พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากเหตุทิ้งร้างและสินสมรส: การแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยอ้างเหตุว่าโจทก์จงใจทิ้งร้างจำเลยเกินกว่าหนึ่งปี โจทก์แถลงรับว่าโจทก์มีเจตนาทิ้งร้างจำเลยตามฟ้องแย้งและศาลชั้นต้นได้จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทนายจำเลยลงชื่อโดยไม่โต้แย้งคัดค้าน และต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงรับข้อเท็จจริงนี้อีก แม้จะมิได้ส่งสำเนาให้จำเลยมีโอกาสคัดค้านก็ตาม ข้อเท็จจริงเป็นอันรับฟังได้ตามฟ้องแย้งโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีก โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม แม้ต่อมาจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2512ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 และมาตรา 5การแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับ จำเลยได้ที่ดินมาเมื่อปี 2511 ก่อนโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับ โดยบุตรสาวจำเลยยกให้โดยเสน่หาแต่มิได้ระบุว่ายกให้เป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1464(3) ที่ดินจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ ก็จะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาใช้บังคับไม่ได้เพราะที่ดินตกเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าตามหลักกฎหมายอิสลาม: ข้อตกลงการแบ่งและสถานะสินสมรส
โจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ประเด็นหย่าและสินสมรสบางรายการยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คงมีประเด็นชั้นฎีกาเพียงว่ามีข้อตกลงแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยอย่างไร บ้านและรถยนต์กระบะเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคดีที่พิพาทกันเรื่องสิทธิในครอบครัว แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 57,500 บาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อก่อนสมรสและจดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วมกันหลังสมรส
จำเลยฟ้องแย้งให้แบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์แบ่งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วยเป็นการนอกเหนือคำฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทด้วยเงินของโจทก์ก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลย หลังจากจดทะเบียนสมรสกันแล้วได้มีการจดทะเบียนลงชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่โจทก์มีเจตนาให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากัน ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นสินสมรสต้องแบ่งกันระหว่างโจทก์และจำเลยคนละส่วน ดังนั้นจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในสี่ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งมรดกและฟ้องแย้งขอแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน แม้คดีหลักยังไม่สิ้นสุด
จำเลยได้ครองครองที่ดินและตึกพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งร่วมกันกับโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งที่ดินและตึกพิพาทซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความ คดีนี้เป็นคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งถูกแยกพิจารณาคดีต่างหากจากคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ การพิจารณาและวินิจฉัยคดีตามฟ้องเดิมกับคดีตามฟ้องแย้งจะต้องแยกต่างหากจากกัน แม้คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี แต่คดีตามฟ้องเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ฉะนั้นจะฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีตามฟ้องเดิมยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกหุ้นส่วน-ชำระบัญชี: การแบ่งทรัพย์สินและกำไรต้องทำหลังชำระบัญชี
การที่โจทก์ถอนตัวออกจากหุ้นส่วน และจำเลยยินยอมให้โจทก์ถอนตัวโดยคืนเงินลงทุนให้ ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกหุ้นส่วนกัน แต่ยังไม่ได้ตกลงเรื่องแบ่งปันผลกำไรที่ยังเหลือและทรัพย์สิน ย่อมต้องจัดให้มีการชำระบัญชีกันก่อนตามป.พ.พ. มาตรา 1061 ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินปันผลกำไรและส่วนแบ่งในทรัพย์สินของหุ้นส่วนโดยอาศัยหลักฐานตามภาพถ่ายบัญชีรับจ่ายซึ่งเป็นรายการที่ไม่ชัดแจ้ง และจำเลยยังโต้เถียงอยู่ จึงฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สินของคนต่างด้าว แม้ได้มาซึ่งที่ดินโดยไม่ชอบตามกฎหมายที่ดิน
แม้การที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 86 จะทำให้คนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามมาตรา 94 แต่ก็มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวจะไม่มีผลเสียเลย เนื่องจากคนต่างด้าวยังคงมีสิทธิได้รับผลตามมาตรา 94 ทั้งยังมีสิทธิได้รับชำระราคาที่ดินซึ่งได้จากการจำหน่ายตามมาตรา 54 ดังนั้น แม้โจทก์เป็นคนต่างด้าวโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันซื้อมาได้ กรณีถือว่าคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์จากจำเลยที่ 1 โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่โอนขายที่ดินและบ้านดังกล่าวไปเสีย จึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการกู้ยืมระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียน การแบ่งทรัพย์สินและผลกระทบต่อหนี้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย. และนางสาว อ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง
หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิด ตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริง โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามป.พ.พ. มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้ว จำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้
หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิด ตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริง โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามป.พ.พ. มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้ว จำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินห้างหุ้นส่วนเมื่อเลิกกิจการ โดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวัน และบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น จึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้
ป.พ.พ. มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อเลิกกิจการ โดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้างสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวันและบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นจึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วม, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, การแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการใช้ประโยชน์, การเพิกถอนการให้
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด.บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของ ด. อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น.ได้เบิกความไว้แล้ว ทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้น และโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย
ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด. และ อ.โดยเท่าเทียมกัน เท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าว ด.บิดาลงนามแทน อ.โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ.มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ.เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิด ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการ แสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทน อ. โดย อ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้ อ.เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล จึงถือไม่ได้ว่า อ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ.จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ.มาตรา 374 ก็ตาม แต่เมื่อ อ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะ อ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ.จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ.สละสิทธิในส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสอง จำเลย กับ ด.จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ 1 ใน 4 ส่วน
ที่จำเลยฎีกาว่า ด.ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช.จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของ ด.กับ อ.ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้น เมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิด จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของ อ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาสอันไม่ควรแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วนตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญา ให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท
ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดา ต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด. และ อ.โดยเท่าเทียมกัน เท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าว ด.บิดาลงนามแทน อ.โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ.มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ.เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิด ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการ แสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทน อ. โดย อ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้ อ.เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล จึงถือไม่ได้ว่า อ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ.จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ.มาตรา 374 ก็ตาม แต่เมื่อ อ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะ อ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ.จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ.สละสิทธิในส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสอง จำเลย กับ ด.จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ 1 ใน 4 ส่วน
ที่จำเลยฎีกาว่า ด.ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช.จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของ ด.กับ อ.ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้น เมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิด จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของ อ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาสอันไม่ควรแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วนตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญา ให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท
ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดา ต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย