คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกในการยื่นคำให้การและฟ้องแย้งต้องดำเนินการโดยเสียงข้างมาก หรือรอคำชี้ขาดจากศาล
การยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง และในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 ที่ให้กระทำการโดยถือเอาเสียงข้างมากถ้าเสียงเท่ากันก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำให้การและฟ้องแย้งในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพียงลำพัง จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างเหตุความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างจำเลยทั้งสองหรือความล่าช้าในการดำเนินการขอให้ศาลชี้ขาดหรือขอถอดถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เพราะจำเลยที่ 2 สามารถยื่นคำร้องต่อศาลแสดงเหตุขัดข้องดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลชี้ขาดหรือขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การและฟ้องแย้ง หรือขอให้ศาลรอฟังคำสั่งเกี่ยวกับการขอถอดถอนการเป็นผู้จัดการมรดกร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ขัดแย้งกันเอง & สิทธิในการสืบแก้พยานประเด็นอายุความ
คำให้การที่ขัดแย้งกันเองจะต้องเป็นคำให้การที่ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางและไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นเป็นไปในทางใดทางหนึ่ง คดีนี้จำเลยให้การตอนแรกว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงินหรือได้รับเงินจากบริษัท พ. แต่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินโดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ และบริษัท พ. กรอกข้อความและจำนวนเงินเองโดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม แม้จำเลยให้การตอนหลังว่า สัญญากู้เงินตามฟ้องไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ โจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา คดีโจทก์จึงขาดอายุความก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่จำเลยยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นการยอมรับว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินจากบริษัท พ. อันจะถือได้ว่าเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงหลายทาง ซึ่งไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน คำให้การของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกันเองและเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีย่อมมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์นำสืบว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 เพื่อให้เห็นว่าอายุความสะดุดหยุดลงตามเอกสารที่โจทก์นำมาแสดง จำเลยก็ย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบแก้ได้ว่า เอกสารที่โจทก์นำสืบเป็นเอกสารเกี่ยวกับการชำระหนี้รายอื่นไม่เกี่ยวกับสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ขัดแย้งกันเอง & สิทธิในการสืบพยานแก้คดีอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การตอนแรกว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญากู้เงินหรือได้รับเงินจากบริษัท พ. ที่ขายสินทรัพย์ให้โจทก์แต่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินโดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ และบริษัท พ. กรอกข้อความและจำนวนเงินเองโดยจำเลยที่ 1 มิได้รู้เห็นยินยอม อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม แม้จำเลยที่ 1 ให้การตอนหลังว่า สัญญากู้เงินตามฟ้องไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ โจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงขาดอายุความ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยกอายุความขึ้นตัดฟ้องโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นการยอมรับว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินจากบริษัท พ. อันจะถือได้ว่าเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเองและเป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง และคดีย่อมมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 เพื่อให้เห็นว่าอายุความสะดุดหยุดลงตามเอกสารที่โจทก์นำมาแสดง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบแก้ได้ว่า เอกสารที่โจทก์นำสืบเป็นเอกสารเกี่ยวกับการชำระหนี้รายอื่น มิใช่ว่าจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การเปลี่ยนแปลงได้หากไม่ขัดแย้งชัดเจนและยังอยู่ในอำนาจต่อสู้คดี ศาลต้องพิจารณาตามพฤติการณ์
จำเลยให้การตอนต้นว่า โจทก์ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่ พ. แล้ว พ. นำรถยนต์พิพาทมาขายให้จำเลย แต่ตอนหลังกลับให้การว่า พ. เป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทน เป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างคำฟ้องของโจทก์ในข้อเท็จจริง ซึ่งมีผลทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงตามที่จำเลยให้การต่อสู้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ พ. โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิให้การต่อสู้คดีไปตามพฤติการณ์แห่งข้อเท็จจริงเท่าที่จำเลยพึงให้การได้ ทั้งในการซื้อขาย เจ้าของทรัพย์อาจทำสัญญาซื้อขายโดยตนเองหรือโดยมีตัวแทนไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือปริยายทำการขายทรัพย์สินนั้นแทนก็ได้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันหรือไม่ชัดแจ้งจนถึงขนาดที่ไม่อาจนำสืบไปในทางหนึ่งทางใดได้ ถือว่าเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14892/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเอกสารแทนพยานบุคคล และการยกอายุความต้องแสดงเหตุผลชัดเจนในคำให้การ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้กู้ยืมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณา การที่โจทก์แถลงขอส่งหนังสือรับรองและหนังสือมอบอำนาจแทนการสืบพยานและศาลอนุญาตถือได้ว่าเป็นการให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่จำต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบ
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 จำเลยที่ 2 ต้องแสดงโดยชัดแจ้งด้วยว่าอายุความ 1 ปี นับแต่วันใดและโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความนั้นแล้วอย่างไร การที่จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เนื่องจากสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาค้ำประกันตกเป็นมรดกของ ศ. ตั้งแต่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2540 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องตามสัญญาค้ำประกันภายใน 1 ปี นับถึงวันฟ้องสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความนั้น จำเลยที่ 2 มิได้ระบุวันที่โจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ศ. ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความว่าเป็นวันที่เท่าใด จึงไม่ชัดแจ้งว่าอายุความเริ่มนับเมื่อวันที่เท่าใดและโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้วจริงหรือไม่ จำเลยที่ 2 จะอนุมานเอาจากข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของ ศ. ว่าเป็นวันใดก็ไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การ คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์หลังขาดนัดยื่นคำให้การ: ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่ในคดีแพ่งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยต้องยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ ทั้งจะต้องให้การโดยแจ้งชัดด้วยว่าฟ้องเคลือบคลุมอย่างไร มิฉะนั้นจะไม่เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึง ปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องการมอบอำนาจให้บอกกล่าวขับไล่จำเลยก็เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นทั้งสองเรื่องดังกล่าวในศาลชั้นต้น การที่จำเลยยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์คดีละเมิดลิขสิทธิ์: คำให้การเพิ่มเติมทางวาจาและบันทึกชั้นสอบสวนถือเป็นคำร้องทุกข์ที่มีรายละเอียดครบถ้วน
แม้ในบันทึกประจำวันผู้รับมอบอำนาจผู้เสียหายจะแจ้งเฉพาะชื่อและที่อยู่ของตน รวมทั้งการที่ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายในเขตพื้นที่ของสถานีตำรวจที่เกี่ยวข้อง แต่ผู้รับมอบอำนาจผู้เสียหายได้แจ้งด้วยวาจาเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ถึงสถานที่ที่ความผิดเกิด และเมื่อจับกุมผู้กระทำผิดได้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจผู้เสียหายได้ให้การเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำความผิด ความเสียหายที่ได้รับ และชื่อผู้กระทำผิด ถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายที่มีรายละเอียดครบถ้วนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) ประกอบด้วยมาตรา 123 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์มิชอบ
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควร จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยทั้งสองอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 กรณีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองมา ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสอง จึงมิชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ อุทธรณ์ระหว่างพิจารณาต้องห้าม
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควร จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 กรณีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10238/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานจากคำให้การในชั้นสอบสวนในคดีอาญา ต้องมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งและจำเลยต้องมีโอกาสซักค้าน
โจทก์มีเวลาที่จะติดตามตัวผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาลนับแต่วันฟ้องถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลา 5 เดือนเศษ ระหว่างนั้นศาลชั้นต้นได้นัดพร้อม 2 ครั้ง เพื่อตรวจสอบผลการส่งหมายแก่พยานโดยกำชับโจทก์ให้เร่งติดตามผู้เสียหายมาศาลในวันนัดให้ได้ แต่พนักงานสอบสวนแถลงต่อศาลลอยๆ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่ายังไม่ทราบที่อยู่ที่แน่ชัดของผู้เสียหาย ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง ศาลจึงไม่สามารถรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวน เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคท้าย ได้ คงรับฟังได้ในฐานะพยานบอกเล่าตามธรรมดาเท่านั้น
แม้จะได้ความจากเทปบันทึกภาพและเสียงคำให้การและบันทึกคำให้การของผู้เสียหาย ซึ่งผู้เสียหายให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่า ถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราหลายครั้งตั้งแต่ผู้เสียหายอายุได้ 10 ปีก็ตาม แต่การสอบสวนดังกล่าวมิได้กระทำต่อหน้าจำเลย จำเลยไม่มีโอกาสถ้ามค้านเพื่อให้ผู้เสียหายเบิกความถึงข้อเท็จจริงที่อาจเป็นการทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานดังกล่าวของโจทก์ได้ ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์มี ณ. เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดพังงา มาเบิกควายืนยันว่าผู้เสียหายเล่าข้อเท็จจริงให้ฟังสอดคล้องกับคำให้การของผู้เสียหาย ก็เห็นได้ชัดว่า ณ. ได้รับการบอกเล่ามาจากผู้เสียหายอีกทีหนึ่ง คำเบิกความของ ณ. จึงไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
เมื่อผู้เสียหายสมัครใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลย ผู้เสียหายก็น่าจะมาเบิกความต่อศาลให้เป็นที่สิ้นสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่ผู้เสียหายกล่าวหาจริง การที่โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล จึงทำให้พยานโจทก์ยังตกอยู่ในความสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่
of 72