คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวนคืนที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคา, ดอกเบี้ย, และระยะเวลาชำระค่าทดแทน
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยกำหนด โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขอให้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาตารางวาละ 10,000 บาท เนื้อที่ 81ตารางวา กระทรวงคมนาคมกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 1,500 บาท โจทก์ไม่พอใจผลการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่เป็นธรรม โจทก์ควรได้รับค่าทดแทนที่ดินในราคาซื้อขายในท้องตลาดตารางวาละ 25,000 ถึง 30,000 บาท แต่โจทก์ขอเรียกร้องตารางวาละ 20,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 2,885,625 บาท เมื่อปรากฏว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับแล้ว ดังนั้นการดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7 และมาตรา 9 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ดังกล่าว โจทก์ได้ดำเนินการขอค่าทดแทนที่ดินเพิ่มตามขั้นตอนของมาตรา 25และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นการฟ้องขอค่าทดแทนที่ดินเพิ่มที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสองและวรรคสี่ กำหนดให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่บุคคลตามมาตรา 18 โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ตามมาตรา 25 ให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาได้ และมาตรา 26 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่เพียงกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนเท่านั้น หน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวในการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนจึงมิใช่ดุลพินิจโดยเด็ดขาดของคณะกรรมการฯ รัฐมนตรีหรือศาลซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์หรือฟ้องของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนแล้วแต่กรณีย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนของคณะกรรมการฯ ชอบและเป็นธรรมตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22และมาตรา 24 หรือไม่ หากไม่ชอบหรือไม่เป็นธรรมแล้วก็ย่อมอำนาจเปลี่ยนแปลงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนที่คณะกรรมการฯ กำหนดให้ชอบและเป็นธรรมตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 โดยกำหนดให้ผู้ที่ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากค่าทดแทนที่น้อยกว่าราคาที่เป็นธรรมได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของจำเลยเป็นไปโดยถูกต้องเป็นธรรมตามกฎหมายหรือไม่ โดยไม่ได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มจากค่าทดแทนที่กำหนดหรือไม่ และโจทก์มิได้โต้แย้ง แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า ถ้าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินไม่ถูกต้องจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นอีกจำนวนเท่าใดด้วย ฉะนั้นจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มจากค่าทดแทนที่กำหนดหรือไม่ด้วย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21บัญญัติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ฉะนั้นเมื่อคณะกรรมการปรองดองพิจารณาค่าทดแทนได้กำหนดราคาที่ดินของโจทก์ โดยถือตามราคาจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ใช้อยู่ในขณะที่ประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯเป็นหลัก แล้วนำราคาจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมปีหลังพระราชกฤษฎีกาฯ บังคับใช้มาเฉลี่ยหาราคาในวันประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฯ มาเฉลี่ย จึงไม่ถูกตามที่มาตรา 21อนุมาตรา (1) ถึง (5) กำหนด และข้อนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องถือเอาตามราคาซื้อขายในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ ใช้บังคับ เมื่อพิจารณาสภาพและที่ตั้งที่ดินของโจทก์ประกอบกันด้วยแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวข้างต้นโดยมิได้โต้แย้งว่าราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นราคาที่เป็นธรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน, ราคาลดลง, การชดเชย, ดอกเบี้ย, และสิทธิในการใช้ทาง
การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2531ถึง พ.ศ. 2534 ของกรมที่ดินเป็นเกณฑ์กำหนด โดยกำหนดสูงกว่าราคาที่ดินที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีบำรุงท้องที่ อันเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ก่อนถูกแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ที่ให้นำมาตรา 21(2)(3) มาเป็นเกณฑ์กำหนดก็ตามแต่ก็เป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญญัติดังกล่าว มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งกำหนดราคาเบื้องต้น การจ่ายเงินค่าทดแทนในการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ และโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่14 มกราคม 2534 คดีจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่29 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับ ฉะนั้นการพิจารณาค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวจะต้องนำเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา 21(1)(4) และ (5) มาประกอบการพิจารณาด้วย อำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเพราะเหตุราคาลดลงนี้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสามบัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ครั้งนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่เหลือจากการเวนคืนได้ จำเลยได้สร้างทางจำเป็นกว้าง 4.80 เมตร ให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ซึ่งโจทก์สามารถใช้ทางจำเป็นดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกอยู่แล้ว ที่โจทก์จะขอให้จดทะเบียนเป็นภารจำยอมให้มีความกว้าง 6 เมตรนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไปนั้นเพื่อ วัตถุประสงค์ให้เป็นทางด่วนสาธารณูปโภคและได้มีประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515ข้อ 29 บัญญัติมีใจความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งอื่นเชื่อมต่อทางพิเศษ หากมีการฝ่าฝืน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจรื้อถอนหรือทำลายได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ห้ามเด็ดขาดที่จะมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือน หรือสิ่งอื่นเชื่อมทางพิเศษ ทั้งการได้ภารจำยอมในที่ดินแปลงใดก็ตามต้องได้มาโดยนิติกรรม โดยอายุความ หรือโดยผลกฎหมายที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เท่านั้น เมื่อกรณีของโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่อาจบังคับภารจำยอมให้โจทก์ได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ผู้ได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นจะต้องได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใด ก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราต่อปีคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืน และประกาศคณะปฏิวัติ โดยอ้างอิงราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา2บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปและราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศในวันที่19สิงหาคม2530โจทก์จึงไม่สามารถอ้างเอาหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาเป็นประโยชน์ในการคำนวณเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทได้ที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯพ.ศ.2526ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงนี้ได้บัญญัติในข้อ76(2)ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นใช้บังคับเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯพ.ศ.2517ใช้บังคับวันที่29พฤษภาคม2517ดังนั้นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดจึงต้องถือราคาในวันที่29พฤษภาคม2517 โจทก์เข้าปรับปรุงที่ดินภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯพ.ศ.2517ประกาศใช้แล้วไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้โจทก์จะเรียกร้องค่าปรับปรุงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินต้องเป็นธรรม พิจารณาสภาพที่ตั้งและวัตถุประสงค์การเวนคืน
ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 มาตรา 5ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม มาตรา 5 นี้เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืน แม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตามแต่ตาม พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 6กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น เป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและทื่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์ และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ นั้น ที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใด จึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกา ฯ ใช้บังคับประมาณ 3 เดือน อันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ ดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริง และเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาตามความเป็นธรรมต้องพิจารณาสภาพที่ดินและวัตถุประสงค์การเวนคืน
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุดอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองพ.ศ.2527มาตรา5ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมมาตรา5นี้เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบลถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้างๆราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไปส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522มาตรา6กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วยเมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยไม่ชอบด้วยมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯนั้นที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใดจึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯใช้บังคับประมาณ3เดือนอันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯดังกล่าวซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริงและเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยองจังหวัดระยองพ.ศ.2527มาตรา5ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมมาตรา5นี้เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบลถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้างๆราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไปส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522มาตรา6กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วยเมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยไม่ชอบด้วยมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯนั้นที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใดจึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯใช้บังคับประมาณ3เดือนอันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯดังกล่าวซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริงและเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาตามความเป็นธรรมต้องพิจารณาสภาพที่ตั้งและวัตถุประสงค์การเวนคืน มิใช่ราคาตลาดทั่วไป
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า การเวนคืนที่ดินพิพาททำให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้น ต้องเอาราคาสูงขึ้นนั้นมาหักกับค่าทดแทนที่ดินพิพาท ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว เท่ากับโจทก์ได้รับประโยชน์จากการเวนคืนมากกว่าราคาซื้อในครั้งแรกถึง 6 เท่าตัว จึงไม่มีเหตุจะได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 มาตรา 5ให้นิคมอุตสาหกรรมจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวคือวันที่ 10 ธันวาคม 2525ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อำเภอเมืองระยอง ในปี 2525 ถึง 2527 ซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนน และทะเลเป็นหลักในการประเมินราคาเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาที่ดินดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป การพิจารณาสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่จะถูกเวนคืนต้องพิจารณาถึงสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่เป็นอยู่จริงในแต่ละแปลง มิใช่พิจารณาแต่เพียงว่าที่ตั้งของที่ดินอยู่ในตำบลใด ห่างจากถนนหรือทะเล ตรงตามบัญชีกำหนดราคาที่ดิน ฯ ในหน่วยใดก็กำหนดให้ตามนั้น ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนภายในประเทศมากขึ้นก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 มาตรา 6 กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย จำเลยย่อมได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย ดังนั้นเมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ จึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ฯแสดงให้เห็นว่าจำเลยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์ และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยวิธีการของจำเลยในการกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.เวนคืน ฯ มาตรา 5 ดังกล่าวข้างต้น
ราคาที่ดินที่เคยซื้อขายกันดังที่โจทก์นำสืบมา บางแปลงอยู่ต่างตำบลและต่างอำเภอกับที่ดินพิพาท โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าที่ดินดังกล่าวแปลงใดอยู่ห่างที่ดินพิพาทระยะทางเท่าใด สภาพและที่ตั้งของที่ดินดังกล่าวแปลงใดมีสภาพและที่ตั้งเหมือนหรือคล้ายคลึงกับที่ดินพิพาทแปลงไหนบ้าง จึงไม่อาจนำเอาราคาซื้อขายของที่ดินดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์เพื่อเปรียบเทียบกับที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6952/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ vs. พ.ร.บ.เวนคืนฯ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตดุสิต เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2527 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 การกำหนดค่าทดแทนที่ดินจึงต้องเป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว ข้อ 76 คือต้องกำหนดเท่ากับราคาซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ พ.ศ.2517 ใช้บังคับ จะกำหนดตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังที่จำเลยกำหนดให้โจทก์หาได้ไม่
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เป็นเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530แต่การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ซึ่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 หาได้กล่าวถึงหรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมไม่ จึงจะนำประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินต้องเป็นธรรม พิจารณาสภาพที่ดิน, ที่ตั้ง, และประโยชน์ที่ได้รับ
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยองจังหวัดระยอง พ.ศ. 2527 มาตรา 5 บัญญัติ ให้จำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ โดยนอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย และตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 6 กำหนดให้จำเลยมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย จำเลยย่อมได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย เมื่อจำเลยได้รับที่ดินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้ค่าทดแทนราคาให้แก่โจทก์ตามราคาของ ที่ดินของโจทก์ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ จึงถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม ที่ดินพิพาทของโจทก์ด้านหนึ่งติดทะเล อีกด้านหนึ่งติดถนนซอยสาธารณะ โจทก์ได้ปรับปรุงที่ดินทั้งแปลงให้มีสภาพที่ดีขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยทั้งที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา ไม่มากจนถึงกับมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดราคาให้แตกต่างกันเป็นส่วน ๆ ลดหลั่นลงไปตามหน่วยที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอำเภอเมืองระยอง ปี 2525-2527 การกำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลงเท่ากับราคาที่กำหนดไว้ตามบัญชีกำหนดราคา ฯ ในส่วนที่ดินนอกเขตสุขาภิบาลฝั่งทิศใต้ถนนสุขุมวิท บริเวณชายทะเลห่างจากทะเลหรือถนนริมทะเลรัศมี 100 เมตร จึงชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุดอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2527

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่ดินต้องเป็นราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนอยู่ในเขตทางหลวงเทศบาลที่จะต้องถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524เท่านั้น ไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรืออาศัยพระราชบัญญัติดังกล่าวและเมื่อกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มอบอำนาจให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีอำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงตลอดจนดำเนินการเจรจาทำความตกลงเรื่องเงินค่าทดแทนแล้ว หากโจทก์เห็นว่าจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์ทั้งสองได้รับมีจำนวนน้อยไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรม โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ออกมาบังคับใช้แทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 เนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 จะหมดอายุใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องกำหนดเท่ากับราคาขายที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาข้างต้นใช้บังคับ โดยเป็นไปตามความในข้อ 76 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองโดยถือตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นราคาคงที่อยู่ตลอดเวลาที่ยังคงใช้บัญชีดังกล่าวจึงมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ที่ดินของโจทก์ที่ 1อีกสองแปลงซึ่งติดอยู่กับที่ดินพิพาทซึ่งก็ถูกกำหนดให้อยู่ในเขตทางหลวง โดยสองแปลงหลังนี้ได้รับค่าทดแทนเป็นเงินตารางวาละ6,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงควรได้รับค่าทดแทนที่ดินพิพาทในอัตราเท่ากันจึงจะเป็นค่าทดแทนที่สมควร
of 12