พบผลลัพธ์ทั้งหมด 877 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความ: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเมื่อทำคดีถึงที่สุด แม้ไม่มีการบอกเลิก
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ ถ้าได้มีการตกลงว่าจ้างกันให้ทนายความดำเนินการเรียกร้องมรดกที่ตัวความมีส่วนได้ทนายความผู้นั้นมีหน้าที่ต้องว่าความดำเนินการเรียกร้องมรดกรายนี้ตลอดไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อไม่ปรากฏว่าตัวความบอกเลิกสัญญาและการเรียกร้องมรดกรายนี้ได้ดำเนินการต่อเนื่องกันมาหลายคดี เพิ่งเสร็จสิ้นเอาคดีสุดท้ายโดยตัวความไม่มาติดต่อแต่งตั้งให้เป็นทนายความอีกดังเช่นคดีก่อน ทนายความฟ้องเรียกค่าจ้างว่าความได้ตามสัญญาถ้านำคดีมาฟ้องยังไม่เกิน 2 ปีนับแต่สิ้นคดีสุดท้าย คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายเมื่อเลิกสัญญาจ้างว่าความ: การคิดค่าจ้างตามควรค่าของงานที่ทำไปแล้ว
จำเลยจ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องคดีและว่าความในศาลชั้นต้นชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ครั้นโจทก์ฟ้องคดีและว่าความในศาลชั้นต้นไปบ้างแล้ว จำเลยขอถอนโจทก์จากการเป็นทนาย โจทก์แถลงไม่คัดค้านศาลฟังว่าการเลิกสัญญาเกิดจากการตกลงกัน คู่สัญญายังมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมโดยวิธีการในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรค 2,3,4 โดยเฉพาะก็คือ วรรค 3 จำเลยต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์ และต้องคิดค่าจ้างตามรูปคดี หาใช่คิดแต่จำนวนค่าเสียหายที่เรียกร้องไม่
ตัวแทนจ้างโจทก์แทนตัวการ. ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ผู้เดียวตัวแทนหาต้องรับผิดด้วยไม่
ตัวแทนจ้างโจทก์แทนตัวการ. ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ผู้เดียวตัวแทนหาต้องรับผิดด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายเมื่อจำเลยถอนฟ้อง: ค่าจ้างคำนวณจากผลสำเร็จที่เกิดขึ้น แม้ได้เงินไม่เต็มตามฟ้อง
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ยื่นฟ้อง ฉ. ฐานผิดสัญญา ทุนทรัพย์ 1,037,500 บาท ตกลงค่าจ้างกันไว้ 100,000 บาท ในชั้นศาลชั้นต้น โดยไม่มีข้อกำหนดกันไว้ว่า ถ้าจำเลยได้เงินไม่เต็มตามคำฟ้องก็ให้ลดค่าจ้างลงตามส่วน โจทก์ได้ฟ้อง ฉ. แล้ว และยังได้ดำเนินการอายัดทรัพย์ของ ฉ. จนสำเร็จ แต่ต่อมาจำเลยได้ถอนฟ้องคดีเสียเอง โดยโจทก์มิได้เห็นชอบด้วย แม้จำเลยจะได้รับเงินจากฉ. เพียง 120,000 บาทนี้ เป็นผลสำเร็จแห่งการที่ทำเพื่อคำนวณค่าจ้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานหนี้สมบูรณ์จากใบรับฝากเงิน & การรับสภาพหนี้ทำให้ฟ้องไม่ขาดอายุความ
จำเลยออกบัตรสำหรับค่าแรงทำงานให้แก่โจทก์แทนการจ่ายเป็นธนบัตรรัฐบาลนั้น จะผิดกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยผู้ออกบัตร ไม่เกี่ยวกับโจทก์ แต่บัตรนั้นย่อมเป็นหลักฐานแสดงว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ตามจำนวนเงินในบัตร เมื่อโจทก์นำบัตรมาขอขึ้นเงินกับจำเลย และจำเลยออกใบรับฝากให้ ใบรับฝากเงินนั้นย่อมเป็นหลักฐานแห่งหนี้ที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆะ และใบรับฝากเงินนี้ก็มิใช่ใบรับเงินซึ่งจะต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากรแต่อย่างไร
หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์นั้นผู้ทรงตราสารชอบที่จะยื่นตราสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอเสียอากรเมื่อใดก็ได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อนุมัติให้เสียอากรและเรียกเงินเพิ่มอากรตามกฎหมายแล้ว ตราสารนั้นย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์นั้นผู้ทรงตราสารชอบที่จะยื่นตราสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอเสียอากรเมื่อใดก็ได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อนุมัติให้เสียอากรและเรียกเงินเพิ่มอากรตามกฎหมายแล้ว ตราสารนั้นย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญา, อายุความชำรุดบกพร่อง, การเรียกคืนเงินค่าจ้างจากงานที่ชำรุด
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "โดยหนังสือนี้กรมโยธาเทศบาล(โดยหลวงสัมฤทธิวิศวกรรมอธิบดีกรมโยธาเทศบาล)----------------ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร(โดยนายแสวง ทิมทอง) เป็นโจทก์ฟ้องนายชิตเทศพิทักษ์ผู้รับเหมาก่อสร้างสะพานฯ ซึ่งไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขฯ เป็นเหตุให้สะพานฯ ชำรุดและพัง ฯลฯ" เป็นการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรโดยตำแหน่งหน้าที่เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ไม่ใช่มอบอำนาจให้นายแสวง ทิมทองเป็นส่วนตัว ฟ้องจำเลย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 35/2504)
กรมโยธาเทศบาลมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนปลัดจังหวัดในฐานะผู้รักษาการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 ที่ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นนั้นหมายถึง การฟ้องร้องในเมื่อได้รับมอบการที่ว่าจ้างนั้นแล้ว
การที่ผู้จ้างชำระค่าจ้างให้ผู้รับจ้างไปก่อนงานเสร็จโดยยังมิได้รับมอบงานที่ทำ งานนั้นวินาศลงและผู้ว่าจ้างเรียกเงินคืน เป็นกรณีเรียกเงินฐานผิดสัญญา มิใช่ฐานลาภมิควรได้ จะนำอายุความตามมาตรา 419 มาใช้ไม่ได้
กรมโยธาเทศบาลมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนปลัดจังหวัดในฐานะผู้รักษาการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 ที่ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นนั้นหมายถึง การฟ้องร้องในเมื่อได้รับมอบการที่ว่าจ้างนั้นแล้ว
การที่ผู้จ้างชำระค่าจ้างให้ผู้รับจ้างไปก่อนงานเสร็จโดยยังมิได้รับมอบงานที่ทำ งานนั้นวินาศลงและผู้ว่าจ้างเรียกเงินคืน เป็นกรณีเรียกเงินฐานผิดสัญญา มิใช่ฐานลาภมิควรได้ จะนำอายุความตามมาตรา 419 มาใช้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างเข้าใจผิดเรื่องค่าจ้างทำงานวันหยุด ลูกจ้างไม่ทักท้วงนานกว่า 1 ปี ศาลไม่ถือว่าจงใจผิดนัด
ลูกจ้างรายเดือนที่มาทำงานให้นายจ้างในวันหยุดงานมีสิทธิได้ค่าจ้างเป็น 2 เท่าตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มาตรา 26
นายจ้างประกาศไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่าให้ลูกจ้างรายเดือนโดยเข้าใจข้อกฎหมายผิด ฝ่ายลูกจ้างไม่ทักท้วงและไม่เรียกร้องเอาค่าจ้างจนล่วงเวลา 1 ปีเศษจึงมาฟ้อง โดยจำเลยก็ยินดีจะจ่ายให้ตามความเห็นของสารวัตรแรงงาน ดังนี้ จะถือว่านายจ้างจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุผลสมควรไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มาตรา 33 วรรคสอง
นายจ้างประกาศไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่าให้ลูกจ้างรายเดือนโดยเข้าใจข้อกฎหมายผิด ฝ่ายลูกจ้างไม่ทักท้วงและไม่เรียกร้องเอาค่าจ้างจนล่วงเวลา 1 ปีเศษจึงมาฟ้อง โดยจำเลยก็ยินดีจะจ่ายให้ตามความเห็นของสารวัตรแรงงาน ดังนี้ จะถือว่านายจ้างจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุผลสมควรไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มาตรา 33 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันธรรมสวนะไม่ใช่ 'วันหยุดงาน' ตามพรบ.แรงงาน ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว
การหยุดงานวันธรรมสวนะตามประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2499 ถือว่าเป็นวันหยุดราชการปกติประจำสัปดาห์ ลูกจ้างไม่สิทธิได้รับเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดทำงานตามพระราชบัญญัติแรงงาน มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันธรรมสวนะไม่ใช่วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง
การหยุดงานวันธรรมสวนะตามประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2499 ถือว่า เป็นวันหยุดราชการปกติประจำสัปดาห์ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดทำงานตามพระราชบัญญัติแรงงาน มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: การพิจารณาช่วงเวลาการจ่ายเงินเพื่อกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เงินเดือนมีลักษณะเป็นเงินค่าจ้าง ทำงานนั่นเอง แต่มีลักษณะจ่ายเป็นรายเดือนจึงเรียกว่าเงินเดือน
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165 (8)
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: การพิจารณาตามลักษณะการจ่ายเงินเป็นรายเดือนหรือรายปี
เงินเดือนมีลักษณะเป็นเงินค่าจ้างทำงานนั่นเอง แต่มีลักษณะจ่ายเป็นรายเดือนจึงเรียกว่าเงินเดือน
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165(8)
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165(8)