่งในกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงกำหนดให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรมซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ตามมาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยกคำร้อง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นจำคุกหลังอายุครบ 24 ปี จากเดิมคือควบคุมและอบรม
จำเลยทั้งสองอายุครบ 24 ปี ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้ใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองไว้จึงไม่เหมาะสม ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาในการกำหนดวิธีการสำหรับเด็กหรือเยาวชนซึ่งศาลคำนึงถึงพฤติการณ์เฉพาะเรื่องตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 119 ประกอบมาตรา 142 แม้โจทก์จะไม่อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจจะเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมได้เพราะมิใช่การเปลี่ยนแปลงโทษ จึงไม่ใช่การเพิ่มเติมโทษ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. 212 และมาตรา 225 เมื่อพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว อาศัยอำนาจตามมาตรา 142 วรรคท้ายเปลี่ยนแปลงวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนใหม่เป็น หลังจากจำเลยทั้งสองอายุครบ 24 ปีแล้วให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปจำคุกไว้ในเรือนจำมีกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6151/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมชิงทรัพย์-การใช้รถจักรยานยนต์-การลดโทษเยาวชน-การเปลี่ยนโทษเป็นฝึกอบรม
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นคนที่ถูกผู้อื่นหลอกลวงได้ง่ายและพฤติการณ์ในคดีก็ได้ความว่าอาของจำเลยเป็นผู้ใช้ให้จำเลยไปชิงทรัพย์ และอาของจำเลยขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปทิ้งให้อยู่ในที่เกิดเหตุ จนกระทั่งจำเลยมาชิงทรัพย์ผู้เสียหายแล้วหลบหนีไปเพียงลำพัง โดยอาของจำเลยไม่ได้กลับมาที่เกิดเหตุอีกเลย จำเลยกับอาของจำเลยจึงมิใช่ตัวการร่วมกันชิงทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 83 แต่เป็นกรณีจำเลยชิงทรัพย์ตามที่อาของจำเลยใช้เท่านั้น และตามพฤติการณ์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์อันจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ปัญหาว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นชิงทรัพย์และปัญหาว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนนำเข้ายาเสพติด ศาลลดโทษและเปลี่ยนโทษเป็นฝึกอบรมเยาวชน
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 137 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิมได้เฉพาะกรณีที่คำพิพากษาคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว และระหว่างการฝึกอบรมตามคำพิพากษานั้นจำเลยมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป แต่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา แม้จำเลยจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไประหว่างการฝึกอบรม ศาลชั้นต้นก็ไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาโดยให้ปล่อยตัวจำเลยไป จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8257/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาเด็กและเยาวชน: การพิจารณาโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการใช้วิธีการสำหรับเด็กแทนการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 33, 58, 83, 91, 288, 289, 371 และขอให้กำหนดโทษของจำเลยที่ 1 ที่รอการกำหนดโทษไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แม้ศาลจะพิพากษาในส่วนของจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 371, 83 ลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่ง ลดโทษให้หนึ่งในห้า คงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี และปรับ 40 บาท เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจจนกว่าจำเลยทั้งสองมีอายุครบ 24 ปีบริบรูณ์ หากจำเลยมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์แล้ว ให้ส่งจำเลยทั้งสองไปจำคุกในเรือนจำมีกำหนดคนละ 10 ปี โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) และวรรคท้าย แต่การส่งจำเลยที่ 1 ไปจำคุกต่อตามมาตรา 104 วรรคท้ายดังกล่าว มิใช่การพิพากษาให้ลงโทษจำคุกโดยแท้ แต่เป็นหนึ่งในวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน มิใช่การลงโทษจำคุกซึ่งเป็นโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ศาลจึงไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกตาม ป.อ. มาตรา 58 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนผู้ต้องหาเยาวชน: การปฏิบัติตามข้อกำหนดการมีนักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการ
การสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี ที่ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 134 ตรี ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะมีการสอบสวนคดีนี้ มี 3 ประเภท ได้แก่ คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปีซึ่งผู้ต้องหาที่เป็นเด็กร้องขอ และคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึง 3 ปี เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาร้องขอต่อพนักงานสอบสวนให้มีบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการถามปากคำ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว
of 8