คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 877 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินทดรองค่าจ้างทำของและการจ้างเหมา
โจทก์ว่าจ้างจำเลยทำไม้ โดยจำเลยผู้รับจ้างเป็นผู้ตัดฟันชักลาก ล่องนำไม้ไปส่งอู่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นการจ้างเหมา สัญญาจ้างนี้อยู่ในลักษณะจ้างทำของ
สิทธิเรียกร้องในการที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินทดรองค่าจ้างทำของที่จ่ายล่วงหน้าและเหลืออยู่ คืนจากจำเลยผู้รับจ้าง มีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำบล็อก: การประกอบอุตสาหกรรมตามมาตรา 165 (1) พ.ร.บ.แพ่งฯ
คำว่า "อุตสาหกรรม" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) ตอนท้าย นั้นหมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไป ทั้งนี้ โดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินค้าที่ประดิษฐ์ขึ้น และแม้จะไม่ได้จำหน่ายขายสินค้านั้นเอง เพียงแต่รับจ้างประดิษฐ์สิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้า ก็เป็นการประกอบอุตสาหกรรมของตนแล้ว
จำเลยเป็นตัวแทนโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่ตกลงว่าจ้างจำเลยให้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือประกาศโป๊สเตอร์ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด แล้วจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำบล๊อกต่าง ๆ เพื่อโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านนั้น ๆ โดยได้รับค่าจ้างจากผู้ว่าจ้าง คือ ค่าโฆษณากับค่าบล๊อกหรือของที่ว่าจ้างให้โจทก์ทำและจำเลยคิดเอาค่าธรรมเนียมจากหนังสือพิมพ์หรือสถานีวิทยุผู้รับโฆษณาราว 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของค่าโฆษณา ถ้าไม่ได้ก็คิดเอาจากบริษัทห้างร้านผู้ว่าจ้างให้โฆษณา ดังนี้ ของที่จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ทำไม่ใช่สินค้าและไม่มีการซื้อขายสิ่งของนั้นอย่างไรด้วย การรับจ้างของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการประกอบอุตสาหกรรม หรือเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) ตอนท้าย อายุความเรียกร้องค่าทำบล๊อกของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำบล็อก: การประกอบอุตสาหกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(1) ไม่ครอบคลุมการรับจ้างทำบล็อกเพื่อโฆษณา
คำว่า'อุตสาหกรรม' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ตอนท้าย นั้นหมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไป ทั้งนี้ โดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินค้าที่ประดิษฐ์ขึ้น และแม้จะไม่ได้จำหน่ายขายสินค้านั้นเอง เพียงแต่รับจ้างเขาประดิษฐ์สิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าก็เป็นการประกอบอุตสาหกรรมของตนแล้ว
จำเลยเป็นตัวแทนโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือประกาศโป๊สเตอร์ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด แล้วจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำบล๊อกต่าง ๆเพื่อโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านนั้น ๆ โดยได้รับค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างคือ ค่าโฆษณากับค่าบล๊อกหรือของที่ว่าจ้างให้โจทก์ทำและจำเลยคิดเอาค่าธรรมเนียมจากหนังสือพิมพ์หรือสถานีวิทยุผู้รับโฆษณาราว10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของค่าโฆษณา ถ้าไม่ได้ก็คิดเอาจากบริษัทห้างร้านผู้ว่าจ้างให้โฆษณา ดังนี้ ของที่จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ทำไม่ใช่สินค้า และไม่มีการซื้อขายสิ่งของนั้นอย่างไรด้วย การรับจ้างของจำเลยจึงไม่ใช่ เป็นการประกอบอุตสาหกรรมหรือเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)ตอนท้ายอายุความเรียกร้องค่าทำบล๊อกของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการดำเนินการฟ้องคดีโดยนิติบุคคล
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ซึ่งเป็นนิติบุคคล ทำสัญญาจ้างจำเลยตัดฟันชักลากไม้และจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้จำเลยไป จำเลยผิดสัญญา องค์การเรียกให้จำเลยใช้เงินคืนจำเลยไม่ใช้ องค์การจึงฟ้อง สิทธิเรียกร้องในกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องนายจ้างเรียกเอาเงินค่าจ้างอันตนได้จ่ายล่วงหน้าให้ไปจากบุคคลผู้รับจ้างใช้การงานส่วนบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (8) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี แต่อยู่ในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2511)
ผู้แทนนิติบุคคลซึ่งแสดงเจตนาฟ้องคดีและแต่งตั้งทนายแทนนิติบุคคลในนามนิติบุคคลเป็นโจทก์นั้น เมื่อได้ลงชื่อแต่งทนายให้ดำเนินคดีโดยชอบแล้ว ทนายก็มีอำนาจดำเนินคดีไปตลอดจนมีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาดังที่ปรากฏในใบแต่งทนาย แม้ผู้แทนนิติบุคคลนั้นจะถึงแก่ความตายไปแล้วก็ดี หรือฟ้องฎีกาของโจทก์ยังคงใช้ชื่อผู้แทนนิติบุคคลซึ่งถึงแก่ความตายในหน้าฟ้องก็ดี ไม่ทำให้ฎีกาของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการดำเนินการฟ้องคดีโดยนิติบุคคลหลังผู้มีอำนาจถึงแก่ความตาย
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ซึ่งเป็นนิติบุคคล ทำสัญญาจ้างจำเลยตัดฟันชักลากไม้และจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้จำเลยไปจำเลยผิดสัญญา องค์การเรียกให้จำเลยใช้เงินคืน จำเลยไม่ใช้ องค์การจึงฟ้อง สิทธิเรียกร้องในกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องนายจ้างเรียกเอาเงินค่าจ้างอันตนได้จ่ายล่วงหน้าให้ไปจากบุคคลผู้รับจ้างใช้การงานส่วนบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีแต่อยู่ในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2511)
ผู้แทนนิติบุคคลซึ่งแสดงเจตนาฟ้องคดีและแต่งตั้งทนายแทนนิติบุคคลในนามนิติบุคคลเป็นโจทก์นั้นเมื่อได้ลงชื่อแต่งทนายให้ดำเนินคดีโดยชอบแล้ว ทนายก็มีอำนาจดำเนินคดีไปตลอดจนมีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาดังที่ปรากฏในใบแต่งทนายแม้ผู้แทนนิติบุคคลนั้นจะถึงแก่ความตายไปแล้วก็ดี หรือฟ้องฎีกาของโจทก์ยังคงใช้ชื่อผู้แทนนิติบุคคลซึ่งถึงแก่ความตายในหน้าฟ้องก็ดีไม่ทำให้ฎีกาของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99-101/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทรวงมหาดไทยในการกำหนดจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามประกาศคณะปฏิวัติฯ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดการจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างนั้น คำว่า "ค่าจ้าง" มิได้มีบทนิยามไว้ จึงต้องเข้าใจตามความหมายสามัญ คือหมายถึงสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ หรือนัยหนึ่งหมายถึงสินจ้างที่ให้ตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง
ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ได้กำหนดบทนิยามคำว่า "ค่าจ้าง" "ค่าล่วงเวลา" และ "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" ขึ้นเพื่อสะดวกแก่การดำเนินให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้าง และหลักเกณฑ์การจ่ายต่างกับคำว่า "ค่าจ้าง" ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงมหาดไทย ส่วนที่บทนิยามคำว่า "ค่าจ้าง" ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยไม่รวม "ค่าล่วงเวลา" และ "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" เพราะได้มีบทนิยามไว้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ฉะนั้น คำว่า "ค่าล่วงเวลา" และ "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" จึงเป็นค่าจ้างตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกาศของกระทรวงหมาดไทยที่กำหนดการปฏิบัติในเรื่องการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อสินจ้างต่างกันไป จึงไม่ได้ออกนอกเหนืออำนาจที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 กำหนดให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99-101/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 และการนิยามค่าจ้าง รวมถึงค่าล่วงเวลา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดการจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างนั้น คำว่า'ค่าจ้าง' มิได้มีบทนิยามไว้ จึงต้องเข้าใจตามความหมายสามัญคือหมายถึงสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ หรือนัยหนึ่งหมายถึงสินจ้างที่ให้ตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง
ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ได้กำหนดบทนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง''ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' ขึ้นเพื่อสะดวกแก่การดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างและหลักเกณฑ์การจ่ายต่างกันไปตามเวลาหรือวันที่ลูกจ้างทำงานให้ คำว่า 'ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด'เป็นค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานเกินเวลาปกติ หรือทำงานในวันหยุดในอัตราพิเศษ อันมีลักษณะและหลักเกณฑ์ในการจ่ายต่างกับคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงมหาดไทยส่วนที่บทนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง'ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยไม่รวม'ค่าล่วงเวลา'และ 'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' เพราะได้มีบทนิยามไว้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ฉะนั้น คำว่า 'ค่าล่วงเวลา' และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' จึงเป็นค่าจ้างตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดการปฏิบัติในเรื่องการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อสินจ้างต่างกันไปจึงไม่ได้ออกนอกเหนืออำนาจที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 กำหนดให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99-101/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทรวงมหาดไทยในการกำหนดค่าจ้างและค่าล่วงเวลาตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดการจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างนั้น. คำว่า'ค่าจ้าง' มิได้มีบทนิยามไว้ จึงต้องเข้าใจตามความหมายสามัญ. คือหมายถึงสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้. หรือนัยหนึ่งหมายถึงสินจ้างที่ให้ตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง.
ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ได้กำหนดบทนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง''ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด'ขึ้นเพื่อสะดวกแก่การดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง. และหลักเกณฑ์การจ่ายต่างกันไปตามเวลาหรือวันที่ลูกจ้างทำงานให้ คำว่า 'ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด'เป็นค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานเกินเวลาปกติ หรือทำงานในวันหยุดในอัตราพิเศษ. อันมีลักษณะและหลักเกณฑ์ในการจ่ายต่างกับคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงมหาดไทย. ส่วนที่บทนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง'ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยไม่รวม.'ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' เพราะได้มีบทนิยามไว้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ฉะนั้น คำว่า 'ค่าล่วงเวลา' และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' จึงเป็นค่าจ้างตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดการปฏิบัติในเรื่องการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อสินจ้างต่างกันไป. จึงไม่ได้ออกนอกเหนืออำนาจที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 กำหนดให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความ: การกำหนดค่าจ้างและการหักค่าใช้จ่าย ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ
สัญญาจ้างว่าความ ซึ่งมีใจความว่า จำเลยจ้างโจทก์ให้ว่าความสองสำนวนค่าจ้าง 750,000 บาท ชำระเมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะ ถ้าจำเลยแพ้ จำเลยไม่ต้องชำระค่าจ้างนี้ ถ้าจำเลยจะต้องเสียค่าไถ่ถอนที่ดินและค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับคดีเท่าใด จำเลยลดเงินนี้หนึ่งในสามจากค่าจ้างได้ สัญญานี้ไม่ใช่สัญญาเข้าเป็นทนายว่าต่างแก้ต่างโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาท อันจะพึงได้แก่ลูกความ จึงไม่ขัดกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477มาตรา 12 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความ: ค่าจ้างที่แน่นอนและการหักค่าใช้จ่ายไม่ขัดต่อกฎหมายทนายความ
สัญญาจ้างว่าความ ซึ่งมีใจความว่า จำเลยจ้างโจทก์ให้ว่าความสองสำนวนค่าจ้าง 750,000 บาท ชำระเมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะ ถ้าจำเลยแพ้ จำเลยไม่ต้องชำระค่าจ้างนี้ ถ้าจำเลยจะต้องเสียค่าไถ่ถอนที่ดินและค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับคดีเท่าใด จำเลยลดเงินนี้หนึ่งในสามจากค่าจ้างได้ สัญญานี้ไม่ใช่สัญญาเข้าเป็นทนายว่าต่างแก้ต่างโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาท อันจะพึงได้แก่ลูกความ จึงไม่ขัดกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477มาตรา 12(2)
of 88