พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหนี้ต้องแจ้งผู้ค้ำประกันเพื่อให้การโอนสมบูรณ์ ผู้ค้ำประกันมีฐานะเป็นลูกหนี้ด้วย
การโอนหนี้ เจ้าหนี้ต้องบอกให้ลูกหนี้ทั่วไปตามกฎหมายทราบการโอนจึงจะสมบูรณ์ผู้ค้ำประกันกฎหมายถือว่าเปนลูกหนี้ด้วย วิธีพิจารณาแพ่ง ประเด็นข้อที่จำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นพิจารณา พึ่งจะมากล่าวในคำแถลงการณ์ เมื่อเสร็จสำนวนแล้วฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนทรัพย์เพื่อหักหนี้: ไม่ถือเป็นลักทรัพย์หากเจ้าหนี้ได้รับการอนุญาตจากลูกหนี้
ลูกหนี้อนุญาตให้เจ้าหนี้ไปขนเข้ามาเพื่อหักใช้หนี้กันนั้น เจ้าหนี้ไม่มีผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ชำระบัญชีในการวินิจฉัยสถานะลูกหนี้: หุ้นส่วนหรือเจ้าหนี้
ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้ของลูกหนี้ต่อตัวแทน และการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ฐานะตัวแทน
ลูกหนี้มีสิทธิจะชำระหนี้ตรงต่อตัวการได้ทีเดียว วิธีพิจารณาแพ่ง ศาลไม่สืบพะยานจำเลยในข้อที่ว่าโจทก์เปนตัวแทนของผู้อื่น ข้อที่จำเลยทราบว่าโจทก์ปฏิเสธในสำนวนอื่นว่าไม่ได้เปนตัวแทนของใครนั้นไม่เปนข้อตัดสำนวนฝ่ายจำเลยที่จะขอสืบว่าโจทก์เปนตัวแทนในสำนวนนี้ค่าธรรมเนียมในเรื่องสั่งให้สืบพะยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่มีกำหนดชำระหนี้ การเติมกำหนดเวลาถือเป็นการเสียหายต่อลูกหนี้ เว้นแต่ลูกหนี้จะยินยอม
สัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้นั้นเมื่อเจ้าหนี้ยังไม่ให้คำเตือนการชำระหนี้แล้วยังไม่เรียกว่าลูกหนี้ผิดนัดถ้าเจ้าหนี้เติมกำหนดเวลาชำระหนี้ลงไปกฎหมายถือว่าเป็นการเสียหายแก่ลูกหนี้ เว้นแต่ลูกหนี้จะยินยอมปัญหากฎหมายศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ตัดสินใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196-197/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของลูกหนี้: ข้อแตกต่างระหว่างผู้ซื้อร่วมกับผู้ค้ำประกัน
ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมกัน ประมวลแพ่ง ม.291,297 อย่างไรจึงจะเข้าหลักค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการดำเนินคดีแทนลูกหนี้: การสวมสิทธิเรียกร้องเพื่อรักษาประโยชน์
ลูกหนี้ฟ้องคนที่ 3 เพียงชั้นอุทธรณ์ไม่ฎีกาเจ้าหนี้ของลูกหนี้อาจสรวมสิทธิลูกหนี้ฎีกาต่อไปได้ วิธีพิจารณาแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9061/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว การดำเนินคดีโดยลูกหนี้หลังพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 จำนวน 213,500 หุ้น ขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นดังกล่าว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ ต่อมาโจทก์ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 แต่ศาลไม่มีการแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทั้ง ๆ ที่นับแต่โจทก์ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) จึงไม่อาจถือได้ว่าในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบตามกฎหมายแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ยังคงให้ทนายความยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและยื่นฎีกาพร้อมคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งคำสั่งต่าง ๆ ของศาลชั้นต้นอันสืบเนื่องมาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์จะยื่นคำแถลงขอเข้าว่าคดีแทนก็หาทำให้กลับเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายในภายหลังไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7620/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาจ้าง: ศาลต้องพิจารณาทางได้เสียของเจ้าหนี้และลูกหนี้ รวมถึงเหตุผลการผิดสัญญาเพื่อกำหนดจำนวนที่สมควร
การที่สัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายหนังสือสัญญาจ้าง ข้อ 3 ระบุความว่า พนักงานตกลงที่จะทำงานให้กับบริษัทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับตั้งแต่วันเข้าทำงาน หากพนักงานมีความประสงค์จะลาออกก่อนครบกำหนดเวลา พนักงานยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทไม่น้อยกว่าเงินเดือนในเดือนสุดท้ายที่พนักงานได้รับ ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงกำหนดความเสียหายเพื่อการผิดนัดไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า จึงเป็นข้อตกลงเบี้ยปรับเมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และ 380 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลแรงงานกลางมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้โดยให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง กล่าวคือศาลแรงงานกลางจะต้องพิเคราะห์ทางได้เสียของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เฉพาะความเสียหายที่คำนวณได้เป็นเงินเท่านั้น นอกจากนี้เบี้ยปรับยังเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อลงโทษโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นลูกหนี้ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย จึงชอบที่จะพิจารณามูลเหตุการผิดสัญญาของลูกหนี้ว่าเป็นการจงใจกระทำผิดสัญญาเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเป็นการได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายหนึ่งด้วยหรือไม่ ศาลแรงงานกลางจะใช้ดุลพินิจไม่ให้ค่าเสียหายส่วนนี้เสียเลยหาได้ไม่เพราะไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราใดที่ให้อำนาจงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด ดังนั้นศาลแรงงานกลางจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่จุดมุ่งหมายของข้อสัญญาที่ให้ทำงานครบ 2 ปี ความจำเป็นที่ต้องทำสัญญาไว้เช่นนี้ ความสำคัญของตำแหน่งหน้าที่การงานของโจทก์ต่อจำเลย ความเสียหายอื่นที่มิใช่ทรัพย์สิน รวมตลอดถึงเหตุผลที่โจทก์ผิดสัญญาจ้างแรงงานว่าเป็นการกระทำไปโดยจงใจเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเป็นการได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่เสียก่อน แล้วใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายกำหนดเบี้ยปรับเป็นจำนวนพอสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6613/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินมูลหนี้: ยึดทรัพย์เกินราคายังชอบได้ หากไม่พบทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีโดยหากเป็นหนี้เงิน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานำออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาชำระหนี้ได้ และการบังคับคดีนั้นต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 284 ด้วย ซึ่งมาตรา 284 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือศาลจะได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ห้ามไม่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี อนึ่ง ถ้าได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้ว ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินที่ยึดออกขายทอดตลาด หรือจำหน่ายด้วยวิธีอื่น" เห็นได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายมาตรานี้ มีความหมายและเจตนารมณ์เพียงห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ แต่ไม่ได้มีความหมายหรือเจตนารมณ์ถึงขนาดห้ามยึดทรัพย์ใดๆ ที่มีมูลค่าสูงกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา การยึดทรัพย์ในการบังคับคดีเป็นการกระทำและการใช้ดุลพินิจร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากับเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งสำหรับในคดีนี้ เมื่อโจทก์ไม่สามารถสืบค้นและหาหลักฐานความเป็นเจ้าของทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้ยกเว้นแต่ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึด คือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งถึงวันที่โจทก์นำยึดทรัพย์สินดังกล่าว เป็นเวลาเกือบจะครบกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการบังคับคดีแล้ว เช่นนี้ ถึงแม้ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดดังกล่าวจะมีมูลค่าสูงกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาอยู่มาก ก็ไม่ใช่ข้อห้ามถึงขนาดที่จะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดเพื่อการบังคับคดี โจทก์ย่อมใช้สิทธิที่มีอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271, 282 (1), 283 วรรคหนึ่ง และ 284 ด้วยการชี้หรือแจ้งยืนยันให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าว และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าวตามที่โจทก์ชี้ให้ยึด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)