พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบหลักและส่วนประกอบรองเพื่อวินิจฉัยความเหมือน/ต่าง
โจทก์มีหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานโนตารีปับลิก แห่งประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาแสดงต่อศาล ซึ่งมีข้อความรับรองว่า หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ได้รับการลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัท โดยคำสั่งของคณะกรรมการและผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองได้กระทำเพื่อบริษัทดังกล่าวแล้วทุกประการ จำเลยมิได้คัดค้านว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เช่นนี้ ผู้มอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจจึงถูกต้องใช้ได้ โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้กับรองเท้าเป็นรูปแถบโค้งประดิษฐ์และรูปแถบโค้งประดิษฐ์ประกอบอักษรโรมันคำว่าPUMA(พูม่า)โดยติดอยู่ข้างรองเท้าสินค้าของโจทก์มีลักษณะโค้งมนส่วนล่างกว้าง 5 เซนติเมตรครึ่ง แล้วค่อย ๆ รีเล็กลง ส่วนที่จรดกับตะเข็บเส้นรองเท้ากว้างเพียง 1 เซนติเมตร เครื่องหมายนี้ต่างกับลักษณะของตะเข็บรองเท้าทั่ว ๆ ไป และมีสีสรรสวยงามตัดกับสีพื้นรองเท้ามองเห็นอย่างเด่นชัด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายแถบโค้งดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าตามความในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 แบบ เป็นรูปประดิษฐ์ลักษณะเหมือนกล้องยาเส้นหงายขึ้นและตะขอหงาย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยผลิตและจำหน่ายรองเท้าโดยใช้เครื่องหมายแถบโค้งเหมือนกับของโจทก์ทุกประการ สินค้ารองเท้าบางแบบของจำเลยเพียงแต่มาประทับตัวหนังสืออักษรโรมันคำว่า LONGHORNไว้ที่หุ้มข้อด้านหลังเหนือแถบโค้งที่เรียว มาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันว่า PUMAบ้างหรือรูปเสือกำลังกระโจนอยู่เหนือแถบโค้งบ้างที่ลิ้นรองเท้าบ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ มีรูปแถบโค้งเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเพราะเป็นส่วนที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด และมีรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจนเป็นส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบย่อย เพราะประชาชนมุ่งดูรูปแถบโค้งเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์ยิ่งกว่าดูรูปตัวอักษรโรมันPUMA หรือรูปเสือกระโจน การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าลักษณะดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันกับของจำเลยหรือไม่ จำต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นรูปแถบโค้งเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัดแม้ส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบปลีกย่อยจะต่างกันซึ่งมองเห็นได้ยากจึงถือได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำมาใช้อีกอย่างหนึ่งแตกต่างจากที่ขอจดทะเบียนไว้โดยใช้ให้เหมือนกับของโจทก์ แสดงถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยและเป็นการจงใจเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: หลักฐานหนังสือมอบอำนาจจากต่างประเทศที่ถูกต้อง และการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้มีหนังสือซึ่งโนตารีปับลิกแห่งเมืองที่โจทก์มีภูมิลำเนาลงนามรับรองว่า บริษัทโจทก์ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศนั้นและผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งเป็นหัวหน้าเสมียนของบริษัทโจทก์ได้ลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัทโจทก์โดยคำสั่งของคณะกรรมการด้วยความสมัครใจและเป็นการกระทำเพื่อบริษัทโจทก์ทุกประการ ทั้งยังมีคำรับรองลายมือชื่อโนตารีปับลิกจากประธานศาล และคำรับรองลายมือชื่อของประธานศาลดังกล่าวจากสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยในประเทศนั้นต่อท้ายอีกด้วย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas" อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อะดีดัง รูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas" อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อะดีดัง รูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล & การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การพิจารณาความคล้ายคลึงและเจตนาเลียนแบบ
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้มีหนังสือซึ่งโนตารีปับลิก แห่งเมืองที่โจทก์มีภูมิลำเนาลงนามรับรองว่า บริษัทโจทก์ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศนั้นและผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งเป็นหัวหน้าเสมียนของบริษัทโจทก์ได้ลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัทโจทก์โดยคำสั่งของคณะกรรมการด้วยความสมัครใจและเป็นการกระทำเพื่อบริษัทโจทก์ทุกประการ ทั้งยังมีคำรับรองลายมือชื่อโนตารีปับลิก จากประธานศาลและคำรับรองลายมือชื่อของประธานศาลดังกล่าวจากสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยในประเทศนั้นต่อท้ายอีกด้วย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas"อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อดีดังรูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041-5042/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ & สิทธิใช้เครื่องหมายการค้า: คดีเลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้ว การใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนโดยชอบ
พนักงานอัยการโจทก์และผู้เสียหายโจทก์ร่วมเคยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ร่วมพบสินค้าของจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกันนั้นอีกจึงดำเนินการให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอาศัยพยานหลักฐานใหม่และเพิ่มข้อหาอื่นอีกแต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้ร่วมกันกระทำการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมขึ้นใหม่ดังนี้เป็นการนำการกระทำของจำเลยที่มีคำพิพากษา เสร็จเด็ดขาดแล้วมาฟ้องใหม่นั่นเองสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราควายพระอาทิตย์ย่อมมีสิทธิใช้หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนจดทะเบียนได้โดยชอบ การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 นำเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายมาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 4 โดยโจทก์ร่วมยินยอมจึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราควายพระอาทิตย์ย่อมมีสิทธิใช้หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนจดทะเบียนได้โดยชอบ การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 นำเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายมาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 4 โดยโจทก์ร่วมยินยอมจึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ เป็นรูปตะขอประดิษฐ์อยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าภาพหนึ่ง และเป็นรูปตะขอประดิษฐ์อยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนรูปตะขอมีอักษรโรมันอ่านว่าไนกี้อีกภาพหนึ่ง ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นภาพประดิษฐ์คล้ายกล้องสูบยาเส้นและอีกภาพหนึ่งเป็นภาพประดิษฐ์คล้ายไม้หันอากาศกลับข้าง ไม่มีตัวอักษรใด ๆ ทั้งสองภาพ เมื่อพิจารณาเครื่องหมายของจำเลยแล้วเห็นได้ชัดว่าความสำคัญที่เด่นชัดคือรูปประดิษฐ์คล้ายกล้องยาสูบและรูปประดิษฐ์คล้ายไม้หันอากาศกลับข้างนั้น ก็คือรูปตะขอประดิษฐ์ทำนองเดียวกับของโจทก์ ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเลียนรูปและลักษณะของโจทก์เป็นการลวงให้สาธารณชนหลงเข้าใจผิดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า จำเลยต้องมีความรู้หรือควรรู้ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่น
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส' ไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น โจทก์ร่วมมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้านี้แต่ผู้เดียวในประเทศไทย เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเคยลงโฆษณาในวารสารที่จำเลยที่ 6 เป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณา จำเลยสั่งซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส' ไปจากตัวแทนของโจทก์ร่วมหลายครั้ง การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส'เข้ามาจากไต้หวัน ตามเหตุผลเป็นข้อที่ชวนให้สงสัยในพฤติการณ์ของจำเลยว่า น่าจะรู้ว่าเครื่องหมายการค้านี้ความจริงเป็นของผู้ใด มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไหน การสั่งสินค้าซึ่งเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจากไต้หวันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย น่าจะเป็นหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้แล้วว่าเป็นความผิด แต่เครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส' ที่ปรากฏในวารสารดังกล่าวและในใบส่งสินค้าที่ตัวแทนโจทก์ร่วมส่งมอบแก่จำเลยมิได้ระบุชัดถึงตัวผู้เป็นเจ้าของและแหล่งผลิตว่ามาจากประเทศใด ทั้งจำเลยก็ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้แล้วจนเกิดเป็นกรณีพิพาทในทางแพ่งกับโจทก์ร่วม ดังนั้นการที่จะถือเอาแต่ลำพังพฤติการณ์ตามที่ปรากฏแล้วสันนิษฐานว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดในทางอาญาจึงยังฟังไม่ถนัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนและใช้งานก่อนย่อมไม่ถือว่าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นภายหลัง
เครื่องหมายการค้าที่จะถือได้ว่าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้นจะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าที่ถูกลอกเลียนนั้น เครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือได้ใช้มาก่อนย่อมไม่อาจเลียนเครื่องหมายการค้าที่เกิดหรือใช้ในภายหลังได้
เครื่องหมายการค้าตามฟ้องบริษัท ล.ได้จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและบริษัท ล.ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนโจทก์เป็นเวลานานจึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของบริษัท ล.เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายกางเกงยีนส์ที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัท ล. จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 45 ซึ่งแก้ไขแล้ว และความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะเนื่องจากทางราชการมีความมุ่งหมายจะควบคุมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดนี้
เครื่องหมายการค้าตามฟ้องบริษัท ล.ได้จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและบริษัท ล.ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนโจทก์เป็นเวลานานจึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของบริษัท ล.เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายกางเกงยีนส์ที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัท ล. จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 45 ซึ่งแก้ไขแล้ว และความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะเนื่องจากทางราชการมีความมุ่งหมายจะควบคุมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนและใช้ก่อนย่อมไม่ถือว่าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนภายหลัง
เครื่องหมายการค้าที่จะถือได้ว่าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้นจะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าที่ถูกลอกเลียน เครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือได้ใช้มาก่อนไม่อาจเลียนเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังได้ฉะนั้นเมื่อเครื่องหมายการค้าที่พิพาทบริษัทล. ได้จดทะเบียนไว้ที่สหรัฐอเมริกาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและบริษัทล. ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนโจทก์เป็นเวลานานจึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้านั้นเลียนเครื่องหมายการค้าค้าของโจทก์แม้จำเลยจะเป็นตัวแทนผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัทล. จำเลยก็ไม่มีความผิดตามป.อ.มาตรา274และพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474มาตรา45 ความผิดตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474มาตรา45เป็นความผิดที่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะเนื่องจากทางราชการมีความมุ่งหมายจะควบคุมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดต่อรัฐบุคคลธรรมดาจึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนและใช้ก่อนย่อมไม่ถือว่าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น แม้จะมีการใช้ในภายหลัง
เครื่องหมายการค้าที่จะถือได้ว่าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้นจะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าที่ถูกลอกเลียนนั้นเครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นหรือได้ใช้มาก่อนย่อมไม่อาจเลียนเครื่องหมายการค้าที่เกิดหรือใช้ในภายหลังได้. เครื่องหมายการค้าตามฟ้องบริษัทล.ได้จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและบริษัทล.ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนโจทก์เป็นเวลานานจึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของบริษัทล.เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังนั้นเมื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายกางเกงยีนส์ที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัทล.จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา274และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474มาตรา45ซึ่งแก้ไขแล้วและความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะเนื่องจากทางราชการมีความมุ่งหมายจะควบคุมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดต่อรัฐโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าประเภทคำและการเลียนแบบที่ทำให้ผู้บริโภคสับสน
เครื่องหมายการค้าคำว่า"IXOL"ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า"itol"ของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมันอย่างเดียวไม่มีรูปหรือลวดลายประกอบการที่จำเลยนำเอารูปจิงโจ้อยู่ในวงกลมมาประกอบเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ภาชนะบรรจุสินค้าหาใช่สาระสำคัญในการนำมาประกอบการวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่เพราะรูปภาพดังกล่าวมิได้จดทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าเมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมี2พยางค์เหมือนกันตัวอักษร5ตัวเท่ากันและเหมือนกันถึง4ตัวต่างกันเฉพาะตัวกลางเท่านั้นและแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดส่วนของจำเลยเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกอีก4ตัวเป็นตัวพิมพ์เล็กแต่เมื่ออ่านออกเสียงมีสำเนียงใกล้เคียงกันทั้งที่ภาชนะบรรจุสินค้าของจำเลยใช้คำภาษาไทยว่า"วิลตอล"ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศย่อมอาจจะฟังหรือเรียกขานเป็นสำเนียงเดียวกันได้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทำให้ประชาชนหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์.