พบผลลัพธ์ทั้งหมด 877 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความ: การกำหนดค่าจ้างและหักค่าใช้จ่าย ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ
สัญญาจ้างว่าความ ซึ่งมีใจความว่า จำเลยจ้างโจทก์ให้ว่าความสองสำนวนค่าจ้าง 750,000 บาท ชำระเมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะ. ถ้าจำเลยแพ้ จำเลยไม่ต้องชำระค่าจ้างนี้. ถ้าจำเลยจะต้องเสียค่าไถ่ถอนที่ดินและค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับคดีเท่าใด จำเลยลดเงินนี้หนึ่งในสามจากค่าจ้างได้. สัญญานี้ไม่ใช่สัญญาเข้าเป็นทนายว่าต่างแก้ต่างโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาท อันจะพึงได้แก่ลูกความ. จึงไม่ขัดกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477มาตรา 12(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนเพื่อเรียกร้องค่าจ้างและการป้องกันสิทธิส่วนตน ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์ร่วมเป็นคู่สัญญากับกรมสรรพสามิตในการรับเหมาก่อสร้างโรงงานต้มกลั่นสุรา และในการนี้ได้จ้างเหมาจำเลยให้ทำประตูเหล็กยึดและบังตาหน้าต่างเหล็กของโรงงานนี้อีกทอดหนึ่ง แต่แล้วกลับบิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้างเหมาให้แก่จำเลย ดังนั้นการที่จำเลยมีหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยยังมิได้รับเงินรายนี้ ซึ่งมีข้อความหาว่าโจทก์ร่วมกระทำการโดยไม่สุจริตเพื่อระงับข้อพิพาท กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม อันไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ลูกจ้างออกขัดระเบียบกระทรวงการคลัง และอายุความฟ้องร้องค่าจ้าง
ระเบียบของกระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีวางระเบียบไว้ว่าลูกจ้างคนใดต้องหาคดีอาญาและถูกควบคุมตัว ก็ให้กรม กองเจ้าสังกัดต่างๆ สั่งพักงานลูกจ้างนั้นไว้ก่อนไม่ให้ไล่ออกทันที ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นกรมเจ้าสังกัดจะต้องปฏิบัติตามระเบียบระเบียบเดิมของจำเลยที่ขัดกับระเบียบของกระทรวงการคลังเป็นอันถูกยกเลิกไปในตัวการที่จำเลยอุทธรณ์ระเบียบของจำเลยไปกระทรวงการคลังว่า ขัดกับระเบียบของจำเลย แต่กระทรวงการคลังก็ได้ตอบยืนยันไม่ยอมให้ถือระเบียบของจำเลย การที่จำเลยมีคำสั่งในระหว่างอุทธรณ์ระเบียบให้ไล่โจทก์ออกย้อนไปถึงวันโจทก์ถูกกล่าวหาและถูกจับกุมจึงเป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบ
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้ไล่ออกของจำเลย นับถึงวันฟ้องเกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้ไล่ออกของจำเลย นับถึงวันฟ้องเกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: การกำหนดค่าจ้างที่สมเหตุสมผล และการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระ
ที่ดินที่ตกลงให้เป็นค่าจ้างว่าความเป็นที่ดินที่อยู่นอกที่พิพาทจึงมิใช่เป็นการเรียกร้องเอาค่าจ้างจากส่วนแบ่งในที่ดินที่พิพาทไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เงินค่าจ้างว่าความเป็นหนี้เงินตามกฎหมาย เมื่อทนายผู้รับจ้างทวงถามให้ชำระผู้ว่าจ้างไม่ชำระ ผู้ว่าจ้างตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดค่าจ้างว่าความให้ตามสมควรแก่กิจการที่กระทำไปได้
เงินค่าจ้างว่าความเป็นหนี้เงินตามกฎหมาย เมื่อทนายผู้รับจ้างทวงถามให้ชำระผู้ว่าจ้างไม่ชำระ ผู้ว่าจ้างตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดค่าจ้างว่าความให้ตามสมควรแก่กิจการที่กระทำไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารเท็จที่ยื่นต่อศาลไม่ถือเป็นพยานหลักฐานสำคัญ หากข้อความในเอกสารนั้นไม่กระทบต่อการเรียกร้องค่าจ้าง
แต่เดิมจำเลยได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องเรียกมรดก ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญายอมกับอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วจ่ายค่าจ้างว่าความไม่ครบตามสัญญา โจทก์จึงฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าจ้างว่าความ จำเลยได้นำเอกสารใบมอบอำนาจซึ่งจำเลยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นตัวแทนในการว่าจ้างว่าความ หากไม่ได้รับความยินยอมจากตัวแทนก็ไม่ผูกมัดจำเลยแสดงต่อศาล ศาลพิพากษาว่าทรัพย์มรดกที่ฟ้องเรียกนั้นมีราคาเพียง 1 ล้าน โจทก์ได้ปฏิบัติงานไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยได้รับมรดกเพียง 2 แสนบาท ได้จ่ายค่าจ้างทนายเป็นเงิน 27,000 บาท พอสมควรแก่การปฏิบัติงานแล้ว โจทก์จึงฟ้องเป็นคดีอาญาในคดีนี้ว่าจำเลยแสดงพยานหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 ศาลฎีกาเห็นว่าใบมอบอำนาจนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดดังโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเพื่อเอาเงิน ไม่ถือว่าหลอกลวงเพื่อให้ทำงาน จึงไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 344 ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผล คือ การทำงานของผู้ที่ถูกหลอกให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สาม โดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน ฯลฯ
เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยหลอกเพื่อให้ส่งเงินเท่านั้น ไม่ได้หลอกให้ทำงาน เพราะไม่มีงานให้ทำ จึงไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตามมาตรา 344 จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรานี้
พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานที่จำเลยยังไม่จ่ายให้แก่ผู้เสียหาย กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 43 เพราะค่าแรงงานหรือค่าจ้างไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะเรียกร้องคืน แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยใช้ในทางแพ่ง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 บัญญัติให้ลงโทษผู้กระทำผิดฐานหลอกลวงประชาชน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวง ช. กับพวกรวม 10 คน ไม่ได้ฟ้องว่าหลอกลวงประชาชนจำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 เท่านั้นแม้จะมิได้มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ชอบที่จะปรับบทลงโทษที่ถูกได้
เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยหลอกเพื่อให้ส่งเงินเท่านั้น ไม่ได้หลอกให้ทำงาน เพราะไม่มีงานให้ทำ จึงไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตามมาตรา 344 จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรานี้
พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานที่จำเลยยังไม่จ่ายให้แก่ผู้เสียหาย กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 43 เพราะค่าแรงงานหรือค่าจ้างไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะเรียกร้องคืน แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยใช้ในทางแพ่ง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 บัญญัติให้ลงโทษผู้กระทำผิดฐานหลอกลวงประชาชน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวง ช. กับพวกรวม 10 คน ไม่ได้ฟ้องว่าหลอกลวงประชาชนจำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 เท่านั้นแม้จะมิได้มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ชอบที่จะปรับบทลงโทษที่ถูกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีนายหน้า: ค่าบำเหน็จต่างจากค่าจ้าง/ค่าทำของตามมาตรา 165, อายุความ 10 ปี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) และ (7) เป็นบทบัญญัติให้บุคคลเรียกเอาค่า เช่น ค่าที่ได้ส่งมอบของ ค่าทำของ ฯลฯ หรือไม่ก็เรียกเอาสินจ้าง แต่ไม่ได้บัญญัติให้บุคคลเหล่านั้นเรียกเอาค่าบำเหน็จ บำเหน็จบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 ซึ่งเป็นเรื่องของนายหน้า ดังนั้น นายหน้ากับบุคคลที่กล่าวไว้ในมาตรา 165 (1) และ (7) จึงไม่เหมือนกัน การใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่เหมือนกันไปด้วย โจทก์เรียกร้องเอาค่าบำเหน็จและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี
(ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2509 ได้เห็นชอบตามร่างคำพิพากษาฉบับนี้)
(ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2509 ได้เห็นชอบตามร่างคำพิพากษาฉบับนี้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าจ้างเป็นเงินกู้ และการนำสืบการใช้เงินในหนี้กู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
เมื่อมีหนี้ต่อกันแล้ว คู่กรณีก็อาจแปลงหนี้อย่างหนึ่งเป็นหนี้อีกอย่างหนึ่งได้ในภายหลังโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้หนี้เงินค่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยผูกพันกันในรูปเป็นหนี้เงินกู้ โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในหนี้เงินกู้ ในการกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อจะนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว จะนำพยานบุคคลมาสืบถึงการใช้เงินนั้นไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาจ่ายค่าจ้างต่อ – ภาษีเงินได้: เงินได้จากการค้าของผู้รับเหมาเป็นเงินได้ของตน แม้จะจ่ายต่อให้ผู้รับจ้างย่อย
ผู้รับเหมาก่อสร้างทำสัญญาโดยตรงในการรับประมูลก่อสร้างสะพานกับผู้ว่าจ้างและได้รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างทั้งหมดแม้ผู้รับเหมาจะไปว่าจ้างบุคคลอื่นทำงานนั้นต่อโดยจ่ายเงินนั้นให้ด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าเงินที่รับมาเป็นเงินที่ผู้รับเหมาได้มาจากการค้าซึ่งเจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาเสียภาษีจากเงินค่าจ้างทั้งหมด แม้จะจ่ายต่อให้ผู้รับจ้างช่วง เงินได้จากการค้าระหว่างผู้รับเหมากับผู้ว่าจ้างเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
ผู้รับเหมาก่อสร้างทำสัญญาโดยตรงในการรับประมูลก่อสร้างสะพานกับผู้ว่าจ้างและได้รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างทั้งหมดแม้ผู้รับเหมาจะไปว่าจ้างบุคคลอื่นทำงานนั้นต่อโดยจ่ายเงินนั้นให้ด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเงินที่รับมาเป็นเงินที่ผู้รับเหมาได้จากการค้าซึ่งเจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดได้