คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4534/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย: พยานหลักฐานต้องน่าเชื่อถือและนำเสนอในเวลาที่ถูกต้อง
เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงหรือนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่ามูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริง และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้กู้ยืมเงินแต่พยานของเจ้าหนี้ไม่ใช่ผู้รู้เห็นในการทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย) ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมีข้อความว่าลูกหนี้สัญญาจะจ่ายเงินจำนวนที่ระบุในตั๋วแต่ละฉบับให้แก่เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ยไม่อาจถือเอาตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ทั้งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้อ้างว่าให้ลูกหนี้กู้ยืมเฉพาะต้นเงินมีจำนวนมากถึง 1,385,061,779.44 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการเรียกให้ลูกหนี้จัดหาหลักประกันการชำระหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่เจ้าหนี้ ส่วนเอกสารงบการเงินและบัญชีเจ้าหนี้ไม่มีประกันของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้แนบท้ายคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการอ้างเอกสารเข้ามาภายหลังที่เจ้าหนี้แถลงหมดพยานในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่ชอบที่เจ้าหนี้จะนำเอกสารดังกล่าวมาอ้างในภายหลังได้ พยานหลักฐานของเจ้าหนี้จึงไม่มีน้ำหนักและเหตุผลที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่ามูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริง และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเพิกถอนการขายทอดตลาด: การบังคับคดีไม่เสร็จสิ้นและหน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดี
การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ส่งหมายแจ้งวันประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 2 ทราบ การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และมาตรา 306 จำเลยที่ 2 มิได้ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควร และการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง อันจะทำให้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นที่สุด ตามมาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 296 มิได้บัญญัติให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นที่สุด จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 หาได้ถึงที่สุดไม่
ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2) และมาตรา 316 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 วรรคหนึ่ง และการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 318 หากเจ้าพนักงานบังคับคดียังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น จะถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์เนื่องจากยังไม่ได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ดังนี้ จึงถือว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2) จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์นี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3798/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการแจ้งการขายทอดตลาด: ผู้มีส่วนได้เสียและขอบเขตหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่แจ้งคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและวันขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนซึ่งก็คือจำเลยที่ 3 เท่านั้น จำเลยที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องแจ้งวันขายทอดตลาดแก่จำเลยที่ 1 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินตามวันเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้ในประกาศที่ได้แจ้งแก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการระบายน้ำในที่ดินของผู้อื่น และหน้าที่ของเจ้าของที่ดินในการยอมรับน้ำจากที่สูงกว่า
ตามสำเนาโฉนดที่ดินระบุว่า ที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองทุกด้านติดต่อกับที่ดินแปลงอื่นไม่ปรากฏว่ามีลำรางสารธารณะติดที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าลำรางร่องเหมืองหรือร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะ แต่เป็นร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสอง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินสูง ส่วนที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินต่ำตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ระบายน้ำฝนตามธรรมชาติจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองไปสู่ลำน้ำเสียวจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องยอมรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และ 1340 วรรคหนึ่ง ดังนี้ไม่ว่าโจทก์และประชาชนจะใช้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นเวลานานเพียงใดก็หาทำให้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองกลายเป็นลำรางสาธารณะหรือตกเป็นภาระจำยอมไม่ แต่การที่จำเลยทั้งสองไถดินกลบลำรางร่องน้ำพิพาท เป็นเหตุให้น้ำท่วมขังที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำที่พิพาทให้เป็นลำรางระบายน้ำตามเดิมได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม แต่ฟ้องโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงโดยได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นไว้ชัดเจนแล้วว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินได้รับความเสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางร่องน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหลจากบริเวณที่ดินของโจทก์ผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่ลำน้ำเสียว อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ลำรางร่องน้ำพิพาทได้กับมีคำขอไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดีเองเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1340 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6014/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา: การระบุเวลาการกระทำผิดและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุเวลากระทำผิด แต่จำเลยเป็นพนักงานอัยการก็เห็นได้ว่าหมายถึงระหว่างเวลาปฏิบัติราชการตามปกตินั่นเอง ซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ดำเนินการเกี่ยวกับคดีของโจทก์ข้างต้นในวันเวลาใด เพราะจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับคดีของโจทก์ดังกล่าวด้วยตนเอง คำฟ้องของโจทก์มีรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2550

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอุทธรณ์
เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่ชอบ แต่อย่างใดก็ตามเมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องจึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10431/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์เสียเอง จึงไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็วจึงวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยให้เสร็จไปว่า คำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางต่อศาลชั้นต้น มิได้นำเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 ให้ยกคำร้อง จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง คู่ความฎีกาต่อไปอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่เบียดบังเงินของราชการ แม้ไม่มีหน้าที่จัดการรักษาเงินโดยตรง ก็มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การออกบันทึกข้อความหนังสือเวียนเพื่อให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่รับเงินนำส่งมาให้ จ. จัดการหรือรักษาทรัพย์ไว้ หาได้เป็นบันทึกมอบหมายให้จำเลยมีหน้าที่จัดการหรือรักษาเงินนั้นด้วยไม่ เมื่อจำเลยมิได้มีหน้าที่จัดการหรือรักษาเงินของผู้เสียหาย การที่จำเลยเบียดบังยักยอกเงินของผู้เสียหายที่จำเลยรับมาตามบันทึกของ จ. ไปเป็นของตนเองโดยทุจริต จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 ตามฟ้อง แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้ ต้องพิพากษายกฟ้องในความผิดนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง แต่การที่จำเลยรับเงินของผู้เสียหายมาแล้วเบียดบังไปเป็นของตนเองโดยทุจริต ถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นหน่วยงานของทางราชการ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานแต่กลับกระทำความผิดอาญาต่อหน่วยงานราชการที่ตนสังกัดอยู่ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 157 มาด้วยแล้ว จึงลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยการเรียกรับเงินเพื่อสั่งไม่ฟ้องคดี: การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบต่อหน้าที่
จำเลยเป็นพนักงานอัยการ ผ่านการว่าความมาเป็นจำนวนมาก ย่อมคุ้นเคยกับการซักถามพยานในรูปแบบต่าง ๆ เป็นอย่างดี ข้อเท็จจริงปรากฏตามบันทึกการถอดเทปสนทนาระหว่างจำเลยกับ ภ. ว่า ภ. พยายามขอร้องให้จำเลยช่วยเหลือ อ. เพื่อมิให้ถูกดำเนินคดี ซึ่งจำเลยก็มิได้ปฏิเสธ เพียงแต่รอให้ ภ. เสนอจำนวนเงิน และเมื่อ ภ. ซักถาม จำเลยยังพูดอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดีแก่ อ. เพื่อโน้มน้าวให้ ภ. เห็นว่าข้อหานำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรมีอัตราโทษสูง ส่อแสดงว่าจำเลยตอบคำถามของ ภ. ด้วยความสมัครใจ แม้การแอบบันทึกภาพและเสียงการสนทนาระหว่างจำเลยกับ ภ. ตามแผ่นซีดีหมาย วจ.1 และ วจ.2 จะเป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 ก็ตาม แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 226/1 บัญญัติให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าการรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา ดังนั้น แม้แผ่นซีดีหมาย วจ.1 และ วจ.2 รวมทั้งบันทึกการถอดเทปสนทนาดังกล่าวจะได้มาโดยมิชอบ ศาลก็นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
แม้ขณะเกิดเหตุ ป.วิ.อ. มาตรา 226/1 จะยังไม่ประกาศใช้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติและมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ คือวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลัง ศาลมีอำนาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 226/1 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้
of 71