พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจวินิจฉัยให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงานได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ชอบแล้วดังนี้ ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม เป็นการปฏิเสธที่จะรับโจทก์กลับเข้าทำงานหาใช่เป็นการยอมรับไม่ ศาลจะสั่งให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาตามมาตรา 49แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ที่ให้อำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าลูกจ้างกับนายจ้างสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ด้วยซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลโดยต้องคำนึงถึงสภาพจากสถานประกอบการนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างถ้าเห็นว่าไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ก็จะกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทนการบังคับให้รับกลับเข้าทำงาน ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางนำข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในการพิจารณาว่าโจทก์จำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันได้มาวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้กับโจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงาน จึงหาใช่เป็นเรื่องวินิจฉัยนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3770-3771/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้ปฏิบัติตามคำสั่ง คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยจะปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่ง และอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมและนับอายุการทำงานติดต่อกันแล้วก็ตาม หากจำเลยยังค้างชำระค่าจ้างโจทก์ระหว่างเลิกจ้างอยู่อีก โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยให้ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระได้ กรณีไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้โดยไม่ต้องย้อนไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก
เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้โดยไม่ต้องย้อนไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาตัดสินให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยขัดกับคำพิพากษาเดิม และขัดต่อพยานหลักฐานเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้พิจารณาพิพากษาใหม่ ในชั้นพิจารณาใหม่นี้ ศาลแรงงานกลางจะยกประเด็นที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาขึ้นวินิจฉัยอีกไม่ได้ ศาลแรงงานกลางยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบ
อุทธรณ์ว่าศาลวินิจฉัยคดีขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
อุทธรณ์ว่าศาลวินิจฉัยคดีขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6719/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานต่อเนื่องหลังศาลสั่งให้กลับเข้าทำงาน กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ศาลแรงงานภาค 4 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมเนื่องจากจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม แม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลรูปคดีย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง เมื่ออายุงานเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานบางประการ การไม่นับอายุงานต่อเนื่องเป็นการทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิที่จะพึงมีพึงได้อันเนื่องมาจากอายุงานเป็นการไม่คุ้มครองลูกจ้าง ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
การนับอายุงานต่อเนื่องเป็นเพียงการรักษาสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วไม่ให้เสียไปเพราะการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงต้องนับอายุงานต่อเนื่องจากอายุงานเดิมมิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่หลังจากที่จำเลยที่ 2 รับโจทก์กลับเข้าทำงาน แต่จะนับระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่จำเลยที่ 2 รับโจทก์กลับเข้าทำงานรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้เพราะระหว่างนั้นโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยที่ 2 คงนับอายุงานใหม่ต่อกับอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างได้เท่านั้น
การนับอายุงานต่อเนื่องเป็นเพียงการรักษาสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วไม่ให้เสียไปเพราะการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงต้องนับอายุงานต่อเนื่องจากอายุงานเดิมมิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่หลังจากที่จำเลยที่ 2 รับโจทก์กลับเข้าทำงาน แต่จะนับระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่จำเลยที่ 2 รับโจทก์กลับเข้าทำงานรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้เพราะระหว่างนั้นโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยที่ 2 คงนับอายุงานใหม่ต่อกับอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14399-14401/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ไม่ครอบคลุมการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 4 วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่... นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งจะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้" เมื่อปรากฏว่ากฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) บัญญัติว่า "มิให้ใช้บทบัญญัติมาตรา... หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122... บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ" เมื่อศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยเป็นสมาคมที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ จึงนำค่าชดเชยมาตรา 118 ถึงมาตรา 122 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาบังคับใช้กับการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามไม่ได้ กฎกระทรวงดังกล่าวได้บัญญัติยกเว้นเฉพาะ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เท่านั้น มิได้บัญญัติให้ยกเว้นกรณีจำเลยหรือนายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ทั้งการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมกับการจ่ายค่าชดเชยเป็นคนละกรณีและบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติต่างหากจากกันเช่นนี้ ลูกจ้างจะได้ค่าชดเชยหรือไม่ พิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 และมาตรา 119 ส่วนการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติจำกัดสิทธิของโจทก์ทั้งสามที่มีอยู่ตามกฎหมายและการแปลความกฎหมายให้เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ทั้งสามย่อมไม่ชอบ ดังนั้น กฎกระทรวงดังกล่าวข้อ (3) จึงนำมาใช้บังคับกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ไม่ได้ โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14399-14401/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นค่าชดเชยนายจ้างที่ไม่แสวงหากำไร ไม่ครอบคลุมค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยเป็นสมาคมที่มิได้แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ จึงนำค่าชดเชยมาตรา 118 ถึงมาตรา 122 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาบังคับใช้กับการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามไม่ได้ กฎกระทรวงดังกล่าวได้-บัญญัติยกเว้นเฉพาะ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เท่านั้น มิได้บัญญัติยกเว้นกรณีจำเลยหรือนายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8629/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณากำหนดค่าเสียหายเมื่อเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้ลูกจ้างได้งานใหม่แล้ว
การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วไม่กำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยเห็นว่าจำเลยยินยอมจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และดอกเบี้ยแก่โจทก์แล้ว ประกอบกับที่โจทก์ได้งานใหม่ทำแล้วภายหลังถูกเลิกจ้างเพียงหนึ่งเดือนจึงไม่ได้รับความเนียหายนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49