คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชนเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษโดยไม่เพิ่มโทษจำคุก
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี 6 เดือนศาลอุทธรณ์เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยัง สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี มิได้เป็นการลงโทษ จำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปี ทั้งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง และตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 124 ประกอบมาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายต่อเนื่อง: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจากความผิดหลายกรรมเป็นกรรมเดียว
การที่จำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งสองเพราะมีสาเหตุโกรธเคืองเนื่องจากโต้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงโดยจำเลยเป็นช่างไม่ได้รับค่าแรงน้อยกว่าผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นช่างทาสี แล้วจำเลยได้ใช้ขวานฟันผู้เสียหายทั้งสองในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกันการที่จะทำร้ายใครก่อนหลังย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะไม่สามารถใช้ขวานฟันผู้เสียหายทั้งสองคนพร้อมกันทีเดียวได้ แต่จำเลยประสงค์จะทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในคราวเดียวกัน แม้จะมีการกระทำหลายหนและต่อบุคคลหลายคนก็อยู่ภายในเจตนาอันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเพื่อขอใบแทนโฉนดที่ดิน ศาลฎีกาแก้ไขโทษเป็นกรรมเดียว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าได้ทำโฉนดที่ดินของจำเลยรวม 3 ฉบับสูญหายไป ซึ่งความจริงแล้วโฉนดที่ดินทั้งสามฉบับไม่ได้สูญหายไป และแจ้งให้พนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เจตนาของจำเลยก็เพื่อนำเอกสารรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวไปใช้และแสดงอ้างอิงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน กับแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าโฉนดที่ดิน 3 ฉบับสูญหายไปเพื่อขอรับใบแทนโฉนดที่ดินทั้งสามฉบับ การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการกระทำคนละวันและต่อเจ้าพนักงานคนละหน่วยงานกันแต่เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันคือเจตนาเพื่อขอรับโฉนดที่ดินทั้งสามฉบับนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับในคดีศุลกากร และการลดโทษจำคุกเป็นรายกระทงตามกฎหมายอาญา
การลงโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้นั้นค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย และเนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นกรณีจำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกัน เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว อันถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 225
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารมอบอำนาจเพื่อขายฝากที่ดิน ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานใช้เอกสารปลอมโดยอ้างอิงโทษในความผิดฐานปลอมเอกสาร
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 เข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 แล้ว จึงต้องนำโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 264 มาใช้เป็นโทษของมาตรา 268 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ระบุมาตรา 264 มาด้วยเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้เสียใหม่ให้ถูกต้องได้ แม้ว่าโจทก์จะมิได้ระบุมาตรา 264 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ด้วยความรุนแรงและการแก้ไขโทษฐานพาอาวุธ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ โดยมีจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้าย แล้วแซงเข้าประกบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายสุดใช้เท้าถีบหน้าอกผู้เสียหายรถเสียหลักล้มลง ผู้เสียหายถูกรถจักรยานยนต์ล้มทับขาได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ 1 หยุดรถ จำเลยที่ 3 ลงจากรถถือมีดปลายแหลมเดินเข้าไปหาผู้เสียหายแล้วกระชากเอาสร้อยคอทองคำที่ผู้เสียหายสวมใส่อยู่ขาดติดมือไปได้บางส่วน หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รออยู่หลบหนีไปด้วยกัน เมื่อจำเลยที่ 3 มีอาวุธมีดติดตัวไปด้วยในการปล้นทรัพย์จำเลยทั้งสามจึงต้องมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง และลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 340 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี, 83 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดโทษจำคุกคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้อยู่ในกรอบมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 12 บัญญัติว่า "การกำหนดโทษจำคุกที่จะลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ให้กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงที่สุดได้ไม่เกินห้าสิบปี"ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 และกำหนดโทษจำคุก 66 ปี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 12 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดขับรถประมาทและไม่ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นคนละกรรม ศาลแก้ไขโทษปรับบท
ความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายกับความผิดฐานก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่ให้ความช่วยเหลือ มีลักษณะการกระทำที่แตกต่างกันและความผิดฐานหลังเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากที่กระทำความผิดฐานแรกสำเร็จไปแล้วจึงเป็นความผิดสองกรรม
จำเลยกระทำความผิดฐานใช้ทางเดินรถที่จัดแบ่งเป็นช่องไม่ถูกต้อง และฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่นอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 34,43(8),151,160 วรรคสาม เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 34 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทมาตรา 33 อันเป็นบททั่วไปซึ่งเป็นความผิดกรณีใช้ทางเดินรถทั่วไปที่มิได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5805/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ศาลแก้ไขโทษปรับรายวันให้ตรงกับคำฟ้อง
การก่อสร้างอาคารต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากทางราชการหรือดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 39 ทวิก่อน แต่จำเลยกลับทำการก่อสร้างไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นการก่อสร้างของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดโดยเจตนา แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำขออนุญาตก่อสร้าง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยก่อนหน้านั้นไม่เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพียง 120 วัน ทั้งฟ้องว่าระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539(รวมเวลา 129 วัน)จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นการที่ศาลลงโทษปรับจำเลยรายวันตลอดมาจนถึงวันฟ้องและหลังจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องนั้น จึงไม่ชอบเพราะเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าวเพียงถึงวันที่ 2ตุลาคม 2539 แสดงว่าหลังจากวันนั้นจำเลยอาจมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว การลงโทษปรับจำเลยหลังจากนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อันเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และมาตรา 40 บัญญัติว่าในกรณีที่มีการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและพิจารณาสั่งตาม มาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี การสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 หมายถึงการสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและหากเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอน จึงไม่ต้องพิจารณาว่ากรณีเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แต่จำเลยยังคงก่อสร้างต่อไป จึงมีความผิดตามมาตรา 40(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5681/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นการแก้ไขเล็กน้อยโทษและข้อหาตรงกันกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานผลิตและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่าย เมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 65 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ฐานผลิตและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษฐานผลิตซึ่งมีโทษ หนักที่สุด ให้จำคุกตลอดชีวิต ลงโทษฐานจำหน่าย จำคุก 5 ปี ลดโทษหนึ่งในสามแล้ว ฐานผลิตเมทแอมเฟตามีน จำคุก 33 ปี 4 เดือน ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 3 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีน แต่มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เช่นนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดทั้งสองข้อหาตรงกันกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและ ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษในความผิดฐานนี้ ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงมีการแก้ไขเฉพาะโทษซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น ความผิดทั้งสองฐานศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี จึงเป็นคดีต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่าไม่ได้กระทำผิดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
of 48