คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวนคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนเริ่มนับจากวันที่จ่ายเงินให้ผู้ถูกเวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินทดแทนนั้น เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม การรับผิดชำระดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนหาใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยหรือไม่ และหนังสือของจำเลยที่แจ้งโจทก์ให้ไปรับเงินค่าทดแทนไม่ระบุว่าให้ไปรับเงินวันใดแต่ได้ความว่าจำเลยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2539 จึงถือได้ว่าเป็นวันที่จำเลยวางเงินค่าทดแทนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนที่ดิน ส่วนที่เพิ่มนับแต่วันนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินเวนคืนกลายเป็นที่สาธารณะ แม้ไม่มีการจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกแก่ผู้รับโอนต่อๆ กัน
พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ถูกเวนคืนกับนายอำเภอภาษีเจริญและรับเงินค่าทดแทนไปครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาจะซื้อจะขายมีข้อความว่า พ. ผู้ขายตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อเพื่อจัดสร้างถนน โดยจะนำโฉนดไปขอรังวัดแบ่งแยกเป็นที่ดินสาธารณะและให้ผู้ซื้อมีสิทธิเข้าดูแลสถานที่ได้ทันทีนับแต่วันทำสัญญา เห็นได้ชัดเจนว่า พ. มีเจตนาขายที่ดินพิพาทเพื่อให้ก่อสร้างถนนสาธารณะโดยให้ยอมสร้างได้ทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันทันทีนับแต่วันทำสัญญา แม้ภายหลังจะไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกันก็ตาม ที่ดินพิพาทจึงจะโอนให้แก่กันมิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 การที่ พ. แบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทออกเป็นชื่อของ พ. แล้วมีการโอนต่อให้ อ. และ อ. นำไปขายฝากให้แก่ น. แล้ว น. โอนให้แก่โจทก์ผู้รับโอนต่อ ๆ มารวมทั้งโจทก์ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของ พ. ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับจากวันวางเงิน ไม่ใช่วันศาลตัดสิน
โจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และโจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 11 สิงหาคม 2538 ตามที่ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับ ฝ่ายจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวไปวางไว้ตามมาตรา 31 โดยพลัน ตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งก็คือวันถัดจากวันครบกำหนดนัด คือ วันที่ 12 สิงหาคม 2538 อันถือได้ว่าเป็นวันวางเงิน ค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย การคิดดอกเบี้ยจึงต้องเริ่มตั้งแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ: การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
กรุงเทพมหานครจำเลยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของโจทก์ เพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 , 9 , 11 , 13 การที่จำเลยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยได้วางเงินค่าทดแทนไว้ต่อธนาคารในนามของโจทก์ ซึ่งเป็นวันก่อนที่ พ.ร.ฎ. สิ้นผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องออก พ.ร.บ. เวนคืนที่ดินพิพาทในภายหลังอีก ทั้งจำเลยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว ที่ดินพิพาทย่อมมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของรัฐเมื่อวางเงินค่าทดแทนครบถ้วน ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องที่ดินคืน
กรุงเทพมหานครจำเลยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 6,9,11,13 การที่จำเลยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยได้วางเงินค่าทดแทนไว้ต่อธนาคารในนามของโจทก์ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทในภายหลังอีก ทั้งจำเลยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์แล้ว ที่ดินพิพาทย่อมมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: นับแต่วันพ้น 60 วันจากรับคำอุทธรณ์ หรือแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
แม้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความด้วย แต่ก็ให้การต่อสู้โดยอ้างถึงบทบัญญัติของมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันที่รัฐมนตรีฯ ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์และต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเสียภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่า คดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้นเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำที่ผิดพลาดไปเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีแล้ว มิได้วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนอกประเด็นข้อต่อสู้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรก รัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ส่วนในกรณีที่สอง เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีอย่างกรณีแรก กรณีที่สองนี้หากเริ่มนับกำหนดเวลาฟ้องคดีนับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีแล้ววันเริ่มต้นนับกำหนดเวลาฟ้องคดีก็จะเหลือเพียงกรณีเดียว และจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: นับจากวันพ้นกำหนด 60 วันของอุทธรณ์ หรือวันรับแจ้งคำวินิจฉัย
แม้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความด้วยแต่ก็ให้การต่อสู้โดยอ้างถึงบทบัญญัติของมาตรา 26แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันที่รัฐมนตรีฯ ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์และต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเสียภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้นเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำที่ผิดพลาดไปเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีแล้ว มิได้วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนอกข้อต่อสู้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีและในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เพราะจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: หลักเกณฑ์การประเมินราคา ค่าทดแทนที่เหมาะสม และดอกเบี้ย
++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ฎีกา
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่นำสืบโดยมิได้โต้เถียงกันว่า
++ โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่32941, 32942, 32944 และ 89930 ตำบลสวนหลวง (ที่ 8 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 316 ตารางวา พร้อมด้วยอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์สูง 7 ชั้น 1 หลัง ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าว โดยมีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้บริหารกิจการให้เช่าพักอาศัย
++ ที่ดินของโจทก์ที่ 1โฉนดเลขที่ 32942 เนื้อที่ 15 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตและลานคอนกรีตบางส่วน ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้ และไม้ยืนต้นอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวางเขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 4 ตุลาคม 2533
++ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 10 ตารางวา ตารางวาละ40,000 บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตบางส่วนเป็นเงิน58,864.52 บาท ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิและกระถางต้นไม้ 37,768.41บาท และไม้ยืนต้น 850 บาท ตามเอกสารหมาย ล.5 และ ล.6 โจทก์ที่ 1ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ และแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ทราบเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม2537 ตามเอกสารหมาย จ.10
++ โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 4 ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 120,000 บาท ค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสี่แปลงอันมีราคาลดลงตารางวาละ 30,000 บาท ค่าทดแทนรายได้ค่าเช่าอพาร์ตเมนต์ 126 ห้อง ที่ต้องลดค่าเช่าลงห้องละ 2,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน 15,120,000 บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างเพิ่มอีก 95,717.07 บาท ตามสำเนาอุทธรณ์เอกสารหมายจ.12 แต่จำเลยที่ 4 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม และโจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนหรือไม่
++
++ ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ 2,000 บาท นั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 ตารางวาละ 110,000 บาทแล้ว ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ 2,000 บาท ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++ ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้บริหารงานอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนครั้งนี้
++ การที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาแต่เพียงขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองโดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ฎีกาของโจทก์ที่ 2จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่
++ เห็นว่า ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่32942 ของโจทก์ที่ 1 ที่อยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนงกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 นั้นไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 ต้องกำหนดโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา21 (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทน โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโฉนดเลขที่ 32942 ของโจทก์ที่ 1 ตามที่เป็นอยู่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ด้วย
++ นายกลยุทธ มณฑาศวิน ซึ่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และเป็นพยานจำเลยทั้งสี่เบิกความว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ นำราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน เป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 แม้นางสาวณัฐนรี คงจันทร์ ซึ่งเคยรับราชการเป็นหัวหน้างานการประเมินราคาทรัพย์สินสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดินและเป็นพยานจำเลยทั้งสี่อีกคนหนึ่งเบิกความว่า ราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงตารางวาละ 40,000 บาท เป็นข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ได้ไปสำรวจเก็บได้ในปี 2535 ข้อมูลนั้นได้จากการสัมภาษณ์ผู้ขาย นายหน้า จากสถาบันการเงินและจากการประกาศขายที่ดิน แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับที่ดินที่นำมาประเมินราคาทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงทำเล ที่ตั้ง การเข้าถึงแปลงที่ดิน รูปแปลนที่ดิน และข้อจำกัดการใช้ที่ดิน ซึ่งเรียกว่าการประเมินรายแปลงก็ตาม จากคำเบิกความของพยานจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวก็ยังไม่ได้ความว่าที่ดินโฉนดเลขที่32942 ของโจทก์ที่ 1 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ตารางวาละเท่าใด เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 และจำเลยทั้งสี่เกี่ยวกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ให้เหมาะสมโดยอาศัยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา21 (1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมได้
++
++ ข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ตั้งอยู่ติดซอยซึ่งเป็นถนนคอนกรีตเชื่อมระหว่างซอยรามคำแหง 2 และซอยรามคำแหง 4ห่างจากถนนรามคำแหงประมาณ 100 ถึง 150 เมตร อยู่ในย่านที่มีความเจริญ บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและสถานที่ราชการต่าง ๆ ที่ดินของนางซาฟียะ เปลี่ยนเดชา อยู่ห่างจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ประมาณ 200 ถึง 300 เมตร ไม่มีทางรถยนต์เข้าออกสู่ถนนสาธารณะ มีแต่เพียงทางเท้า อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนเช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 90,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.14 และ จ.15 และภาพถ่ายหมาย จ.17
++ จึงเห็นได้ว่าที่ดินของโจทก์ที่ 1 มีสภาพและทำเลที่ตั้งดีกว่าที่ดินของนางซาฟียะ นางสาวณัฐนรีเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ทั้งสองว่า ที่ดินใกล้เคียงหากรถยนต์เข้าถึงจะมีราคาสูงกว่าที่ดินที่รถยนต์เข้าไม่ถึง ดังนั้นที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่นางซาฟียะตารางวาละ90,000 บาท สูงกว่าที่กำหนดให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 เมื่อคำนึงถึงพยานหลักฐานที่โจทก์ที่ 1 นำสืบเกี่ยวกับที่ดินแปลงอื่น ๆราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่จะต้องเวนคืนที่ฝ่ายจำเลยกำหนด กับสภาพที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างเต็มที่เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารสูง 7 ชั้น และที่ตั้งที่ดินของโจทก์ที่ 1ดังกล่าว ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5)แล้ว
++ เห็นว่า เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่จะต้องเวนคืนที่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมคือ ตารางวาละ 110,000 บาท ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด
++ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถูกเวนคืน 15 ตารางวา เป็นเงิน 1,650,000บาท จำเลยที่ 1 ได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินแล้วจำนวน 400,000 บาท จึงต้องชำระเพิ่มอีก 1,250,000 บาท
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาลดลงอีก 500,000 บาท ส่วนจำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ที่ดินและอาคารของโจทก์ที่ 1ราคาไม่ลดลงนั้น
++ เห็นว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาหรือราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์นั้น โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อจำเลยที่ 4 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
++
++ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ จำนวนเงิน 500,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
++
++ ส่วนเงินค่าทดแทนที่ดินที่เสื่อมราคาหรือมีราคาลดลงนั้น เห็นว่า ตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 4 ซึ่งเป็นแผนผังแสดงที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษที่ดินของโจทก์ที่ 1 ตรงกับเลขหมาย 287 ถูกเขตทางพิเศษตลอดด้านทิศตะวันออกซึ่งอยู่ติดถนนทำให้ที่ดินของโจทก์ที่ 1 มีรูปทรงเปลี่ยนไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และเขตทางพิเศษเป็นระบบทางด่วนยกระดับซึ่งโจทก์ที่ 1 ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางดังกล่าวจากหน้าที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ การที่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่เหลืออยู่ใต้ทางพิเศษย่อมทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปกระทบถึงสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และถูกทางพิเศษที่อยู่ด้านบนบดบังทัศนียภาพตามปกติ อีกทั้งต้องรับผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องเสียงเครื่องยนต์และฝุ่นละอองจากรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาบนทางพิเศษ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่เหลือจึงมีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปในทางด้อยลง มูลค่าของที่ดินย่อมลดลงจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดใช้เงินค่าทดแทนในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคสาม
++ ที่ดินโฉนดเลขที่ 32942 ของโจทก์ที่ 1 มีเนื้อที่ 106 ตารางวาจะต้องถูกเวนคืน 15 ตารางวา ทางด้านหน้าซึ่งใช้เป็นทางเข้าออกอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ การใช้ประโยชน์ของที่ดินที่เหลือจึงไม่สะดวกเหมือนเดิม
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลืออันมีราคาลดลง เป็นเงิน1,000,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า ศาลฎีกาได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไปแล้วตารางวาละ 110,000 บาท ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่91 ตารางวา ขณะที่ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนจึงควรมีราคารวมแล้วเป็นเงิน 10,010,000 บาท ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงจำนวน 1,000,000 บาท คิดเป็นอัตราส่วนเพียงประมาณร้อยละสิบของมูลค่าที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าว นับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมแล้ว จึงเพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็น 1,000,000 บาทตามที่โจทก์ขอ
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนค่าเช่าที่ลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์เดือนละ 50,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ เพราะโจทก์ต้องปรับค่าเช่าลดลง อันเป็นผลประทบโดยตรงต่ออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้น
++ เห็นว่า ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืนจากการที่สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 มีราคาค่าเช่าลดลงได้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนกรณีนี้ได้
++ ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างอันได้แก่รั้วคอนกรีต ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้และไม้ยืนต้น จำนวนเงิน97,482.93 บาท ที่กำหนดให้แก่โจทก์ที่ 1 เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเกินคำฟ้องหรือคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142 ประกอบมาตรา 246 นั้น
++ เห็นว่า จำเลยทั้งสี่มีนายธีระพล ธีรมหานนท์วิศวกร 7 ซึ่งมีหน้าที่ประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นที่ถูกเวนคืน เป็นพยานเบิกความว่า สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่ถูกเวนคืนได้ถ่ายรูปไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เข้าทำการตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนแล้ว ก็จะนำมาถอดแบบเพื่อคำนวณราคา เมื่อได้ข้อมูลจากการสำรวจแล้วพยานจะนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณตามดัชนีของราคาวัสดุที่เป็นราคากลางของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วจะทำการปรับราคาขึ้นโดยคิดค่าวัสดุ ค่าแรง กำไร ภาษี ค่าดำเนินการเข้าด้วย รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ล.6 รั้วคอนกรีตมีการหักค่าเสื่อม 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าวัสดุเนื่องจากสร้างมานาน 7 ปีแล้วส่วนลานคอนกรีตสร้างมานานเกือบ 3 ปี ไม่มีการหักค่าเสื่อม เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ตามคำเบิกความของนายธีระพลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้กระทำโดยมีหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ส่วนโจทก์ที่ 1 เบิกความลอย ๆ แต่เพียงว่า สำหรับสิ่งปลูกสร้าง90,000 บาทเศษ หากมีการสร้างจริงไม่สามารถสร้างได้ในราคาดังกล่าวจะต้องใช้ค่าใช้จ่าย 200,000 บาทเศษ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างประเมินราคาและแจ้งรายละเอียดการใช้จ่ายมาให้ พยานให้ผู้รับเหมาก่อสร้างหลายรายประเมินราคา แต่ละรายประเมินไว้เกินกว่า 200,000บาท ทั้งนั้น จึงขอเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง 200,000 บาท โดยโจทก์ที่ 1ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสืบสนับสนุนคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว
++ ดังนั้น พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสี่จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1
++ เห็นว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้นั้นเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว
++ เมื่อไม่เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสี่ที่ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ที่ 1 เกินคำขอของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ต่อไป เพราะแม้วินิจฉัยไปก็หาทำให้ผลคำวินิจฉัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
++ อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ใช้ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินโดยไม่ได้กำหนดว่าต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10.75 ต่อปีตามที่โจทก์ที่ 1 ขอด้วยนั้น อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจจะเกินคำขอของโจทก์ที่ 1 ได้ ศาลฎีกาจึงเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวไว้ด้วยเพื่อไม่ให้เกินคำขอของโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7922/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 44 ต้องพิจารณาจากราคาซื้อขายปกติ ณ วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ จากเดิมที่ให้กำหนด โดยถือราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์มาเป็นกำหนดโดยคำนึงถึง มาตรา 21 ทั้งมาตรา คือ ต้องกำหนดโดยเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น และเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) (4) และ (5) มาพิจารณาประกอบกับหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (2) และ (3) ด้วย หาใช่แก้ไขให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยต้องถือเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนในปีที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7539/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเวนคืนที่ชอบด้วยกฎหมายและการไม่มีละเมิดจากการสำรวจเพื่อเวนคืน
โจทก์ไม่ได้ปฏิเสธว่าที่ดินโจทก์ไม่ได้อยู่ในบริเวณที่ดินที่จะเวนคืนและยอมรับในหนังสือร้องเรียนว่าจำเลยที่ 4 กำหนดตำแหน่งที่ดินเวนคืนในที่ดินของโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม ดังนี้ เมื่อพิจารณาเอกสารประกอบกันแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯเมื่อพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยานอีกต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนแม้จะมีผลทำให้ที่ดินของโจทก์บางส่วนถูกเวนคืน แต่ก็เป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจกระทำได้ตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราชฯ ซึ่งใช้บังคับขณะตราพระราชกฤษฎีกาฯและมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ การตราพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้จึงเป็นไปโดยอำนาจแห่งกฎหมายไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดและยังเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามขั้นตอนของกฎหมายโดยชอบแล้วจำเลยที่ 4 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอำนาจให้กระทำหรือควบคุมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงมีสิทธิเข้าไปในที่ดินโจทก์เพื่อทำการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินที่ต้องถูกเวนคืนที่แน่นอน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 56