พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีเครื่องหมายการค้า แม้ศาลอุทธรณ์แก้ไขบทลงโทษ แต่ยังคงคำสั่งริบของกลางไว้ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 115และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกในส่วนที่ศาลชั้นต้นบังคับจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 และริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 เสีย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องโดยมิได้พิพากษาให้ยกการริบของกลาง และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 115 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 อยู่เนื่องจากเสื้อและกางเกงที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางเป็นสินค้าที่จำเลยมีไว้จำหน่ายอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และป้ายยี่ห้อกับริบบิ้นของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำขอให้เรื่องการริบของกลางของกลางคดีนี้จึงยังเป็นของกลางที่ศาลสั่งริบอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7436/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์, ความรับผิดจากการขนส่ง, การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ย
ภาระการพิสูจน์ของคู่ความต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและหากชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดภาระการพิสูจน์ผิดพลาดไป ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้
โจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปตามคำสั่งศาลชั้นต้นจนสิ้นกระแสความ และศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยพยานโจทก์จำเลยไปตามที่คู่ความได้นำสืบโดยฟังว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลย แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่า ความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดตามสภาพแห่งของนั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยต้องเปลี่ยนแปลงไป เพราะปัญหาดังกล่าวไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า รถเทรลเลอร์ที่ขนตู้คอนเทนเนอร์ตามฟ้องของโจทก์เป็นรถของบริษัท ท. รายละเอียดและพยานหลักฐาน จำเลยที่ 2จะได้นำเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไป คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวหาได้มีข้อต่อสู้ที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าสินค้าอาจเสียหายก่อนที่จำเลยจะได้รับจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยและความรับผิดของจำเลยสิ้นสุดลงเมื่อสินค้าถูกส่งขึ้นรถเทรลเลอร์แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
เมื่อปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าเสียหายไป แต่กลับพิพากษาให้ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปตามคำสั่งศาลชั้นต้นจนสิ้นกระแสความ และศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยพยานโจทก์จำเลยไปตามที่คู่ความได้นำสืบโดยฟังว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลย แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่า ความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดตามสภาพแห่งของนั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยต้องเปลี่ยนแปลงไป เพราะปัญหาดังกล่าวไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า รถเทรลเลอร์ที่ขนตู้คอนเทนเนอร์ตามฟ้องของโจทก์เป็นรถของบริษัท ท. รายละเอียดและพยานหลักฐาน จำเลยที่ 2จะได้นำเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไป คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวหาได้มีข้อต่อสู้ที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าสินค้าอาจเสียหายก่อนที่จำเลยจะได้รับจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยและความรับผิดของจำเลยสิ้นสุดลงเมื่อสินค้าถูกส่งขึ้นรถเทรลเลอร์แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
เมื่อปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าเสียหายไป แต่กลับพิพากษาให้ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6841/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความแก้ไขคำพิพากษาเดิม โจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าฤชาธรรมเนียม
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยยอมชำระเงินจำนวน 3,000,000 บาท แก่โจทก์และโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดนอกจากนี้อีก และโจทก์จำเลยยอมให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาเป็นพับ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลฎีกาและเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวแก่โจทก์และไม่ต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อใช้แทนโจทก์เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาผิดประเด็นอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้คำพิพากษาเพื่อความถูกต้องและสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดพิพาทเฉพาะส่วนเนื้อที่ประมาณ 3 งาน 82 ตารางวา ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนที่ผู้คัดค้านครอบครองอยู่เนื้อที่ 1 งาน 63 ตารางวาส่วนผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ ดังนี้ประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียงตามคำขอในฟ้องอุทธรณ์ของผู้คัดค้านคือที่ดินซึ่งมีเนื้อที่เพียง 1 งาน 63 ตารางวา การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องขอเสียทั้งหมด จึงเป็นการไม่ถูกต้องมีผลเท่ากับเป็นการพิพากษายกคำร้องขอเกี่ยวกับที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 2 งาน 19 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 1382 ซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องด้วย เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก่เสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์ และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด
โจทก์และบริวารเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 อย่างปรปักษ์นานเกินกว่า 10 ปี แม้ที่ดินของโจทก์ด้านหนึ่งจะติดกับทางสาธารณะอยู่แล้วก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่โจทก์จะได้สิทธิในทางภาระจำยอมผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
ศาลล่างพิพากษากำหนดแนวของทางภาระจำยอมผิดพลาดโดยกำหนดแนวของทางอยู่นอกเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเลยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินข้างเคียง ทั้งที่ได้วินิจฉัยในคำพิพากษาแล้วว่าทางอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 และมีความกว้าง 2 ศอก กรณีถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยมีผลทำให้คำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
ศาลล่างพิพากษากำหนดแนวของทางภาระจำยอมผิดพลาดโดยกำหนดแนวของทางอยู่นอกเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเลยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินข้างเคียง ทั้งที่ได้วินิจฉัยในคำพิพากษาแล้วว่าทางอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 และมีความกว้าง 2 ศอก กรณีถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยมีผลทำให้คำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4372/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทบัญญัติศุลกากรที่ถูกต้อง และการแก้ไขคำพิพากษาให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินบนรางวัล
การที่จำเลยที่ 2 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางจากผู้นำเข้าจากต่างประเทศโดยยังมิได้เสียค่าภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ อันเป็นความผิดสำเร็จในตัวอยู่แล้วต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2 กับพวกนำเลื่อยยนต์ของกลางไปบุกรุกแผ้วถางป่าโดยมิได้รับอนุญาตย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54,72 ตรี วรรคหนึ่ง,74,74 ทวิ อีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นความผิด 2 กรรม แต่ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 66,768 บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา 27 ทวิ เป็นการปรับเป็นเงิน 4 เท่า โดยรวมค่าอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละเจ็ดเข้าไปด้วยซึ่งไม่ถูกต้องเพราะตามกฎหมายให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยนั้น หมายถึง ค่าอากรตามกฎหมายภาษีศุลกากร หาได้หมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยแก้เป็นปรับ 63,128 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่มีข้อผิดหลงเล็กน้อย: อำนาจศาลฎีกาและข้อยกเว้นการยื่นคำร้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดในค่าซ่อมรถให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 100,000 บาท และรับผิดในค่าเสื่อมราคาและในค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 รวมจำนวน121,500 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในค่าซ่อมรถจำนวน100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาและค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้ารวมจำนวน30,000 บาท แล้ว แต่ในคำพิพากษากลับระบุให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินจำนวน100,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และชำระเงินจำนวน 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ ย่อมเป็นการผิดหลงไปเล็กน้อย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวจำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกเช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา(ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวจำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกเช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา(ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่มีข้อผิดหลงเล็กน้อย และอำนาจของศาลฎีกาในการแก้ไข
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดในค่าซ่อมรถให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 100,000 บาท และรับผิดในค่าเสื่อมราคาและในค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 รวมจำนวน 121,500 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในค่าซ่อมรถจำนวน 100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาและค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้ารวมจำนวน 30,000 บาท แล้ว แต่ในคำพิพากษากลับระบุให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และชำระเงินจำนวน 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ ย่อมเป็นการผิดหลงไปเล็กน้อยชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่มีข้อผิดหลงเล็กน้อย และการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายที่ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดในค่าซ่อมรถให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 100,000 บาท และรับผิดในค่าเสื่อมราคาและในค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 รวมจำนวน 121,500 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในค่าซ่อมรถจำนวน 100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาและค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้ารวมจำนวน 30,000 บาท แล้ว แต่ในคำพิพากษากลับระบุให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และชำระเงินจำนวน 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ ย่อมเป็นการผิดหลงไปเล็กน้อยชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุแยกกันอยู่เกิน 3 ปี และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
โจทก์จำเลยได้แยกกันอยู่โดยมิได้อยู่กินฉันสามีภรรยาตั้งแต่พ.ศ.2531 ระหว่างที่โจทก์แยกไปนั้นจำเลยเองก็ทราบดีว่าโจทก์ไปพักอยู่ที่ใดแต่จำเลยก็มิได้ขวนขวายที่จะไปอยู่กินฉันสามีภรรยา โดยต่างคนต่างอยู่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลานานถึง 6 ปี ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้
คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งคือวันที่ 5 เมษายน 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลยเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องคือวันที่ 14 มกราคม 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่จำเลยฟ้องแย้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งคือวันที่ 5 เมษายน 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลยเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องคือวันที่ 14 มกราคม 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่จำเลยฟ้องแย้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง