พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนแบบโดยไม่สุจริต และการอาศัยชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าผู้อื่น
จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบินเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2534 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จึงมีคำสั่งให้โฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านลงวันที่ 4 ตุลาคม 2534 ถือได้ว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนวันที่ 14กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงต้องด้วย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา119 (2) ซึ่งบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎ จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบิน เป็นการแอบอ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์และลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ยกคำคัดค้านของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอด มีปีกประกอบทั้งด้านซ้ายและขวา และมีอักษรไทยประดิษฐ์คำว่า"ตรามงกุฎบิน" อยู่ข้างล่าง ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสองชั้นทึบยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดอยู่ในกรอบวงกลมสองชั้นโดยมีอักษรไทยคำว่า SIAM CITY CEMENT CO.,LTD.วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก17 ชนิดสินค้าปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีสาระสำคัญอยู่ที่มงกุฎห้ายอด ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรามงกุฎ แม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปปีกอยู่ข้างมงกุฎทั้งสองด้าน ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่ไม่สำคัญมากนัก ส่วนอักษรไทยคำว่า ตรามงกุฎบิน ก็มีขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกต ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าน้ำยาเคมีใช้ผสมปูนซีเมนต์นั้นเป็นของจำเลย แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 1 ต่างกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 17 แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎมานาน จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนมาแล้ว 20 ปี จำเลยเคยยื่นคำขอจดะทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้ และจำเลยเคยใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีของโจทก์กับสินค้าของจำเลยจนถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าและถูกศาลลงโทษไปแล้ว เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรี รูปเพชร และรูปสิงโต ใช้กับสินค้าปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีเพชรมีปีก และสิงโตคู่เหยียบลูกโลก ใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์เป็นคู่ ๆ โดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎ จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบิน เป็นการแอบอ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์และลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ยกคำคัดค้านของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอด มีปีกประกอบทั้งด้านซ้ายและขวา และมีอักษรไทยประดิษฐ์คำว่า"ตรามงกุฎบิน" อยู่ข้างล่าง ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสองชั้นทึบยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดอยู่ในกรอบวงกลมสองชั้นโดยมีอักษรไทยคำว่า SIAM CITY CEMENT CO.,LTD.วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก17 ชนิดสินค้าปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีสาระสำคัญอยู่ที่มงกุฎห้ายอด ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรามงกุฎ แม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปปีกอยู่ข้างมงกุฎทั้งสองด้าน ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่ไม่สำคัญมากนัก ส่วนอักษรไทยคำว่า ตรามงกุฎบิน ก็มีขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกต ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าน้ำยาเคมีใช้ผสมปูนซีเมนต์นั้นเป็นของจำเลย แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 1 ต่างกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 17 แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎมานาน จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนมาแล้ว 20 ปี จำเลยเคยยื่นคำขอจดะทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้ และจำเลยเคยใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีของโจทก์กับสินค้าของจำเลยจนถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าและถูกศาลลงโทษไปแล้ว เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรี รูปเพชร และรูปสิงโต ใช้กับสินค้าปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีเพชรมีปีก และสิงโตคู่เหยียบลูกโลก ใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์เป็นคู่ ๆ โดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าเดิม และการกระทำโดยไม่สุจริต
จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบินเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2534 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จึงมีคำสั่งให้โฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านลงวันที่ 4 ตุลาคม 2534 ถือได้ว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534มาตรา 119(2) ซึ่งบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎ จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎ เป็นการแอบอ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์และลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ยกคำคัดค้านของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 โจทก์มีอำนาจฟ้อง เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอด มีปีกประกอบทั้งด้านซ้ายและขวา และมีอักษรไทยประดิษฐ์คำว่า "ตรามงกุฎบิน" อยู่ข้างล่าง ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสองชั้นทึบยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดอยู่ในกรอบวงกลมสองชั้นโดยมีอักษรไทยคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก 17 ชนิดสินค้าปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีสาระสำคัญอยู่ที่มงกุฎห้ายอด ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรามงกุฎแม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปปีกอยู่ข้างมงกุฎทั้งสองด้าน ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่ไม่สำคัญมากนัก ส่วนอักษรไทยคำว่า ตรามงกุฎบินก็มีขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าน้ำยาเคมีใช้ผสมปูนซีเมนต์นั้นเป็นของจำเลย แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 1 ต่างกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 17 แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎมานานจำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนมาแล้ว 20 ปี จำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้และจำเลยเคยใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีของโจทก์กับสินค้าของจำเลยจนถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าและถูกศาลลงโทษไปแล้ว เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรี รูปเพชร และรูปสิงโตใช้กับสินค้าปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีเพชรมีปีก และสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์เป็นคู่ ๆ โดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนกับสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนรถยนต์ที่ทำไปโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้ยักย้ายรถยนต์คันพิพาทจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่2โดยไม่สุจริตจำเลยที่1ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับให้ชำระหนี้ได้การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียเปรียบขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนโอนรถยนต์บรรทุกเป็นโมฆะคำฟ้องของโจทก์พอจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่1กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจึงไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต และการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าผู้อื่น
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า MINMAXจำเลยที่ 1 รู้อยู่ก่อนแล้วโดยการทักท้วงของ ม.ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้า MICMAC ของโจทก์ที่ ม.เป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนให้ก่อนแล้วอย่างมาก เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยเป็นพนักงานขายสินค้าของโจทก์มานาน 10 ปี และเคยเป็นผู้ดูแลการผลิตสินค้าของโจทก์ จึงมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1 ต้องการใช้ประสบการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาผลิตสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ และพยายามจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ให้ใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนที่เคยรู้จักคุณภาพหรือเคยใช้สินค้าของโจทก์สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตมาแต่แรก แม้จำเลยที่ 1 จะได้ความคิดเรื่องเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จากการดูรายการข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์แล้วนำคำว่า MIN ซึ่งย่อมาจากคำว่า MINIMUM และคำว่า MAX ซึ่งย่อมาจากคำ MAXIMUM มารวมเป็นคำว่า MINMAX ก็ตาม เครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนก็ยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้ นับได้ว่าจำเลยที่ 1 ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงชอบที่จะคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 และมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1งดใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ทั้งมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าระงับหรือเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ใช้คำโรมัน 2 คำ มาประกอบกันแล้วอ่านหรือเรียกขานว่า MINMAX ประกอบด้วยอักษรโรมัน 6 ตัวขึ้นต้นพยางค์แรกด้วยอักษร MI และลงท้ายพยางค์หลังด้วยอักษร MA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่อ่านหรือเรียกขานว่า MICMAC ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2518 เมื่อเปรียบเทียบตัวอักษรตัวต่อตัวแล้วจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันมากถึงขนาดที่คนทั่วไปแม้จะสามารถอ่านอักษรโรมันได้แต่ถ้าไม่ได้สังเกตให้ดีแล้วจะต้องเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนที่ไม่สามารถอ่านหรือไม่รู้จักตัวอักษรโรมันด้วยแล้วจะไม่สามารถแยกข้อแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยที่ 1 พยางค์แรกคือคือว่า MIC และ MIN จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "มิค" กับ "มิน" เพื้ยนกันเล็กน้อย ส่วนพยางค์หลังคือคือว่า MACและ MAX จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "แม็ก" หรือ "แม็กซ์" เหมือนกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร M ประดิษฐ์ประกอบอยู่ด้วย ก็เป็นข้อแตกต่างปลีกย่อย มิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลย-ที่ 1 เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ใช้คำโรมัน 2 คำ มาประกอบกันแล้วอ่านหรือเรียกขานว่า MINMAX ประกอบด้วยอักษรโรมัน 6 ตัวขึ้นต้นพยางค์แรกด้วยอักษร MI และลงท้ายพยางค์หลังด้วยอักษร MA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่อ่านหรือเรียกขานว่า MICMAC ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2518 เมื่อเปรียบเทียบตัวอักษรตัวต่อตัวแล้วจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันมากถึงขนาดที่คนทั่วไปแม้จะสามารถอ่านอักษรโรมันได้แต่ถ้าไม่ได้สังเกตให้ดีแล้วจะต้องเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนที่ไม่สามารถอ่านหรือไม่รู้จักตัวอักษรโรมันด้วยแล้วจะไม่สามารถแยกข้อแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยที่ 1 พยางค์แรกคือคือว่า MIC และ MIN จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "มิค" กับ "มิน" เพื้ยนกันเล็กน้อย ส่วนพยางค์หลังคือคือว่า MACและ MAX จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "แม็ก" หรือ "แม็กซ์" เหมือนกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร M ประดิษฐ์ประกอบอยู่ด้วย ก็เป็นข้อแตกต่างปลีกย่อย มิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลย-ที่ 1 เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ไม่สุจริต
โจทก์ใช้สิทธิขอซื้อที่นาพิพาทคืนโดยยื่นคำร้องขอต่อประธานคชก. ตำบล และทำหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแล้ว จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองทราบเรื่องที่โจทก์ขอซื้อที่นาพิพาทคืน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำไม่สุจริตการที่โจทก์มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 เมื่อจำเลยที่ 1 โอนที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อที่นาพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาที่นาพิพาทคืนศาลฎีกากำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาได้
ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาที่นาพิพาทคืนศาลฎีกากำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเมื่อผู้ขายทราบสิทธิซื้อคืนของผู้เช่าและกระทำการโดยไม่สุจริต
โจทก์ใช้สิทธิขอซื้อที่นาพิพาทคืนโดยยื่นคำร้องขอต่อประธานคชก.ตำบลและทำหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแล้วจำเลยที่1ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่2โดยจำเลยทั้งสองทราบเรื่องที่โจทก์ขอซื้อที่นาพิพาทคืนการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำไม่สุจริตการที่โจทก์มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54เมื่อจำเลยที่1โอนที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่2โดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อที่นาพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาที่นาพิพาทคืนศาลฎีกากำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมสัดส่วนเท่ากัน-การโอนสิทธิโดยไม่สุจริต-ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเหนือผู้โอน
การจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 และ จ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน มิได้บรรยายส่วนสัดไว้แต่ต้นว่าแต่ละคนมีส่วนถือกรรมสิทธิ์แตกต่างกันเป็นเช่นนี้มาตลอดนับแต่ซื้อมาจนกระทั่งมีการจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2นับรวมได้เป็นเวลา 20 ปีเศษ แสดงว่าเจ้าของรวมแต่ละคนไม่ติดใจในส่วนสัดของที่ดินพิพาทที่ปรากฏทางทะเบียนโฉนดที่ดินแต่อย่างใด จึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 1357 แห่ง ป.พ.พ.ที่บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
จำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่ 1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริต แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ไม่ เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่ 1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริต แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 ไม่ เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้จัดการมรดก และสิทธิในที่ดินร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่1จำเลยที่1และจ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันมิได้บรรยายส่วนสัดไว้แต่ต้นว่าแต่ละคนมีส่วนถือกรรมสิทธิ์แตกต่างกันมาเช่นนี้มาตลอดนับแต่ซื้อมาจนกระทั่งมีการจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่2นับรวมได้เป็นเวลา20ปีเศษแสดงว่าเจ้าของรวมแต่ละคนไม่ติดใจในส่วนสัดของที่ดินพิพาทที่ปรากฎทางทะเบียนโฉนดที่ดินแต่อย่างใดจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา1357แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน จำเลยที่1รู้ว่าโจทก์ที่1ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้นดังนั้นการที่จำเลยที่1ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่1ให้แก่จำเลยที่2จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริตแม้จำเลยที่2จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่2ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่1ไม่เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนจำเลยที่2ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีซ้ำซ้อนและการดำเนินคดีโดยสมยอม: สิทธิฟ้องไม่ระงับหากเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่า คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเด็กหญิง ส.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้ มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชาย ว.ผู้เสียหายคดีนี้ เด็กหญิง ส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลย เมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลย อีกทั้งเด็กหญิง ส.โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วย และในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนาง ส.มารดาเด็กหญิง ส.ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ หากฟังได้ว่าเป็นความจริง ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 กรรมเดียวกันนี้ จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ใหม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522มาตรา 38, 160 วรรคสอง ยังไม่ระงับ แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่า คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเด็กหญิง ส.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้ มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชาย ว.ผู้เสียหายคดีนี้ เด็กหญิง ส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลย เมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลย อีกทั้งเด็กหญิง ส.โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วย และในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนาง ส.มารดาเด็กหญิง ส.ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ หากฟังได้ว่าเป็นความจริง ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 กรรมเดียวกันนี้ จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ใหม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522มาตรา 38, 160 วรรคสอง ยังไม่ระงับ แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9052/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถเช่าซื้อของผู้ให้เช่าซื้อโดยไม่สุจริตและข้อจำกัดในการฎีกา
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า การที่ผู้ร้องติดตามรถจักรยานยนต์คืนเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายนั้น ผู้ร้องเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์ที่เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชดใช้เงินค่าเช่าซื้อที่ยังคงค้างชำระอยู่ทั้งสิ้นหากปรากฏว่าทรัพย์ที่เช่าซื้อชำรุดเสียหายหรือบุบสลาย ผู้เช่าซื้อยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ทั้งสิ้น ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่ง ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อ เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิครอบครองรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อต่อไป ผู้ร้องเพิ่งได้มอบอำนาจให้ จ.ติดตามยึดรถจักรยานยนต์คืนหลังจากรถจักรยานยนต์ถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้แล้วถึง 4 เดือนเศษ และหลังจากผู้เช่าซื้อขาดส่งค่าเช่าซื้อเป็นเวลา 8 เดือนเศษ โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อนนอกจากนี้หากผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระครบถ้วน ผู้ร้องก็ยินยอมให้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวต่อไป จึงแสดงว่าผู้ร้องไม่มีความประสงค์จะยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืนจากผู้เช่าซื้อแต่ประการใด พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าผู้ร้องร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์ที่เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชดใช้เงินค่าเช่าซื้อที่ยังคงค้างชำระอยู่ทั้งสิ้นหากปรากฏว่าทรัพย์ที่เช่าซื้อชำรุดเสียหายหรือบุบสลาย ผู้เช่าซื้อยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ทั้งสิ้น ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่ง ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อ เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิครอบครองรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อต่อไป ผู้ร้องเพิ่งได้มอบอำนาจให้ จ.ติดตามยึดรถจักรยานยนต์คืนหลังจากรถจักรยานยนต์ถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้แล้วถึง 4 เดือนเศษ และหลังจากผู้เช่าซื้อขาดส่งค่าเช่าซื้อเป็นเวลา 8 เดือนเศษ โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อนนอกจากนี้หากผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระครบถ้วน ผู้ร้องก็ยินยอมให้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวต่อไป จึงแสดงว่าผู้ร้องไม่มีความประสงค์จะยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืนจากผู้เช่าซื้อแต่ประการใด พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าผู้ร้องร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง