คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฆษณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายถูกจำกัดด้วยข้อตกลงและเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้วจำเลยก็ย่อมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการกรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ. ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา: สุจริต ป้องกันตน หรือคลองธรรม มิอาจเป็นเหตุแก้ผิดได้
โจทก์ร่วมเคยให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์เกี่ยวกับจำเลยมีข้อความทำนองว่าจำเลยไปแจ้งความเท็จแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจหาว่าโจทก์ร่วมลักทรัพย์ เป็นการพยายามทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ฯลฯไปรับเงินสายหนังมาก็ปลอมลายมือโจทก์ร่วมว่ารับเงินจากจำเลยแล้ว จำเลยจึงเขียนข้อความส่งไปลงพิมพ์โฆษณาโต้ตอบในหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์ร่วมเป็นเมียน้อยของจำเลย ทั้งๆ ที่จำเลยรู้อยู่ว่าโจทก์ร่วมมีสามี เป็นผลให้สามีโจทก์ร่วมเข้าใจผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยหาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็น หรือข้อความใดโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตน หรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอันเกิดจากการที่โจทก์ร่วมให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์เกี่ยวกับจำเลยไม่ จำเลยไม่อาจอ้างข้อนี้ขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โฆษณาเช่าซื้อรถและการตรวจสอบสภาพ การตกลงนอกสัญญาไม่มีผลผูกพัน
การโฆษณาให้เช่าซื้อรถว่ามีเครื่องอะไหล่พร้อม คุณภาพดีเป็นโฆษณาทางการค้า ผู้เช่าซื้อต้องตรวจสอบดูก่อน ไม่พอฟังว่าโจทก์ใช้กลฉ้อฉลให้จำเลยทำสัญญา ข้อที่ว่าโจทก์ตกลงรับรองว่าถ้าหาเครื่องอะไหล่ไม่ได้ ยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นรายวันนั้น ไม่มีเขียนไว้ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อ จึงนำสืบเพิ่มเติมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นด้วยการโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ ศาลฎีกาพิพากษากลับโดยใช้บทมาตรา 393 แทน 326, 328
ฟ้องว่า จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์ช่องสังคมอยุธยา โดยทิดแก้ว ว่า"วันก่อนเดินผ่านตลาดหักรอได้ยินเสียงเจ๊แต๋วมาดามของคุณประเสริฐมานะประเสริฐศักดิ์บก.แหลมทองตะโกนลั่นกลางตลาดว่า ถ้าคนที่ชื่อสุชาติบุญเกษมเดินผ่านหน้าร้านเมื่อไรจะถอดรองเท้าตบหน้าสักทีเสียเท่าไรก็ยอม จริงหรือเปล่าจ๊ะเจ๊"ทิดแก้ว" กลัวจะไม่จริงดังปากว่าเท่านั้นแหละแฮะ ๆ" ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328ข้อความดังนี้เป็นข้อความดูหมิ่น เพราะทำให้ผู้เสียหายบังเกิดความอับอายเป็นการดูหมิ่นด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393เป้นการอ้างบทมาตราที่ผิด ศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 393 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาข้อความเสียหาย - การไต่สวนมูลฟ้องเพื่อพิสูจน์เจตนาและผลกระทบ
คำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่ว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันจัดทำเอกสารพิมพ์โรเนียวออกแจกจ่ายมีข้อความว่า โจทก์เป็นนายกเทศมนตรีเมืองขอนแก่น 2 ปีเศษ โจทก์บริหารงานบกพร่องเป็นการเสียหายแก่เทศบาลเมืองขอนแก่นมากมาย ซึ่งจะไม่ขอนำมากล่าว ณ ที่นี้ จนสมาชิกฝ่ายสนับสนุนไม่อาจอยู่ร่วมได้ต้องลาออกไป และเทศมนตรี 2 คนก็ต้องลาออกไปด้วยจนเหลือแต่โจทก์คนเดียว นั้น เป็นคำบรรยายฟ้องที่มีข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันโฆษณาใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328แล้ว
แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำได้ก็ตาม ก็ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงอยู่นั่นเองว่าเป็นเรื่องที่จำเลยแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตหรือไม่ กรณีจึงเข้าเหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329จึงต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำบล็อก: การประกอบอุตสาหกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(1) ไม่ครอบคลุมการรับจ้างทำบล็อกเพื่อโฆษณา
คำว่า'อุตสาหกรรม' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ตอนท้าย นั้นหมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไป ทั้งนี้ โดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินค้าที่ประดิษฐ์ขึ้น และแม้จะไม่ได้จำหน่ายขายสินค้านั้นเอง เพียงแต่รับจ้างเขาประดิษฐ์สิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าก็เป็นการประกอบอุตสาหกรรมของตนแล้ว
จำเลยเป็นตัวแทนโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือประกาศโป๊สเตอร์ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด แล้วจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำบล๊อกต่าง ๆเพื่อโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านนั้น ๆ โดยได้รับค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างคือ ค่าโฆษณากับค่าบล๊อกหรือของที่ว่าจ้างให้โจทก์ทำและจำเลยคิดเอาค่าธรรมเนียมจากหนังสือพิมพ์หรือสถานีวิทยุผู้รับโฆษณาราว10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของค่าโฆษณา ถ้าไม่ได้ก็คิดเอาจากบริษัทห้างร้านผู้ว่าจ้างให้โฆษณา ดังนี้ ของที่จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ทำไม่ใช่สินค้า และไม่มีการซื้อขายสิ่งของนั้นอย่างไรด้วย การรับจ้างของจำเลยจึงไม่ใช่ เป็นการประกอบอุตสาหกรรมหรือเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)ตอนท้ายอายุความเรียกร้องค่าทำบล๊อกของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587-588/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงประชาชน: การหลอกลวงผ่านการโฆษณาและการกระทำที่เชื่อมโยงถึงอนาคต
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 โดยระบุชื่อผู้เสียหายมาในฟ้อง และราษฎรผู้มีชื่ออีกหลายคน ถือว่าเข้าองค์ประกอบเป็นฟ้องในข้อหาฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 แล้ว
ฎีกาจำเลยในปัญหาดุลพินิจของศาลในการชั่งน้ำหนักคำพยาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้การหลอกลวงของจำเลยจะเป็นเรื่องที่ยังต้องดำเนินการต่อไปข้างหน้า แต่ก็ได้เริ่มขึ้นแล้วโดยการแสดงโครงการออกโฆษณาต่อประชาชนอันเป็นความเท็จ ซึ่งเชื่อมโยงต่อชั้นที่จะดำเนินการต่อไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587-588/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน การหลอกลวงผ่านการโฆษณาและการกระทำที่เชื่อมโยงถึงการดำเนินการในอนาคต
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 โดยระบุชื่อผู้เสียหายมาในฟ้อง และราษฎรผู้มีชื่ออีกหลายคนถือว่าเข้าองค์ประกอบเป็นฟ้องในข้อหาฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 แล้ว
ฎีกาจำเลยในปัญหาดุลพินิจของศาลในการชั่งน้ำหนักคำพยานเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้การหลอกลวงของจำเลยจะเป็นเรื่องที่ยังต้องดำเนินการต่อไปข้างหน้าแต่ก็ได้เริ่มขึ้นแล้วโดยการแสดงโครงการออกโฆษณาต่อประชาชนอันเป็นความเท็จ ซึ่งเชื่อมโยงต่อขั้นที่จะดำเนินการต่อไปดังนี้ การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือหนังสือพิมพ์รายวัน วันใดถึงหลังสุด
กำหนดเวลาสองเดือนที่ให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 นั้น นับตั้งแต่วันที่ได้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือวันที่ได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวัน แล้วแต่ว่าวันใดเป็นวันที่ได้โฆษณาหลังสุด เพราะกฎหมายให้โฆษณาทั้งสองอย่าง จะนับตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดไว้ในประกาศมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้: นับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา/หนังสือพิมพ์รายวัน (วันใดหลังสุด)
กำหนดเวลาสองเดือนที่ให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 นั้นนับตั้งแต่วันที่ได้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือในวันที่ได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันแล้วแต่ว่าวันใดเป็นวันที่ได้โฆษณาหลังสุดเพราะกฎหมายให้โฆษณาทั้งสองอย่าง จะนับตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดไว้ในวันประกาศมิได้
of 11