พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ พิจารณาจาก 'เครื่องจักร' และ 'การใช้พลังงาน' แม้มีคนงานน้อย
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 5 มีคำจำกัดความคำว่าโรงงานไว้ ให้หมายถึงอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่สองแรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สองแรงม้าขึ้นไป ฯลฯ และมีคำจำกัดความคำว่าเครื่องจักรไว้ด้วยว่าหมายถึงสิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิดพลังงานฯลฯ ดังนั้น จึงถือได้ว่า โรงผลิตปูนขาวซึ่งใช้เตาหินปูนขนาดให้ความร้อนเท่ากับเครื่องจักรขนาด 368 แรงม้า โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง เป็นโรงงานที่ต้องขออนุญาตตามความหมายของพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 ด้วย เพราะใช้เตาซึ่งย่อมต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น และใช้เชื้อเพลิงก่อให้เกิดพลังงานคือความร้อนขึ้นอันเป็นเครื่องจักรตามคำจำกัดความข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีซื้อขายโรงงาน: ไม่มีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องคดี อ้างว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เอาโรงงานและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 ขอให้พิพากษาว่าหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย จำเลยทั้งสามให้การและแถลงว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่ได้เอาโรงงานและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ไปขาย จำเลยที่ 3 แถลงว่าไม่เคยโต้แย้งว่าทรัพย์สินตามฟ้องไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยเคยรับอยู่ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วว่า ทรัพย์สินตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย ดังนี้ ถือได้ว่าไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับโรงงานและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องโจทก์ว่าเป็นทรัพย์สินของฝ่ายใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยสำหรับทรัพย์สินที่กล่าวในฟ้อง และไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายโรงงานต้องขออนุญาตใหม่ แม้มีใบอนุญาตเดิมแล้ว การย้ายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โรงงาน
บุคคลใดได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2482 แล้ว หากประสงค์จะย้ายโรงงานนั้นไปสถานที่อื่น ก็ต้องขออนุญาตตั้งใหม่ จะใช้ใบอนุญาตตั้งโรงงานสำหรับสถานที่เก่าไม่ได้ มิฉะนั้นย่อมมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายโรงงานต้องขออนุญาตใหม่ การใช้ใบอนุญาตเดิมสำหรับสถานที่ใหม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โรงงาน
บุคคลใดได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2482 แล้ว หากประสงค์จะย้ายโรงงานนั้นไปสถานที่อื่น ก็ต้องขออนุญาตตั้งใหม่ จะใช้ใบอนุญาตตั้งโรงงานสำหรับสถานที่เก่าไม่ได้ มิฉะนั้นย่อมมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายโรงงานต้องขออนุญาตใหม่ การใช้ใบอนุญาตเดิมสำหรับสถานที่ใหม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โรงงาน
บุคคลใดได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 แล้ว. หากประสงค์จะย้ายโรงงานนั้นไปสถานที่อื่น ก็ต้องขออนุญาตตั้งใหม่. จะใช้ใบอนุญาตตั้งโรงงานสำหรับสถานที่เก่าไม่ได้ มิฉะนั้นย่อมมีความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรในโรงงานเดิม ไม่ถือเป็นการตั้งโรงงานใหม่ หากมีใบอนุญาตโรงงานเดิมอยู่แล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ตั้งโรงงานสีข้าวก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยตั้งโรงงานโดยได้รับอนุญาตอยู่แล้ว เพียงแต่จำเลยเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ใช้ในโรงงานเดิมเท่านั้น ไม่ถือว่าตั้งโรงงานขึ้นใหม่ ดังนี้ จำเลยจึงไม่ผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรในโรงงานเดิม ไม่ถือเป็นการตั้งโรงงานใหม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ตั้งโรงงานสีข้าวก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยตั้งโรงงานโดยได้รับอนุญาตอยู่แล้ว เพียงแต่จำเลยเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ใช้ในโรงงานเดิมเท่านั้น ไม่ถือว่าตั้งโรงงานขึ้นใหม่ ดังนี้ จำเลยจึงไม่ผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรในโรงงานเดิม ไม่ถือเป็นการตั้งโรงงานใหม่ หากได้รับอนุญาตแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ตั้งโรงงานสีข้าวก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยตั้งโรงงานโดยได้รับอนุญาตอยู่แล้ว เพียงแต่จำเลยเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ใช้ในโรงงานเดิมเท่านั้นไม่ถือว่าตั้งโรงงานขึ้นใหม่ ดังนี้ จำเลยจึงไม่ผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการควบคุมโรงงานหลัง พ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 พระราชกฤษฎีกาเดิมยังคงมีผลบังคับ
พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน 17 ของบทนิยามคำว่า "โรงงาน" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน " 17 โรงงานอย่างอื่นที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า นับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ถ้าทางการประสงค์จะควบคุมโรงงานประเภทใด นอกจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุไว้ก่อนแล้ว ก็จะได้กำหนดโดยออกเป็นกฎกระทรวง ไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเหมือนอย่างเช่นเดิมเท่านั้น มิได้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่ระบุโรงงานอย่างอื่นเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 ซึ่งได้ตราไว้แล้วแต่เดิมไม่ จำเลยตั้งและเปิดดำเนินการโรงงานโม่หรือป่นวัตถุโดยใช้เครื่องจักร (ทำลูกชิ้น) ซึ่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2500 มาตรา 3(6) ระบุว่าเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 แม้จะเป็นการตั้งแลเปิดดำเนินการขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติโรงงาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 ใช้บังคับแล้ว ก็ยังอยู่ในข่ายต้องถูกควบคุมนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการควบคุมโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 และผลกระทบต่อโรงงานที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน 17 ของบทนิยาม คำว่า "โรงงาน" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"17.โรงงานอย่างอื่นที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่านับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ถ้าทางการประสงค์จะควบคุมโรงงานประเภทใด นอกจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุไว้ก่อนแล้ว ก็จะได้กำหนดโดยออกเป็นกฎกระทรวง ไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเหมือนอย่างเช่นเดิมเท่านั้น มิได้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่ระบุโรงงานอย่างอื่นเป็นโรงงานตาม มาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2482 ซึ่งได้ตราไว้แล้วแต่เดิมไม่ จำเลยตั้งและเปิดดำเนินการโรงงานโม่หรือป่นวัตถุโดยใช้เครื่องจักร (ทำลูกชิ้น) ซึ่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2500 มาตรา 3(6) ระบุว่าเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17)แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 แม้จะมีเป็นการตั้งและเปิดดำเนินการขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2503 ใช้บังคับแล้ว ก็ยังอยู่ในข่ายต้องถูกควบคุมนั่นเอง