พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุกรุกและแจ้งความเท็จ: จำเลยเข้าครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยมิชอบ ยื่นคำขอครอบครองเท็จ ทำให้เจ้าหน้าที่ออกเอกสารสิทธิที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยทราบดีว่าที่ดินพิพาทและทรัพย์สินอื่นที่เป็นของผู้เสียหายแต่อ้างว่าซื้อมาจากธ. ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของเป็นการกล่าวอ้างลอยๆไม่มีพยานสนับสนุนและมิได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างจริงจังอันเป็นการผิดปกติวิสัยและที่จำเลยอ้างว่าผู้เสียหายทิ้งร้างไว้ไม่ได้ทำประโยชน์จำเลยจึงเข้ายึดถือครอบครองทำนากุ้งนั้นก็ได้ความว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ถึง247ไร่เศษมีราคาประเมินถึง14ล้านบาทถ้าเป็นราคาซื้อขายทั่วๆไปจะตกราคาไร่ละ2ล้านที่ดินพิพาทจึงมีราคาซื้อขายเกือบ500ล้านบาทอันมิใช่เล็กน้อยมีถนนสุขุมวิทเข้าสู่ที่ดินพิพาทมีรั้วลวดหนามล้อม3ด้านด้านติดทะเลมีเขื่อนคอนกรีตภายในมีสำนักงานและอาคารเก็บรักษาทรัพย์เจ้าของทรัพย์เป็นรัฐบาลต่างประเทศให้สถานเอกอัครราชทูตของตนดูแลโดยสถานะของเจ้าของและสภาพของทรัพย์ดังกล่าวเพียงพอที่จะฟังได้ว่าผู้เสียหายยังครอบครองอยู่ไม่ได้ทิ้งร้างดังจำเลยอ้างพ. ซึ่งเป็นผู้ดูแลที่ดินและทรัพย์สินของผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินแต่จำเลยไม่ยอมกลับพาพวกใช้อาวุธปืนขู่เข็ญให้พ. ออกไปจากที่ดินต่อมาอ. นายอำเภอซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้เสียหายให้จำเลยออกจำเลยไม่ยอมกลับอ้างสิทธิครอบครองเหตุดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาบังอาจของจำเลยได้เมื่อจำเลยกระทำไปโดยเจตนาก็ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา362และ364 การที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทและทรัพย์สินอื่นเป็นของผู้เสียหายผู้เสียหายยังครอบครองมิได้ทิ้งร้างแต่จำเลยยังขืนไปยื่นคำขอต่อทางราชการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1367ผู้เสียหายคัดค้านไม่ยอมให้เข้าไปในที่ดินจึงไม่สามารถรังวัดตรวจสอบได้จำเลยได้ให้ถ้อยคำยืนยันตามคำขอซึ่งเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ได้บันทึกข้อความไว้ในบันทึกถ้อยคำ(ท.ด.16)อันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีสาระสำคัญว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้เสียหายผู้เสียหายทิ้งร้างไว้ไม่ได้ทำประโยชน์จำเลยเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์มานานขอให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิได้มาโดยการครอบครองอันเป็นเท็จซึ่งจำเลยมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการที่จำเลยจะได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเพื่อออกบัตรประชาชนให้ผู้อื่น เป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกคำให้การรับรองผู้ขอมีบัตรสำหรับเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ บันทึกคำให้การผู้ขอมีบัตรคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ อันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคลเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526มาตรา 14 อันเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประชาชนให้เท่านั้น จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแจ้งความเท็จ - ความเชื่อโดยสุจริต - พยานหลักฐานสนับสนุน - ยกฟ้อง
โจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าจำเลยที่2และที่5รู้อยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่1มิได้ชื่อ ป. และมิได้เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งมีชื่อ ป. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามโฉนดทั้งโฉนดที่ดินดังกล่าวมิได้สูญหายไปแล้วยังแจ้งข้อความเท็จดังกล่าวให้ ฉ. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่รับเรื่องราวคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินจดลงไว้ในบันทึกถ้อยคำในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแทน ป. จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่5เจตนาแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การทำร้ายร่างกายและการแจ้งความเท็จ ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 150 วรรคสาม
จำเลยซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานทำร้ายผู้ตายแล้วไปแจ้งความว่าผู้ตายบุกรุก เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาล โดยขณะที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายนั้นผู้ตายมิได้เป็นผู้ต้องหาในข้อหาบุกรุก และมิได้อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน แม้ผู้ตายจะถึงแก่ความตายในระหว่างที่เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลก็ไม่ใช่กรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จึงไม่ใช่กรณีที่ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จและเจ้าพนักงาน เนื่องจากไม่มีฐานะเป็นข้าราชการ และข้อเท็จจริงไม่ตรงตามฟ้อง
ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2532 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ไม่ใช่ผู้เช่าแผงค้าตลาดมีนบุรีของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ยังคงวางสินค้าที่แผงค้าตลาดมีนบุรีที่เคยเช่า และแผงค้าอื่นที่ไม่เคยเช่า รวมทั้งทางเดินในตลาดมีนบุรีด้วย จึงทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเมื่อการเช่าสิ้นสุดลงแล้ว แต่โจทก์ยังวางสินค้าอยู่ และจำเลยที่ 2 แจ้งให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมโจทก์จึงเป็นผู้บุกรุกและได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ข้อความที่จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่ 2 ไปพบเห็นมา จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่ 3 แจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย หลังจากจำเลยที่ 3 ได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ แม้ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยที่ 3 แจ้งนั้นเป็นความเท็จ เมื่อข้อความที่จำเลยที่ 3 ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 แจ้งนั้นเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นผู้พบการกระทำความผิดของโจทก์ในข้อหาบุกรุกและได้ยื่นเรื่องราวต่อจำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นตัวการ แต่เป็นเพียงผู้สนับสนุน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย
จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของสำนักงานตลาด กรุงเทพ-มหานคร ซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2527 ข้อ 4 และข้อ 6 กำหนดให้ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2529 จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งป.อ.ภาค 2 ว่าด้วยความผิดลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด 2ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
การที่ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้าได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริง เพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้น ทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วยเมื่อในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 มาตรา 11 ได้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นผู้พบการกระทำความผิดของโจทก์ในข้อหาบุกรุกและได้ยื่นเรื่องราวต่อจำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นตัวการ แต่เป็นเพียงผู้สนับสนุน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย
จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของสำนักงานตลาด กรุงเทพ-มหานคร ซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2527 ข้อ 4 และข้อ 6 กำหนดให้ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2529 จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งป.อ.ภาค 2 ว่าด้วยความผิดลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด 2ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
การที่ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้าได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริง เพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้น ทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วยเมื่อในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 มาตรา 11 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ: ข้อเท็จจริงต้องสอดคล้องและสถานะต้องเป็นเจ้าพนักงานจริง
ข้อความที่จำเลยที่3แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่2ไปพบเห็นมาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่3แจ้งข้อความตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่3แจ้งหรือไม่ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายจึงไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ พนักงานของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157 ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้นั้นต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริงเพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้นทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ: ข้อเท็จจริงไม่สนับสนุนความผิด, จำเลยไม่เป็นข้าราชการ
ตั้งแต่วันที่23มีนาคม2532ถึงวันที่6ตุลาคม2532โจทก์ไม่ใช่ผู้เช่าแผงค้าตลาดมีนบุรีของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครแต่โจทก์ยังคงวางสินค้าที่แผงค้าตลาดมีนบุรีที่เคยเช่าและแผงค้าอื่นที่ไม่เคยเช่ารวมทั้งทางเดินในตลาดมีนบุรีด้วยจึงทำให้จำเลยที่1เข้าใจว่าเมื่อการเช่าสิ้นสุดลงแล้วแต่โจทก์ยังวางสินค้าอยู่และจำเลยที่2แจ้งให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมโจทก์จึงเป็นผู้บุกรุกและได้มอบอำนาจให้จำเลยที่3ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนข้อความที่จำเลยที่3ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่2ไปพบเห็นมาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่3แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่3แจ้งหรือไม่ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหลายถึงแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายหลังจากจำเลยที่3ได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีแก่โจทก์แม้ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยที่3แจ้งนั้นเป็นความเท็จเมื่อข้อความที่จำเลยที3ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่1แจ้งนั้นเป็นความจริงจำเลยที่1ที่3จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่2ว่าจำเลยที่2อ้างว่าเป็นผู้พบการกระทำความผิดของโจทก์ในข้อหาบุกรุกและได้ยื่นเรื่องราวต่อจำเลยที่1ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่2จึงมิใช่ให้ลงโทษจำเลยที่2ฐานเป็นตัวการแต่เป็นเพียงผู้สนับสนุนเมื่อจำเลยที่1และที่3ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จจำเลยที่2ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตราดกรุงเทพมหานครพ.ศ.2527ข้อ4และข้อ6กำหนดให้ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องวิธีการงบประมาณพ.ศ.2529จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายอาญาภาค2ว่าด้วยความผิดลักษณะ2ความผิดเกี่ยวกับการปกครองหมวด2ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การที่ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริงเพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้นทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วยเมื่อในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1ที่2และที่3ได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157ตามที่โจทก์ฟ้องจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502มาตรา11ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-ปลอมแปลงเอกสารราชการ-ใช้เอกสารปลอมเพื่อออกโฉนดที่ดิน
การที่จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า น.ส. 3 ก.เลขที่ 2076 ของจำเลยที่เก็บไว้ที่บ้านสูญหายไป จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าข้อความที่แจ้งเป็นความเท็จการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งให้พนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมาย-อาญา มาตรา 267
จำเลยได้ทำนิติกรรมขายที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 2076ไปแล้ว น.ส.3 ก. เลขที่ดังกล่าวจึงมิได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย แต่จำเลยกลับให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่นั้น และรับรองว่าจำเลยมิได้ทำนิติกรรมหรือมีภาระติดพันอื่นใดเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ตามใบไต่สวนซึ่งเป็นเอกสารราชการ และให้ถ้อยคำตามเอกสารซึ่งเป็นเอกสารราชการว่า น.ส.3 ก. เลขที่ดังกล่าวเก็บไว้ที่บ้านสูญหายไปการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
จำเลยนำภาพถ่ายสำเนา น.ส. 3 ก. เลขที่ 2076 มาแก้ไขโดยการเพิ่มเติมตัดทอนข้อความ และแก้รูปแผนที่ที่ดินให้ผิดไปจากความจริง แล้วจำเลยได้ถ่ายภาพสำเนาดังกล่าวเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจว่าเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเป็นภาพถ่ายสำเนาที่แท้จริงที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และเมื่อจำเลยได้นำภาพถ่ายสำเนาที่จำเลยทำขึ้นไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกโฉนดที่ดิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
จำเลยได้ทำนิติกรรมขายที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 2076ไปแล้ว น.ส.3 ก. เลขที่ดังกล่าวจึงมิได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย แต่จำเลยกลับให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่นั้น และรับรองว่าจำเลยมิได้ทำนิติกรรมหรือมีภาระติดพันอื่นใดเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ตามใบไต่สวนซึ่งเป็นเอกสารราชการ และให้ถ้อยคำตามเอกสารซึ่งเป็นเอกสารราชการว่า น.ส.3 ก. เลขที่ดังกล่าวเก็บไว้ที่บ้านสูญหายไปการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
จำเลยนำภาพถ่ายสำเนา น.ส. 3 ก. เลขที่ 2076 มาแก้ไขโดยการเพิ่มเติมตัดทอนข้อความ และแก้รูปแผนที่ที่ดินให้ผิดไปจากความจริง แล้วจำเลยได้ถ่ายภาพสำเนาดังกล่าวเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจว่าเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเป็นภาพถ่ายสำเนาที่แท้จริงที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และเมื่อจำเลยได้นำภาพถ่ายสำเนาที่จำเลยทำขึ้นไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกโฉนดที่ดิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-ปลอมแปลงเอกสารราชการ-ใช้เอกสารปลอม เพื่อออกโฉนดที่ดิน
การที่จำเลยไปแจ้งความต่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานว่าน.ส.3 ก. ของจำเลยและเก็บไว้ที่บ้านสูญหายไป ขอให้ ส.ลงบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพื่อขอคัดสำเนารายงานดังกล่าวไปขอออก น.ส.3 ก. ส. หลงเชื่อจึงสั่งการให้ ม. เขียนสมุดรายงานประจำวันบันทึกข้อความตามที่จำเลยแจ้ง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าข้อความที่แจ้งเป็นเท็จ เป็นความผิดฐานแจ้งให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จำเลยนำสำเนาน.ส.3 ก มาแก้ไขโดยการเพิ่มเติม ตัดทอนข้อความและแก้รูปแผนที่ที่ดินให้ผิดไปจากความจริง แล้วจำเลยได้ถ่ายภาพสำเนา น.ส.3 ก. ที่มีการแก้ไขแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยทำขึ้นนั้น เป็นภาพถ่ายสำเนาน.ส.3 ก. ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ ได้ความจากคำเบิกความของ ก. และ ณ. พยานโจทก์ว่าจำเลยนำเอกสารที่จำเลยทำปลอมขึ้นไปแสดงต่อบุคคลทั้งสองเพื่อให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7054/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและการแจ้งความเท็จ: ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ
จำเลยได้เพิ่มชื่อ อ.ลงในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านแล้วได้มอบสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวคืนให้เจ้าของเก็บรักษาไว้ ยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่า นายอำเภอได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ จำเลยจึงยังไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 157, 161 และ162 แต่จำเลยคงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่า นายอำเภอได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ จำเลยจึงยังไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 157, 161 และ162 แต่จำเลยคงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265