คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องแย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 754 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11238/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน: ศาลต้องรับฟ้องแย้งเพื่อพิจารณาข้ออ้างการได้กรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งห้าให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งห้าอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นสัดส่วน เนื้อที่ 70 ตารางวา โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาแล้วเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีโดยมิได้อาศัยสิทธิของผู้ใด ขอให้ยกฟ้อง และพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งห้า ให้โจทก์ไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยทั้งห้า หากโจทก์ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยทั้งห้าโต้เถียงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแปลงเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งห้าจึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ส่วนคำขอท้ายฟ้องแย้งแม้จะขอมาเป็นข้อเดียว แต่แยกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ 70 ตารางวา ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งห้า กับส่วนที่สองขอให้โจทก์ไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินพิพาทและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยทั้งห้า ถึงแม้คำขอท้ายฟ้องแย้งส่วนที่สองจะไม่มีกฎหมายให้ศาลบังคับโจทก์ปฏิบัติเช่นนั้น ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องแย้งในส่วนที่สองเท่านั้น แต่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งรับฟ้องแย้งในส่วนที่ขอให้พิพากษาว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 70 ตารางวา โดยการครอบครองปรปักษ์ไว้พิจารณาและพิพากษาไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11161/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: ผลของการไม่รับฟ้องแย้งและการขยายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดในช่วงระหว่างต้นปี 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม 2553 แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันทำละเมิด โจทก์จึงต้องฟ้องคดีอย่างช้าภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 โจทก์ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องแย้งในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2553 ภายในกำหนดอายุความ ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวรับฟ้องแย้งของโจทก์ แต่ต่อมาวันที่ 23 มิถุนายน 2554 ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งไม่รับฟ้องแย้งโดยเห็นว่าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม แม้ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว จะสั่งไม่รับฟ้องแย้งโดยมิได้สั่งให้จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ฟ้องเป็นคดีต่างหาก แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมีผลเป็นการให้สิทธิแก่จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มิได้หมายความถึงกรณีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงกรณีที่ศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ด้วย ซึ่งฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) การที่ศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม คือ เป็นการไม่รับหรือยกฟ้องแย้งโดยจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว โดยเหตุนี้ศาลชั้นต้นหาจำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องอีกไม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว ดังนั้น หากปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งวันที่ 23 มิถุนายน 2554 คำสั่งดังกล่าว ถึงที่สุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 เมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนนับแต่วันทำละเมิดในช่วงระหว่างต้นปี 2552 ซึ่งหมายความว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ดังนั้นอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง จึงสิ้นสุดลงอย่างช้าในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 เมื่อนับอายุความนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 ถึงวันอายุความสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 คงเหลือกำหนดอายุความเพียง 9 วัน ซึ่งน้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุด จึงต้องขยายอายุความให้อีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 สิงหาคม 2554 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด
โจทก์ฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง และชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วมิได้วินิจฉัยประเด็นปัญหาอื่นต่อไป แต่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ชอบที่จะเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11161/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีและการขยายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 กรณีศาลไม่รับฟ้องแย้ง
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่คดีนั้นศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล หรือศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ และปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด" มิได้หมายความถึงกรณีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงกรณีที่ศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ด้วย ซึ่งฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) การที่ศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 525/2553 มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีผลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม คือ เป็นการไม่รับหรือยกฟ้องแย้งโดยจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว โดยเหตุนี้ศาลชั้นต้นหาจำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องอีกไม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว ดังนั้น หากปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเครื่องจักรเก่า ยอมรับสินค้าแล้วมีหน้าที่ชำระราคา แม้ภายหลังมีชำรุด การฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
เครื่องบรรจุเอกสารพิพาททั้งสามเป็นเครื่องเก่าที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เป็นธรรมดาที่สมรรถนะของเครื่องไม่อาจเทียบได้กับเครื่องใหม่ การซื้อขายสินค้าจึงต้องพิจารณาจากข้อตกลงและพฤติการณ์ของคู่สัญญาเป็นกรณีไป ดังนั้น การปรับบทกฎหมายในเรื่องความรับผิดกรณีมีความชำรุดบกพร่องจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบของกฎหมายในแต่ละมาตราประกอบกัน ไม่ใช่พิจารณาเฉพาะมาตราหนึ่งมาตราใด จากข้อเท็จจริงเมื่อโจทก์ติดตั้งเครื่องบรรจุเอกสารแต่ละเครื่องเสร็จ โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาให้บริการกัน ต่อมามีการทำใบสั่งซื้อเครื่องบรรจุเอกสารทั้งสามเครื่อง แสดงว่าจำเลยยอมรับสินค้าของโจทก์ตามสภาพของสินค้าที่มีการติดตั้งแล้ว และขณะติดตั้งเครื่องบรรจุเอกสารไม่ได้ชำรุดบกพร่อง จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าเครื่องบรรจุเอกสารจะอ้างความชำรุดบกพร่องอันไม่สามารถเห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบมาปฏิเสธไม่ชำระค่าสินค้าไม่ได้ เพราะไม่เป็นไปตามข้อตกลงแห่งสัญญา ส่วนภายหลังนั้นการใช้งานเครื่องบรรจุเอกสารมีความชำรุดบกพร่อง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต้องว่ากล่าวกันตามข้อตกลงสัญญาให้บริการ มิใช่กรณีที่จำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่ชำระราคาค่าสินค้าได้
การพิจารณาว่าฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนใดเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมหรือไม่ เพียงใด จะต้องพิจารณาจากคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งฉบับเปรียบเทียบกับคำฟ้องของโจทก์ ไม่ใช่พิจารณาเฉพาะตอนหนึ่งตอนใดเท่านั้น คำฟ้องโจทก์บรรยายสรุปว่า จำเลยสั่งซื้อเครื่องบรรจุเอกสารจากโจทก์ จำเลยได้รับสินค้าแล้ว เมื่อถึงกำหนดชำระราคาสินค้า จำเลยไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้า จำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งสรุปว่า การรับสินค้าของจำเลยเป็นการรับเพื่อทดลองใช้ เมื่อทดลองใช้แล้วสินค้ามีการชำรุดบกพร่อง จำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงสินค้าและเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปกว่าราคาที่ยึดหน่วงไว้ ดังนั้น คำขอในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหาย จึงเป็นคำขอที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าตามคำฟ้องของโจทก์นั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทนายความในคดีที่มีการฟ้องแย้ง ศาลฎีกาเห็นว่าการคำนวณตามทุนทรัพย์รวมทั้งฟ้องหลักและฟ้องแย้งถูกต้องแล้ว และไม่อาจโต้แย้งดุลพินิจศาลได้
คดีนี้นอกจากโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายแล้ว จำเลยยังได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาท หากบังคับไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหาย ซึ่งศาลชั้นต้นรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกัน การคิดทุนทรัพย์เพื่อใช้เป็นฐานคำนวณในการกำหนดค่าทนายความจึงต้องคิดทั้งฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งตามตาราง 6 ค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดอัตราขั้นสูงไว้ที่ร้อยละ 5
ที่จำเลยฎีกาว่าค่าทนายความมีจำนวนสูงเกินไปนั้น เห็นว่า แม้จำเลยจะได้ฎีกาในข้อที่ว่าค่าทนายความมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายอันเป็นข้อยกเว้นของข้อห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 มาแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความรวมถึงให้จำเลยฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองในการกำหนดค่าทนายความว่าสูงเกินไปขึ้นมาสู่การพิจารณาในชั้นนี้ได้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะมีผลเท่ากับยอมให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18464/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุด การฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย และขอบเขตอำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุด
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 วรรคสอง และมาตรา 39 บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดซึ่งมีหน้าที่จัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางสามารถใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในการต่อสู้บุคคลภายนอกหรือเรียกร้องเอาทรัพย์สินเฉพาะที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางคืนได้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของร่วมทั้งหมด แต่ในกรณีที่เป็นความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์ส่วนบุคคลซึ่งเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น ย่อมเป็นสิทธิของบุคคลผู้ได้รับความเสียหายที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเอง คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดครอบครองทรัพย์ส่วนกลาง โดยอ้างว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเหตุให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนอื่น ๆ ในอาคารชุดไม่สามารถค้าขายได้ดีเช่นเดิม ทำให้ยอดขายของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมลดลง เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมแต่ละรายได้รับจากการกระทำของโจทก์ซึ่งมิใช่บุคคลภายนอก จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13706/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันทายาท และการฟ้องแย้งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกรายเดียวกัน
การที่โจทก์ จำเลยและทายาททำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการมรดกของทายาทตระกูล อ. ว่าจำเลยเพียงผู้เดียวจะรับผิดในหนี้สินที่มีอยู่กับธนาคาร โดยทายาทยินยอมยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และให้กิจการขายรถจักรยานยนต์บริษัท บ. จำกัด พร้อมหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับกิจการดังกล่าวให้จำเลยเป็นผู้รับผิดชอบเพียงผู้เดียว โดยให้กิจการเป็นของจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกและหนี้สินเพื่อระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อจำเลยชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเสร็จสิ้น จำเลยย่อมมีสิทธิในที่ดินตามบันทึกข้อตกลง
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่ว่า โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ จ. ขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 39247 ซึ่งเป็นมรดกของ จ. ให้แก่บุคคลภายนอกในราคา 1,113,900 บาท และได้แบ่งปันให้ทายาทโดยธรรมบางส่วนแล้วยกเว้นจำเลยกับทายาทบางคนยังไม่ได้รับส่วนแบ่ง และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์และทายาทโดยธรรมทุกคนในอัตราส่วนคนละเท่า ๆ กัน ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยขอให้โจทก์แบ่งทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดเลขที่ 39247 ที่โจทก์ขายไปและกล่าวไว้ในฟ้องเดิมว่ายังไม่ได้แบ่งให้จำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งขอแบ่งทรัพย์มรดกรายเดียวกันกับที่โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องเดิม จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่จะว่ากล่าวให้เสร็จสิ้นในคดีเดียวกัน จำเลยไม่จำต้องแยกไปฟ้องเป็นคดีต่างหากตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12177/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม หักกลบลบหนี้ได้ หากเป็นหนี้เงินและถึงกำหนดชำระ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระค่าสินค้าที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อให้แก่ลูกค้า จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า โจทก์ต้องจ่ายค่าบำเหน็จนายหน้าให้จำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ค้างชำระค่าบำเหน็จนายหน้าจึงขอบังคับให้โจทก์ชำระค่าบำเหน็จนายหน้าแก่จำเลยที่ 2 โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในวันเวลาต่างกันกับคำฟ้อง เช่นนี้ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระแก่โจทก์ก็เนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการสั่งซื้อสินค้าเพื่อส่งให้แก่ลูกค้า โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าบำเหน็จนายหน้าให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชำระค่าบำเหน็จนายหน้าที่ค้างชำระแก่จำเลยที่ 2 จึงเกิดจากการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เช่นเดียวกัน กรณีจึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจสั่งซื้อสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ใช่หนี้ค่าบำเหน็จของการสั่งซื้อค่าสินค้าตามฟ้องในครั้งนี้ก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เป็นมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน คือหนี้เงินและหนี้ทั้งสองรายถึงกำหนดชำระแล้ว จึงชอบที่จะนำมาหักกลบลบกันได้และพิจารณาพิพากษาไปในคราวเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 หาใช่เป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพิจารณาฟ้องแย้ง: ทุนทรัพย์เกิน 300,000 บาท ไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวง แม้เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
แม้ฟ้องแย้งของจำเลยจะเกี่ยวกับฟ้องเดิม ซึ่งทำให้สามารถยื่นเข้ามาในคำให้การได้ แต่ฟ้องแย้งมีลักษณะเป็นคำฟ้อง การเสนอคำฟ้องแย้ง จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 2 (1) เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีทุนทรัพย์เกินกว่า 300,000 บาท จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับคดีไว้พิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) การจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 192 วรรคสี่ มาใช้บังคับแก่คดีได้นั้น จะต้องเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย้งในคดีละเมิด: การฟ้องของโจทก์ไม่สะดุดอายุความฟ้องแย้งของจำเลย
การฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์ หาได้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองซึ่งฟ้องแย้งด้วยไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยทั้งสองรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
of 76