พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การโต้แย้งสิทธิ, เพิกถอนนิติกรรม: กรณีจำเลยขายทรัพย์สินส่วนของโจทก์โดยไม่ยินยอม
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงยกบ้านพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามนั้นเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แต่บุตรทั้งสามไม่ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง นอกจากนี้โจทก์ยังอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส ซึ่งหากฟังได้ตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามมาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้
ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามมาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461-4462/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอในคำฟ้องเดิม ศาลอนุญาตได้หากข้อเท็จจริงสนับสนุน
การขอให้นับโทษต่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องกล่าวมาในคำฟ้อง โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้นับโทษต่อในภายหลังได้
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยโดยมิได้มีคำขอท้ายคำฟ้องแต่ละสำนวนให้นับโทษต่อ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลเดียวกันกระทำผิดข้อหาเดียวกัน ขอให้นับโทษในคดีทั้งสองสำนวนต่อกันไป แม้จำเลยไม่คัดค้านคำร้องและไม่เคยรับไว้ในที่ใดว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่คดี สองสำนวนนี้เป็นเรื่องโจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นแห่งเดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อมาศาลสั่งให้รวมการพิจารณาด้วยกัน ข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดว่าที่โจทก์อ้างมาในคำร้องนั้นเป็นความจริง ไม่มีปัญหาว่าจำเลยแต่ละคนอาจจะมิได้เป็นบุคคลคนเดียวกันอันจะทำให้ไม่อาจนับโทษต่อได้ เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ขอให้นับโทษ ต่อมาชัดเจนและจำเลยทั้งสองคดีเป็นบุคคลคนเดียวกัน แม้จำเลยจะมิได้แถลงรับก็เห็นประจักษ์อยู่แล้วย่อมไม่มีทาง ที่ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องของโจทก์เป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากสั่งอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดจนกระทั่งพิพากษา ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องขอให้นับโทษต่อโดยปริยายแล้ว
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยโดยมิได้มีคำขอท้ายคำฟ้องแต่ละสำนวนให้นับโทษต่อ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลเดียวกันกระทำผิดข้อหาเดียวกัน ขอให้นับโทษในคดีทั้งสองสำนวนต่อกันไป แม้จำเลยไม่คัดค้านคำร้องและไม่เคยรับไว้ในที่ใดว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่คดี สองสำนวนนี้เป็นเรื่องโจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นแห่งเดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อมาศาลสั่งให้รวมการพิจารณาด้วยกัน ข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดว่าที่โจทก์อ้างมาในคำร้องนั้นเป็นความจริง ไม่มีปัญหาว่าจำเลยแต่ละคนอาจจะมิได้เป็นบุคคลคนเดียวกันอันจะทำให้ไม่อาจนับโทษต่อได้ เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ขอให้นับโทษ ต่อมาชัดเจนและจำเลยทั้งสองคดีเป็นบุคคลคนเดียวกัน แม้จำเลยจะมิได้แถลงรับก็เห็นประจักษ์อยู่แล้วย่อมไม่มีทาง ที่ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องของโจทก์เป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากสั่งอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดจนกระทั่งพิพากษา ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องขอให้นับโทษต่อโดยปริยายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานการลงโทษอาญาต้องมาจากโจทก์ คำรับจำเลยใช้ลงโทษไม่ได้
ข้อเท็จจริงที่จะรับฟังลงโทษจำเลยต้องได้มาจากพยานหลักฐานของโจทก์ แม้จำเลยเบิกความรับข้อเท็จจริงใดก็มิใช่พยานหลักฐานของโจทก์ จะนำมารับฟังเพื่อลงโทษจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีคำพิพากษาล่าช้า: เหตุพิเศษนอกเหนือการควบคุมของโจทก์
การเรียงอุทธรณ์จะต้องตรวจดูข้อความในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ผู้อุทธรณ์จึงจำต้องมีสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ประกอบการเรียงอุทธรณ์ เมื่อคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ อ้างเหตุที่โจทก์ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดว่า โจทก์ได้ขอคัดคำพิพากษาไว้แล้วเพิ่งพิมพ์แล้วเสร็จและได้รับในวันนั้น จึงเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนกำหนดขอบเขตการพิจารณา
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วน รวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสามตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมานั้นมีราคา 1,200,000 บาท ที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพยายามจำหน่ายยาเสพติดตามกฎหมายพิเศษ โจทก์ต้องขอท้ายฟ้อง
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานพยายามต้องระวางโทษเท่ากับความผิดสำเร็จ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะทำให้จำเลยต้องรับโทษสูงขึ้นกว่าการกระทำความผิดขั้นพยายามทั่ว ๆ ไป เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 7 ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษหนักขึ้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: การกระทำผิดฐานพาอาวุธปืนเกินกำหนดอายุความ 1 ปี ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 เมื่อจำเลยกระทำผิดในปี 2534แต่ถูกจับและฟ้องในปี 2540 ดังนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยสำหรับความผิดฐานนี้เกินกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาเช่าซื้อ-คืนรถ: ศาลยืนตามเดิม จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเคยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาแล้วครั้งหนึ่งแต่เมื่อนำค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระ จำเลยก็รับชำระโดยคิดค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้ออีก จำเลยไปยึดรถคืนโจทก์นำเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างกับค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยไปชำระจำเลยก็รับชำระเช่นเดิม แสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรื่องการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญสัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่สิ้นสุด เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแล้วจำเลยต้องคืนรถที่เช่าซื้อแก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมคืนจึงเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งซึ่งในส่วนของการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามให้ทำได้ด้วยการใช้เงิน เมื่อค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์เป็นเงินน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ต้องคืน ศาลจึงสามารถนำเงินค่าใช้ทรัพย์สินมาหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนได้โดยจำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้งไว้
เมื่อโจทก์ไม่มีรถพอใช้งาน โจทก์สามารถหารถอื่นมาทดแทนได้หากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ต้องเสียค่าเช่า ค่าเช่าที่โจทก์ต้องเสียไปถือเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์เรียกให้จำเลยชดใช้ได้ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าวจนงานล่าช้าและถูกปรับค่าปรับไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ได้
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งซึ่งในส่วนของการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามให้ทำได้ด้วยการใช้เงิน เมื่อค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์เป็นเงินน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ต้องคืน ศาลจึงสามารถนำเงินค่าใช้ทรัพย์สินมาหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนได้โดยจำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้งไว้
เมื่อโจทก์ไม่มีรถพอใช้งาน โจทก์สามารถหารถอื่นมาทดแทนได้หากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ต้องเสียค่าเช่า ค่าเช่าที่โจทก์ต้องเสียไปถือเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์เรียกให้จำเลยชดใช้ได้ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าวจนงานล่าช้าและถูกปรับค่าปรับไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2: พิจารณาจากสัญญาซื้อขายโดยตรง ไม่ใช่ความเป็นตัวแทน
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อเห็นสมควรศาลก็มีอำนาจจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองไม่ว่าในชั้นไหน ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยเอง จึงย่อมมีอำนาจกระทำได้
เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้ระบุว่าโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ทั้งตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทั้งสองนำมาฟ้องก็เป็นสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 2 ผู้ซื้อฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 1 ผู้ขายอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์ที่ 2 จึงเป็นตัวการในสัญญา มิใช่ตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ดังนั้นโจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้ระบุว่าโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ทั้งตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทั้งสองนำมาฟ้องก็เป็นสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 2 ผู้ซื้อฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 1 ผู้ขายอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์ที่ 2 จึงเป็นตัวการในสัญญา มิใช่ตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ดังนั้นโจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8102/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษในคดีพยายามลักทรัพย์: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ แต่จำกัดด้วยการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์/ฎีกาขอโทษหนักขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335,336 ทวิ,80 เมื่อจำเลยรับสารภาพ จึงต้องฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องซึ่งต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 336 ทวิ และต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปรับบทลงโทษตามมาตรา 336 ทวิและวางโทษจำคุก 8 เดือน แล้วลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 4 เดือนต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของมาตรา 335(1)(8) วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 80,336 ทวิ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้นศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขโทษที่ลงแก่จำเลยได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 212ประกอบด้วยมาตรา 225