พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของเวลาในฟ้องคดีลักทรัพย์: 18.00 น. เพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์ เมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน 2490 เวลา 18.00 น.ขอให้ลงโทษตามมาตรา 294กฎหมายลักษณะอาญา โดยไม่ได้ระบุว่า เป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน ดังนี้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์
เวลา 18.00 น. อาจเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็ได้
เวลา 18.00 น. อาจเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกเกิดขึ้นเมื่อใด: ทายาทต้องมีสิทธิในขณะเจ้ามรดกตาย
เจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันที บุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทและมีสิทธิรับมรดกของบุคคลใด นอกจากจะต้องมีสภาพหรือสามารถมีสิทธิตาม มาตรา1604 แล้วยังต้องมีสิทธิที่จะรับมรดกในขณะที่เจ้ามรดกตายด้วย บุตรในกรณีที่มีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นมีผลนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ถ้าในขณะที่คำพิพากษาถึงที่สุดนั้น เป็นเวลาภายหลังเจ้ามรดกตายแล้ว และไม่มีมรดกจะรับก็ไม่มีทางจะให้เด็กนั้นได้รับมรดกได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกของบิดาโดยอ้างข้อที่ศาลพิพากษา ว่าเป็นบุตรเท่านั้น ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าเมื่อก่อนบิดาตาย บิดาได้รับรองโจทก์ว่าเป็นบุตร อันจะทำให้มีสิทธิรับมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 หรือไม่ คงมีประเด็นข้อเถียงว่าคำสั่งของศาลที่แสดงไว้นั้น จะมีผลแก่โจทก์ในทางรับมรดกอย่างไรหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกของบิดาโดยอ้างข้อที่ศาลพิพากษา ว่าเป็นบุตรเท่านั้น ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าเมื่อก่อนบิดาตาย บิดาได้รับรองโจทก์ว่าเป็นบุตร อันจะทำให้มีสิทธิรับมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 หรือไม่ คงมีประเด็นข้อเถียงว่าคำสั่งของศาลที่แสดงไว้นั้น จะมีผลแก่โจทก์ในทางรับมรดกอย่างไรหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของเวลาในฟ้องคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์: การระบุช่วงเวลาหลายวันถือว่าเพียงพอ
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์นั้น โจทก์ฟ้องระบุวันที่จำเลยรับมอบทรัพย์และระบุวันที่จำเลยยักยอกทรัพย์ระหว่าง 6 วัน แม้จะไม่ได้ระบุเวลากลางวันหรือกลางคืน ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า หมายถึงทั้งเวลากลางวันและเวลากลางคืนในระหว่าง 6 วันที่ระบุมาในฟ้องนั้น จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีอาญาในประเด็นเวลา หากจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลอนุญาตได้ตามกฎหมาย
โจทก์ขอแก้วันที่กล่าวหาว่า จำเลยกระทำผิดซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158ในขณะที่สืบพยานโจทก์ปากแรกนั้น ถ้าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ประการใดแล้วศาลก็อนุญาตให้แก้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุเวลาในข้อกล่าวหาลักทรัพย์ ความพอเพียงของรายละเอียดฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์ระหว่าง 2 วัน เวลาไม่ปรากฏแม้พยานให้การในชั้นสอบสวนและในชั้นศาล ถึงวันเวลากระทำผิดชัดเจน ก็คงถือว่าฟ้องของโจทก์ระบุรายละเอียดพอควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีอาญา: เวลาและสถานที่เกิดเหตุเป็นรายละเอียดที่แก้ไขได้
เวลาและสถานที่เกิดเหตุถือว่าเป็นรายละเอียดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และ 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฟ้องผิดวันเนื่องจากเวลาเกิดเหตุไม่ตรงกับที่ระบุในฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดเมื่อวันที่ 6 เวลากลางคืนติดต่อกับเวลากลางวันตอนเช้ามืด ทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิด05.00 น.เศษของวันที่ 6 ดังนี้ ถือว่าไม่เป็นฟ้องผิดวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลา 'กลางคืน' ทางกฎหมาย: พิจารณาจากดวงอาทิตย์ขึ้น/ตก ไม่ใช่แค่มีแสงสว่าง
เวลาเกิดเหตุมีแสงอาทิจแล้วแต่ดวงอาทิจยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้งดังนี้ ถือว่าเปนเวลากลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานนอกกรอบเวลา ศาลมีดุลพินิจอนุญาตได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทยื่นบัญชีระบุพยานไนวันนัดพิจารนาซึ่งเปนการฝ่าฝืนตามประมวนกดหมายวิธีพิจารนาความแพ่ง ม.88, 90 ถ้าเปนไนกรีนีที่สาลเห็นมีเหตุผลอันสมควนและเพื่อประโยชน์แห่งความยุตติธัม สาลย่อมมีอำนาดรับบัญชีระบุพยานได้ตามมาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องอาญา: การระบุเวลาและความสอดคล้องกับคำขอท้ายฟ้อง
ฟ้องต้องระบุวันเดือนและเวลา แต่ถ้าไม่ปรากฎเวลาก็ต้องระบุไว้ การที่ระบุเวลากลางวันหรือกลางคืน แต่ตามคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 288 ซึ่งเป็นมาตราที่ลงโทษผู้กระทำผิดในเวลากลางวันนั้น เป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องซึ่งศาลควรสั่งให้โจทก์แก้เสีย ให้ถูกต้องได้ ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161