พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8259/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกจากทรัพย์สินที่ถูกขายไปแล้ว ศาลมีอำนาจแบ่งเงินที่ได้จากการขายให้แก่ทายาทตามส่วน
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโดยกล่าวว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งเป็น ทรัพย์มรดกของ ย. และตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง คนละ 1 ใน 6ส่วนไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิชอบแม้คำขอท้ายฟ้องจะขอ ให้เพิกถอนการขายที่ดินแปลงดังกล่าวเอาที่ดินส่วนของ โจทก์ทั้งสองคืนมา ก็ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกมรดกจาก ผู้จัดการมรดกนั่นเอง เมื่อไม่อาจจะเพิกถอนการขาย เงินที่ได้ จากการขายที่ดินนั้นต้องถือว่าเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้อง แบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองอยู่นั่นเอง ศาลย่อมมีอำนาจแบ่งเงิน ให้โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8259/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกจากทรัพย์สินที่ผู้จัดการมรดกขายไปแล้ว ศาลมีอำนาจแบ่งเงินที่ได้จากการขายให้ทายาทตามส่วน
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกว่าจำเลยที่1นำที่ดินแปลงน.ส.3ก.ทรัพย์มรดกของนายย. และตกได้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ1ใน6ส่วนไปขายโดยมิชอบแม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้เพิกถอนที่ดินแปลงดังกล่าวเอาที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสองคืนมาก็ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกเมื่อไม่อาจเพิกถอนการขายที่ดินแปลงดังกล่าวเงินที่ได้จากการขายที่ดินนั้นต้องถือว่าเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจแบ่งให้โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: การครอบครองทำกินร่วมกัน และการแบ่งมรดกหลังการเสียชีวิต
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของ ท. โจทก์กับ ม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และ ม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมา แต่ให้ ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม..." โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 วรรคท้าย
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของท.โจทก์กับม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมาแต่ให้ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม" โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้าย ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมาโดยท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับท.ด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของท.บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของท.เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับท.และม.ด้วย นอกจากนั้นหลังจากท.ตามไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาทและโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพท.การที่ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือม.คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม.การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของท.และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้อง มีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตามแต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถ.ได้บันทึกรับรองว่าคดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้วเมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่าถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มาศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชนเป็นหลักฐานได้ & อายุความการแบ่งมรดก: ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้แบ่งมรดกแม้เลยอายุความ
สำนวนคดีของศาลในคดีเรื่องอื่นซึ่งเป็นรายงานและสำนวนความของศาลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน โดยให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างเป็นพยาน ในสำนวนได้ ถือว่าเป็นเอกสารมหาชน จึงได้รับประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐานเป็นคุณไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดกที่ดิน: ทายาทมีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยครอบครองแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า ที่ดินมือเปล่าเนื้อที่ 13 ไร่ เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ให้จำเลยแบ่งที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสามคนละ 1 ใน 5 ส่วน คิดเป็นที่ดินรวมกัน 7 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ซึ่งโจทก์ตีราคาเป็นเงิน 78,000 บาทจำเลยอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาททั้งสามส่วนเป็นของจำเลย ขอให้ยกฟ้อง เท่ากับโต้เถียงว่าที่ดินพิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลย มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ 78,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ผู้ตายถึงแก่ความตายแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดี และในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ทั้งสามย่อมฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ผู้ตายถึงแก่ความตายแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดี และในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ทั้งสามย่อมฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก: ฟ้องแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความ หากอ้างกรรมสิทธิ์จากการครอบครอง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกโฉนดที่1969แก่โจทก์จำนวน23ไร่เศษศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องเกิน1ปีจึงขาดอายุความมรดกแต่โจทก์คงได้เท่าที่โจทก์ครอบครองอยู่6ไร่เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินเพียงใดโจทก์ขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยแบ่งที่ดิน6ไร่ให้โจทก์แต่ศาลยกคำร้องเพราะไม่อาจออกคำบังคับได้โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่1969เป็นเนื้อที่6ไร่อันมีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งที่ดิน6ไร่ได้หรือไม่ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วไม่เป็นฟ้องซ้ำตามป.วิ.พ.มาตรา148 หลังจากเจ้ามรดกตายมีการแบ่งปันมรดกโดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดทั้งนี้โจทก์เข้าครอบครองที่ดิน6ไร่ของที่ดินโฉนดที่1969โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ร่วมในโฉนดดังกล่าวได้และมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการหนี้สินมรดกและแบ่งสินสมรส
การชำระหนี้ของเจ้ามรดกซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในการจัดการมรดกด้วย เป็นการจัดการรวมกันไปและเกี่ยวเนื่องกัน ไม่อาจแยกออกจากกันได้ เมื่อฟังได้ว่าการใช้หนี้ของเจ้ามรดกนั้นเป็นหนี้ร่วม จึงต้องนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เป็นค่าใช้จ่ายจริงไปหักจากจำนวนเงินที่จำหน่ายทรัพย์ทั้งหมดก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา1362 ส่วนที่เหลือจึงนำมาแบ่งครึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดก แล้วจึงนำส่วนของเจ้ามรดกมาแบ่งแก่ทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินมรดกที่เป็นสินสมรส การหักค่าใช้จ่าย และการแบ่งส่วนแบ่งให้ทายาท
การชำระหนี้ของเจ้ามรดกซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในการจัดการมรดกด้วยเป็นการจัดการรวมกันไปและเกี่ยวเนื่องกันไม่อาจแยกออกจากกันได้เมื่อฟังได้ว่าการใช้หนี้ของเจ้ามรดกนั้นเป็นหนี้ร่วมจึงต้องนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เป็นค่าใช้จ่ายจริงไปหักจากจำนวนเงินที่จำหน่ายทรัพย์ทั้งหมดก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1362ส่วนที่เหลือจึงนำมาแบ่งครึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกแล้วจึงนำส่วนของเจ้ามรดกมาแบ่งแก่ทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกในการจัดการแบ่งทรัพย์มรดก และสิทธิของทายาทในการเรียกร้องทรัพย์มรดก
ในกรณีที่มี ทายาทหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้ แบ่งมรดกกันเสร็จแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1745และมาตราดังกล่าวให้นำมาตรา1356ถึงมาตรา1366มาบังคับโดยไม่ขัดกับบทบัญญัติในบรรพ6ซึ่งตามมาตรา1363ก็บัญญัติให้สิทธิเจ้าของร่วมคนหนึ่งมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์ได้ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็น ทายาทจึงมีหน้าที่ต้องบอกทรัพย์มรดกตามที่รู้ทั้งหมดแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา1735แม้จำเลยจะเป็นเจ้าของร่วมอยู่จำเลยก็ยังมิได้เป็นเจ้าของโดยเฉพาะเจาะจงและทายาทอื่นมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์ได้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมี อำนาจฟ้องจำเลยให้ส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมและส่งมอบใบจองกับโฉนดที่ดินเพื่อโจทก์จะนำไปแบ่งปันให้ทายาทต่อไปได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบการถือครองที่ดินและเอกสารใบจองและโฉนดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์เพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาทต่อไปแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยแต่ก็ถือได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาที่ดินและใบจองกับโฉนดที่ดินจากจำเลยหรือจำเลยไม่ต้องส่งมอบใบจองและโฉนดที่ดินให้โจทก์เท่านั้นจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มิใช่เป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน