คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แต่งตั้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการมัสยิดต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่ถูกต้อง กรรมการและผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.2488 มาตรา 8 เพียงแต่เปิดโอกาสให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะจัดให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดหรือไม่ ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ และให้อำนาจคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้กำหนดว่าใครเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ต่อมาจึงมีพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 บัญญัติให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ออกระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2492 กฎหมายและระเบียบดังกล่าวนี้ออกต่อเนื่องประกอบกันให้ปฏิบัติการแต่งตั้งได้โดยสมบูรณ์หาได้ขัดแย้งกันหรือยกเลิกข้อใดโดยปริยายไม่ ดังนั้น การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติโดยครบถ้วน จึงจะเป็นการแต่งตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหามีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดได้เองโดยพลการไม่
เมื่อปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว จึงไม่มีผลให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโดยชอบ กรรมการไม่มีอำนาจกระทำการแทนมัสยิด ผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งกรรมการมัสยิด: ต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบอย่างครบถ้วน การแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.2488 มาตรา 8 เพียงแต่เปิดโอกาสให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะจัดให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดหรือไม่ ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ และให้อำนาจคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้กำหนดว่าใครเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ต่อมาจึงมีพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 บัญญัติให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ออกระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2492 กฎหมายและระเบียบดังกล่าวนี้ออกต่อเนื่องประกอบกันให้ปฏิบัติการแต่งตั้งได้โดยสมบูรณ์หาได้ขัดแย้งกันหรือยกเลิกข้อใดโดยปริยายไม่ ดังนั้น การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติโดยครบถ้วน จึงจะเป็นการแต่งตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหามีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดได้เองโดยพลการไม่
เมื่อปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว จึงไม่มีผลให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโดยชอบกรรมการไม่มีอำนาจกระทำการแทนมัสยิด ผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจากพินัยกรรม: การครอบคลุมทรัพย์สินทั้งหมด
ข้อความในพินัยกรรมมีว่า ขอมอบพินัยกรรมให้แก่ ม. และขอตั้งให้ ม. เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฯ เป็นการชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าตั้ง ม. เป็นผู้จัดการมรดก โดยไม่จำกัดว่าเป็นทรัพย์มรดกสิ่งใดบ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: เจตนาสุจริตของผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นสามีของผู้ตาย เป็นบิดาผู้คัดค้าน กรณีฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาไม่สุจริตต่อผู้คัดค้านจึงเหมาะสมที่จะแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความหลายคนและการผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมา มิใช่เป็นกรณีการพิจารณาโดยขาดนัด คู่ความจะร้องขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 207 ไม่ได้
เดิมบริษัทจำกัดจำเลย โดย ช. กรรมการผู้จัดการ ได้แต่งตั้งทนายความคนหนึ่งแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้เปลี่ยนกรรมการบริษัทใหม่บริษัทจำเลยโดยกรรมการชุดใหม่จึงได้แต่งตั้งทนายความอีกคนหนึ่งทนายความแต่ละคนดังกล่าวต่างมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ดังนี้ เมื่อทนายความคนหลังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และศาลพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว ย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย และผูกพันบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยโดยทนายความคนแรกจะร้องขอให้พิจารณาใหม่ โดยเหตุที่ทนายความคนแรกไม่ได้รู้เห็นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้นด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งเจ้าอาวาส/ผู้รักษาการแทน: กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กฎมหาเถรสมาคมตราขึ้นโดยมหาเถรสมาคมอันประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส แต่กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือการพ้นจากหน้าที่เจ้าอาวาสไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จึงอาจวางเป็นระเบียบขึ้นไว้โดยกฎมหาเถรสมาคม เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกัน ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ลายมือชื่อและการใช้รายงานผลโดยไม่ต้องเบิกความ
คู่ความตกลงท้ากันให้ส่งเอกสารไปยังกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจเพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อโดยมิได้ระบุตัวผู้เชี่ยวชาญไว้ ศาลย่อมส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญของกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ คนใดคนหนึ่งตรวจพิสูจน์ก็ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 เมื่อผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นเป็นหนังสือ และไม่มีความจำเป็น ศาลก็ไม่ต้องเรียกให้มาเบิกความรับรองหรืออธิบายด้วยวาจาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งกรรมการใหม่ ทำให้กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารกิจการต่อไป
บริษัท ส. ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย ในการนี้ได้จดทะเบียนรายชื่อกรรมการของบริษัทครั้งหลังที่สุด คือเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ไว้ว่ามีกรรมการ 7 คน คือจำเลยทั้งเจ็ดคนนี้ซึ่งเป็นกรรมการชุดที่ได้รับเลือกจากมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2508 จึงถือได้ว่ากรรมการชุดจำเลยนี้เป็นกรรมการของบริษัทที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ได้มีการประชุมใหญ่ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นอีก 7 คน คือกรรมการชุดโจทก์ แต่ได้มีการคัดค้าน และ ท. กับพวก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 อ้างว่าเป็นการประชุมใหญ่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ปรากฏตามคดีแพ่งดำที่ 132/2509 ซึ่งคดีดังกล่าวได้เด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ที่ตั้งกรรมการใหม่คือกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทเสีย ฉะนั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ซึ่งตั้งกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทในภายหลังการแต่งตั้งกรรมการชุดจำเลยเพื่อบริหารกิจการของบริษัทแทนกรรมการชุดจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนเสียเช่นนี้แล้ว ก็เท่ากับไม่มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนกรรมการชุดจำเลย กรรมการชุดจำเลยซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่และนายทะเบียนได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็มีสิทธิและอำนาจที่จะบริหารกิจการของบริษัทได้โดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การฟ้องไม่มีอำนาจ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 ที่ว่า'ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว..........ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ให้ไต่สวนมูลฟ้อง ฯลฯ นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีการกระทำแสดงออกให้เป็นการยืนยันหรือสนับสนุนคำฟ้องนั้นจึงให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน. และถ้าศาลเห็นว่าเท่าที่พยานโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จะเป็นพยานกี่คนก็ตาม ทำให้คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว. ศาลก็อาจสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลืออยู่เสียก็ได้.
โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อถึงวันนัด โจทก์แถลงต่อศาล. ศาลจดข้อแถลงรับของโจทก์ไว้แล้วสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์เสีย. เช่นนี้ก็เท่ากับว่าที่โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดคำแถลงของโจทก์ไว้นั้น เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ศาลพอจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว. แล้ววินิจฉัยและพิพากษาคดีของโจทก์ไป จึงไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา162(1).
ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6(พ.ศ.2506)ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า. 'ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่. และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราว. ให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส'. นั้นหมายถึงกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่. และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวเท่านั้น.ถ้าเจ้าอาวาสยังอยู่ประจำที่วัด. เจ้าอาวาสก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส. และในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง. ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6 ข้อ 5 เป็นอำนาจเจ้าคณะตำบลที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส. การที่เจ้าอาวาสตั้งผู้รักษาการแทนเสียเอง จึงไม่ชอบ. ผู้ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้ง.จึงไม่มีสิทธิและอำนาจหรือหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย. และไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเจ้าอาวาส.
อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย. ศาลหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการเวนคืน: 'เจ้าหน้าที่' ตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ หมายถึงผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายเท่านั้น
คำว่า 'เจ้าหน้าที่' ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ไม่ได้หมายความถึงเจ้าหน้าที่ตามความหมายทั่วไป แต่หมายความถึงเจ้าหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
ในการเวนคืนที่ดินในเขตอำเภอเมืองชลบุรี พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอเมืองชลบุรีจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2497 มาตรา 4 กำหนดให้เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเวนคืนต่อมาเมื่อมีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลนาป่า ตำบลบ้านสวน ตำบลบางทราย และตำบลหนองไม้แดงอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2502 มาตรา 3 ก็กำหนดให้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้
of 11