คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
10 ปี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เงินบำเหน็จตาม ข้อบังคับองค์การทอผ้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ. 2521 เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานที่ออกจากงาน มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้พนักงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานประจำเป็นรายวัน ถือ ไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตาม ข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลย เงินบำเหน็จจึงไม่มีลักษณะเช่นเดียว กับค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ ภายใน 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5961/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: เจตนาเป็นเจ้าของต้องแสดงออกชัดเจนและต่อเนื่องครบ 10 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์
แม้เมื่อบิดาโจทก์ตาย โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยโดยสืบสิทธิจากบิดาติดต่อกันมาประมาณ 40 ปี แต่เมื่อโจทก์เพียงแต่ล้อมรั้วบ้านเพื่อป้องกันขโมย มิได้ล้อมเพื่อแบ่งเขตที่ดิน และโจทก์ไม่เคยแจ้งเสียภาษีบำรุงท้องที่เลย การกระทำของโจทก์จึงเท่ากับว่าโจทก์มิได้แสดงตนเป็นปรปักษ์ต่อการครอบครองของจำเลยแต่การที่โจทก์มอบให้บุตรสาวไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจเรื่องจำเลยปลูกต้นกล้วย ในที่ดินที่โจทก์ครอบครอง ถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะเปลี่ยนลักษณะการครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5907/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากการผิดสัญญาจ้างและละเมิด: ใช้ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เมื่อการกระทำของลูกจ้างเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างย่อมมีสิทธิเลือกฟ้องได้ สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษ ดังนั้น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกจ้างรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4992/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้ค้ำประกัน: ไม่ใช่มูลละเมิด ใช้ ป.พ.พ. มาตรา 164 (10 ปี)
โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 4 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าขายสินค้าของโจทก์ไป มิใช่เป็นการฟ้องให้รับผิดในค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ซึ่งจะใช้อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 การฟ้องผู้ค้ำประกันเช่นนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นโจทก์มีสิทธิฟ้องได้ภายใน 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก: ต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง และระยะเวลา 10 ปีนับจากวันที่ครอบครอง
ที่ดินมรดกซึ่งมีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลนั้น เมื่อยังรับฟังไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งแยกกันครอบครองเป็นสัดส่วน ต้องฟังว่าที่ดินมรดกยังอยู่ในระหว่างจัดการมรดกและถือว่าบรรดาทายาทที่ครอบครองที่ดินแปลงนี้อยู่ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย หาใช่ครอบครองเพื่อตนเองไม่ ดังนั้น ผู้ร้องที่ 1จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้ร้องที่ 2 ได้ซื้อที่ดินมรดกซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทจากผู้ร้องที่ 1 โดยทำสัญญาซื้อขายกันเอง และผู้ร้องที่ 2 ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา แต่นับถึงวันยื่นคำร้องคดีนี้ยังไม่ถึง 10ปี ดังนี้ ผู้ร้องที่ 2 ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลอื่น: อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 มิใช่ 2 ปี
บริษัท พ. มีหนี้ต้อง ชำระต่อ โจทก์ จำเลยซึ่ง เป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตน เข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่ง คู่สัญญากระทำด้วย ความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อ กฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้ บังคับได้ และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้อง ใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา164 หาใช่มีอายุความ 2 ปี ตาม มูลหนี้ เดิมไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี: การยึดทรัพย์ลูกหนี้รายบุคคลต้องดำเนินการภายในกำหนด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินวิธีการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกำหนดสิบปี คือ ต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีก่อน ขั้นต่อไปต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ถ้ามีลูกหนี้หลายคนให้ระบุว่าต้องการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้คนใด บทบัญญัตินี้ไม่ได้หมายความว่าโจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว โจทก์จะดำเนินวิธีการบังคับคดีอย่างไรต่อไปเมื่อพ้นกำหนดเวลาสิบปีไปแล้วก็ได้ ซึ่งเป็นผลให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกบังคับคดีโดยไม่มีกำหนดเวลา เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวและนำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 โดยมิได้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เป็นครั้งแรกเมื่อพ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี: การยึดทรัพย์ลูกหนี้หลายรายต้องทำภายในระยะเวลาที่กำหนด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินวิธีการบังคับตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกำหนดสิบปี คือ ต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีก่อน ขั้นต่อไปต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้วจากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ถ้ามีลูกหนี้หลายคนให้ระบุว่าต้องการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้คนใด บทบัญญัตินี้ไม่ได้หมายความว่าโจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วโจทก์จะดำเนินวิธีการบังคับคดีอย่างไรต่อไปเมื่อพ้นกำหนดเวลาสิบปีไปแล้วก็ได้ ซึ่งเป็นผลให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกบังคับคดีโดยไม่มีกำหนดเวลา เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวและนำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 โดยมิได้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เป็นครั้งแรกเมื่อพ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3735/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายผิดสัญญา: ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขายไม่ชำระราคารถยนต์ตามกำหนดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยใช้เงินที่ขาดจำนวนตามสัญญาซื้อขายหลังจากที่ขายรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นแล้วจำนวนหนึ่ง กับค่าขาดประโยชน์ที่จะให้บุคคลอื่นเช่าซื้อรถยนต์อีกจำนวนหนึ่ง เงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลจากการเลิกสัญญา ไม่ใช่ค่าส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) และกรณีเช่นนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติในเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำให้การขอจำเลยที่ 2 ที่ต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลหรือไม่ โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีหรือไม่ ไม่ทราบ ไม่รับรองหนังสือรับรองนิติบุคคลและใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี จำเลยปฏิเสธ นั้น เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า จำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น หรือแต่บางส่วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดี: การยื่นคำขอภายใน 10 ปีนับจากวันพิพากษา เพียงพอ แม้การยึดทรัพย์เกิน 10 ปี
ป.วิ.พ. มาตรา 271 บังคับให้ฝ่ายชนะคดียื่นคำร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปี หาใช่บังคับคดีให้เสร็จภายใน 10 ปีไม่ เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอหมายบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษาแล้ว แม้จะมีการยึดทรัพย์หลังจากล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปีเนื่องจากหาที่ดินที่จำเลยจำนองไว้ไม่พบ ก็ยังคงอยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดี สิทธิของโจทก์ในการที่จะให้มีการบังคับคดียังคงมีอยู่จนกว่าจะมีการบังคับคดีเสร็จสิ้น จำเลยจึงไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนการบังคับคดีได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 17