พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6902/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจสั่งให้ชำระค่าธรรมเนียมศาลก่อนรับฟ้อง แม้ผู้ฟ้องร้องมีเหตุผลในการขอขยายเวลา แต่ศาลควรให้โอกาสชำระค่าธรรมเนียมก่อนสั่งไม่รับฟ้อง
กรณีคู่ความมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนก่อนมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องพร้อมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมศาลครั้งแรก อ้างว่าเจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าต้องใช้เอกสารการประเมินภาษีเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมศาล ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งในวันถัดมาว่า ให้โจทก์เสนอหลักฐานการประเมินภาษีเพื่อประกอบการคำนวณทุนทรัพย์ในการเสียค่าขึ้นศาลมาภายใน 5 วัน แล้วจะพิจารณาสั่ง แสดงให้เห็นว่า สาเหตุที่โจทก์มิได้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระต่อศาล เนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบจำนวนเงินค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องชำระให้ถูกต้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมศาลเป็นครั้งที่สองอ้างว่า โจทก์ได้ไปติดตามเอกสารจากสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เชียงใหม่แล้ว ได้รับแจ้งว่าต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน ย่อมเป็นอำนาจของศาลภาษีอากรกลางที่จะพิจารณาว่ามีเหตุจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะเวลาส่งเอกสารตามที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 19 หรือไม่ ซึ่งหากเห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นที่จะขยายระยะเวลาส่งเอกสารให้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควรเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง และทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลภาษีอากรกลางต้องพิจารณาจากหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับ คดีนี้ทุนทรัพย์ที่ปรากฏในหนังสือแจ้งการประเมิน 43,927,464.47 บาท แต่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกคำร้องโจทก์ทั้งสองฉบับและมีคำสั่งไม่รับฟ้องพร้อมกันไปในวันเดียวกัน โดยโจทก์ไม่มีเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลได้ ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจงใจขัดขืนไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4633/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีลายมือชื่อ ศาลมีอำนาจไม่รับฟ้องและเพิกถอนกระบวนการ
คำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) หากโจทก์หรือทนายโจทก์ไม่แก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ลงลายมือชื่อในคำฟ้องภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้ย่อมเป็นการไม่ชอบ มีผลทำให้กระบวนพิจารณาภายหลังจากนั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไปด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12714/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญา: ข้อจำกัดการฟ้อง, ความผิดฐานฟอกเงิน, และการไม่รับฟ้องคดีแพ่ง
จำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ การที่จำเลยทั้งสองขอแก้คำให้การเป็นให้การปฏิเสธ โดยอ้างเหตุเพียงว่าบุคคลภายนอกที่ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยทั้งสองไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีพยานหลักฐานที่จะแสดงได้ว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองแก้คำให้การได้
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท ช. แจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารของบริษัทดังกล่าว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดหรือร่วมกระทำความผิด อันเป็นการประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วยและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 กับฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ที่โจทก์เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาหุ้นต่อหน่วยรวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองฐานตามฟ้อง จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้ในคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องอันเป็นการรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วยจึงเป็นการมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท ช. แจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารของบริษัทดังกล่าว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดหรือร่วมกระทำความผิด อันเป็นการประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วยและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 กับฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ที่โจทก์เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาหุ้นต่อหน่วยรวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองฐานตามฟ้อง จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้ในคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องอันเป็นการรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วยจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรและคำสั่งศาล ทำให้ศาลไม่รับฟ้องคดี
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์ส่งคำอุทธรณ์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 10 วัน แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ศาลภาษีอากรกลางชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 17, 20 ประกอบข้อกำหนด ฯ ข้อ 12
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีอำนาจยึดและอายัดทรัพย์เพราะเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้ว นั้น เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรและคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางภายในเวลาที่กำหนด และศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีอำนาจยึดและอายัดทรัพย์เพราะเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้ว นั้น เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรและคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางภายในเวลาที่กำหนด และศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5261/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมไม่รับฟ้องด้วยเหตุผลเดียวกัน การฟ้องคดีใหม่จึงเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 281/2546 ของศาลชั้นต้น โดยบรรยายฟ้องว่า ประมาณปี 2522 โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1859 หมู่ 8 ตำบลสุขเดือนห้า อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์แล้ว แต่ยังมิได้โอนทางทะเบียน ต่อมาประมาณปี 2523 โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาทโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ในการโอนแต่ทางราชการไม่ได้สร้างโรงเรียนบนที่ดินพิพาทตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์จึงขอคืนที่ดินแปลงดังกล่าวจากจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ ซึ่งเป็นผู้ดูแลที่ดินพิพาท แต่จำเลยที่ 4 ในคดีนี้แจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากหลักฐานปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ยกให้ โจทก์จึงขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดำเนินการเพิกถอนการให้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกเฉย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง ซึ่งเป็นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์แล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัย อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดีแล้ว การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้โดยบรรยายฟ้องอย่างเดียวกันกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องที่มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องหรือประเด็นที่วินิจฉัยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 281/2546 ของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่มีลายมือชื่อ & หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้อง ศาลสั่งไม่รับฟ้อง ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ไม่โต้แย้ง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับฟ้องและสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง คดีนี้เมื่อหนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้อง การแต่งทนายความก็ไม่ถูกต้องไปด้วย ทนายความผู้นั้นจึงไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ ซึ่งเท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแล้ว โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น ทั้งโจทก์เองก็ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปโดยได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องไว้ก่อนแล้วแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต แสดงว่าโจทก์พอใจในคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแล้ว คดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อโจทก์ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: ทุนทรัพย์เกิน 3 แสนบาท ทำให้ศาลต้องไม่รับฟ้อง
เขตอำนาจของศาลแขวงในส่วนคดีแพ่งมีบัญญัติไว้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ว่ามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 300,000 บาท รวมทั้งเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดถึงวันฟ้องและนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จ จำนวนเงินที่ฟ้องอันถือเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องในศาลชั้นต้นย่อมต้องรวมถึงดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อคำนวณค่าเสียหายรวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องแล้วคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องมาเกินกว่าสามแสนบาท จึงเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวซึ่งศาลชั้นต้นต้องสั่งไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องและพิจารณาพิพากษาคดีจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฟ้องคดีนี้ เป็นผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยทั้งสองถูกลบล้างไป อันเป็นการสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งสองศาลและค่าธรรมเนียมใช้แทนแก่โจทก์ชอบแล้ว
เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฟ้องคดีนี้ เป็นผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยทั้งสองถูกลบล้างไป อันเป็นการสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งสองศาลและค่าธรรมเนียมใช้แทนแก่โจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7353/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลสั่งไม่รับฟ้องคดีเกินอำนาจศาลแขวง หลังประเมินราคาทรัพย์สินใหม่พบทุนทรัพย์สูงกว่าเกณฑ์
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลชั้นต้นดำเนินการประเมินราคาสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทและอาคารซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวตามคำสั่งศาลฎีกาว่า สิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมีมูลค่า 1,218,982.33 บาท ส่วนอาคารซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าว หักค่าเสื่อมราคาแล้วมีมูลค่า 204,624 บาท โดยคู่ความมิได้คัดค้านราคาประเมินดังกล่าว คดีนี้จึงมีทุนทรัพย์ที่ฟ้องเกินกว่า 300,000 บาท อันทำให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลชั้นต้นต้องสั่งไม่รับฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีนี้ตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องจนถึงคดีเสร็จการพิจารณาและพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่ 1 ที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ อีกทั้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ตามมาก็ไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม) เห็นสมควรให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดตั้งแต่ชั้นรับฟ้องเป็นต้นไป