พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ในเคหสถาน: ความร้ายแรงของโทษและผลกระทบต่อความปลอดภัยสังคม
จำเลยกับ พ. กระทำผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืนลักษณะของความผิดเป็นเรื่องที่ร้ายแรง และกระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสุจริตชนเป็นอย่างยิ่ง เคหสถานเป็นสถานที่อันพึงได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองให้บุคคลได้อยู่อาศัยโดยปลอดภัยและโดยปกติสุขทั้งจำเลยมีอายุถึง 34 ปี ผ่านการใช้ชีวิตมาพอสมควร รู้ผิด รู้ชอบได้ดีแล้ว แม้จำเลยจะมิได้เข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายแต่พวกของจำเลยก็เข้าไป กรณีจึงเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำและแม้จำเลยจะมิเคยกระทำความผิดมาก่อนและผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ แต่ลักษณะของความผิดเป็นเรื่องร้ายแรง และกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของสังคม จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6398/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์และการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์: หลักการจำกัดการเปลี่ยนแปลงโทษในคดีที่จำเลยไม่โต้แย้ง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีใดแล้ว คู่ความฝ่ายที่ไม่พอใจหรือไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เว้นแต่ถูกจำกัดสิทธิตามบทบัญญัติของกฎหมาย และการพิจารณาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ก็ต้องเป็นไปดังที่บัญญัติไว้ในภาค 4 ลักษณะ 1 อุทธรณ์การที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษเท่านั้น ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยพอใจไม่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะก้าวล่วงไปวินิจฉัยกำหนดโทษเสียใหม่ในความผิดที่ยุติไปแล้วนั้นให้เบาลงมิได้ เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องอุทธรณ์ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้อำนาจศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการแก้ไขกฎหมายที่ใช้บังคับ ศาลฎีกาพิจารณาโทษตามกฎหมายที่มีผลดีต่อจำเลย
จำเลยก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่6 มิถุนายน 2535 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ โดยไม่ได้รับอนุญาตการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65 วรรคหนึ่ง,70 แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 22ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 และมาตรา 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 70แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความใหม่แทนบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิมซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับส่วนมาตรา 70 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษ ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับแต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมาย ที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดอันมีทั้งส่วนที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำ ความผิด ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลย และยังคงใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 65ที่แก้ไขใหม่ มาใช้บังคับแก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง เดิม มิได้บัญญัติให้ระวางโทษปรับรายวันแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรา 21 ด้วย จึงลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวัน ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้ การก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับเป็นรายวัน ตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้ว และผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน หรือจนกว่า จะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ไม่เป็นบททั่วไป-บทเฉพาะต่อกัน ผู้สนับสนุนความผิดมีโทษ
ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 161 เป็นความผิดคนละอย่างที่มีองค์ประกอบความผิด แตกต่างกัน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จึงมิใช่เป็นความผิดตามบททั่วไปของบทเฉพาะตามมาตรา 161 จำเลยที่ 2 เป็นผู้มาติดต่อพาคนไปให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานทำบัตรประจำตัวประชาชนปลอม โดยให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมี ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการปลอมเอกสารราชการ และฐานสนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบและโดยทุจริตตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,161,265ประกอบมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต้องรู้ข้อเท็จจริงเป็นเท็จและเจตนาทำให้ผู้อื่นต้องรับโทษ
การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 และ 174นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ผู้อื่นต้องรับโทษแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยโดยตรง กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตดุลพินิจศาลแรงงานในการลงโทษทางวินัย: พิจารณาความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานขับรถได้กำหนดไว้ว่า พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาโทษไว้ดังนี้ (1) ตักเตือนด้วยวาจาและบันทึกการตักเตือน(2) การตักเตือนเป็นหนังสือ (3) พักงาน 3 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (4) พักงาน7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง และ (5) ปลดออก ดังนั้นในการพิจารณาโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่อง ๆ ไป
การกระทำความผิดของ ม.พนักงานขับรถในครั้งก่อน ผู้ร้องได้ลงโทษไปแล้ว และการกระทำความผิดของ ม.ในครั้งนี้มีระยะห่างจากการกระทำความผิดครั้งก่อน 1 ปีเศษ โดยไม่ปรากฏว่าระหว่างนั้น ม.ได้ขับรถประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลภายนอกและผู้ร้องเสียหาย ทั้งความเสียหายที่ได้รับในครั้งนี้ก็คิดเป็นเงินประมาณ 3,500 บาท เมื่อพิจารณาสภาพของรถที่ ม.ขับและเวลาที่กระทำความผิดแล้ว เห็นได้ว่าความผิดของ ม.ไม่ร้ายแรง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม.ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง จึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี ทั้งโทษตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้างก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ซึ่งเป็นโทษสถานเบากว่าโทษเลิกจ้างตามที่ผู้ร้องร้องขอ กรณีมิใช่ศาลแรงงานอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม.ต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันจะถือเป็นการลดโทษให้แก่ ม. คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษ ม.ดังกล่าว จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
การกระทำความผิดของ ม.พนักงานขับรถในครั้งก่อน ผู้ร้องได้ลงโทษไปแล้ว และการกระทำความผิดของ ม.ในครั้งนี้มีระยะห่างจากการกระทำความผิดครั้งก่อน 1 ปีเศษ โดยไม่ปรากฏว่าระหว่างนั้น ม.ได้ขับรถประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลภายนอกและผู้ร้องเสียหาย ทั้งความเสียหายที่ได้รับในครั้งนี้ก็คิดเป็นเงินประมาณ 3,500 บาท เมื่อพิจารณาสภาพของรถที่ ม.ขับและเวลาที่กระทำความผิดแล้ว เห็นได้ว่าความผิดของ ม.ไม่ร้ายแรง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม.ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง จึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี ทั้งโทษตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้างก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ซึ่งเป็นโทษสถานเบากว่าโทษเลิกจ้างตามที่ผู้ร้องร้องขอ กรณีมิใช่ศาลแรงงานอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม.ต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันจะถือเป็นการลดโทษให้แก่ ม. คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษ ม.ดังกล่าว จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ซึ่งในกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้ คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเด็กในความดูแล: หน้าที่ควบคุมดูแลนอกเวลาราชการมีผลต่อการรับโทษ
ความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอนศิษย์ เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ เพราะเหตุเกิดที่บ้านพ.และอยู่นอกเวลาควบคุมดูแลของจำเลย การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดูแล ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องจึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6822/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษกักขังต่อกันเมื่อศาลลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก และประเด็นการอุทธรณ์เพื่อให้นับโทษต่อ
เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย แต่โทษจำคุกจำเลยไม่เกินสามเดือนจึงให้ลงโทษกักขังแทน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 และกำหนดวันเวลากักขังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา ดังนั้นเมื่อโทษกักขังเป็นเพียงโทษที่ลงแทนโทษจำคุก ศาลจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 ให้นับโทษกักขังติดต่อกันได้
แม้โจทก์จะขอให้นับโทษต่อในคดีซึ่งมิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่จะนับโทษต่อกันนั้นต้องพิจารณาจากคดีที่พิพากษาในภายหลังว่าจะนับโทษต่อได้หรือไม่ ดังนั้นคดีที่ต้องอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องการนับโทษต่อ จึงต้องเป็นคดีนี้ ซึ่งเป็นคดีที่พิพากษาในภายหลัง หาใช่อุทธรณ์ในคดีก่อนหรืออุทธรณ์พร้อมกันทั้งสองคดีไม่
แม้โจทก์จะขอให้นับโทษต่อในคดีซึ่งมิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่จะนับโทษต่อกันนั้นต้องพิจารณาจากคดีที่พิพากษาในภายหลังว่าจะนับโทษต่อได้หรือไม่ ดังนั้นคดีที่ต้องอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องการนับโทษต่อ จึงต้องเป็นคดีนี้ ซึ่งเป็นคดีที่พิพากษาในภายหลัง หาใช่อุทธรณ์ในคดีก่อนหรืออุทธรณ์พร้อมกันทั้งสองคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6118/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้โทษคดีรับของโจรของจำเลยเยาวชน โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แม้ว่าโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่เมื่อในทางพิจารณารับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้ว ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม แม้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษกับคดีนี้ต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ศาลฎีกาจะเพิ่มเติมโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวไม่ได้