พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7045/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดคำนวณทุนทรัพย์คดีคุ้มครองผู้บริโภค ต้องรวมกลุ่มคดี ไม่แยกรายบุคคล หากรวมกันเกินอำนาจศาลแพ่ง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยรวม คดีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคจึงเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษต่างจากคดีแพ่งทั่วไป โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคเป็นส่วนรวม การพิจารณาทุนทรัพย์ที่ฟ้องคดีว่าจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดจึงต้องคิดคำนวณทุนทรัพย์ในลักษณะทุนทรัพย์รวมกลุ่มคดี มิใช่คิดแยกทุนทรัพย์ของผู้บริโภคแต่ละราย ดังนี้ แม้ทุนทรัพย์ที่ผู้บริโภคเรียกร้องมาแต่ละรายจะมีจำนวนรายละไม่เกิน 300,000 บาท แต่เมื่อทุนทรัพย์รวมกลุ่มคดีมีจำนวน 610,709 บาท กรณีจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7045/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมทุนทรัพย์คดีผู้บริโภค: คดีพิเศษต้องคิดรวมกลุ่ม ไม่แยกรายบุคคล
คดีที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 10 (7) เป็นการดำเนินคดีที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเป็นส่วนรวมตามมาตรา 39 จึงเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษต่างจากคดีแพ่งทั่วไป หลักเกณฑ์ในการพิจารณาทุนทรัพย์ที่ฟ้องคดีว่าจะอยู่ในอำนาจของศาลใด ต้องคำนวณทุนทรัพย์ในลักษณะรวมกลุ่มคดีโดยรวมทุนทรัพย์ของผู้บริโภคทุกราย แม้แต่ละรายไม่เกิน 300,000 บาท แต่ในคดีนี้ เมื่อรวมทุนทรัพย์ในคดีแล้วจำนวน 610,709 บาท จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ที่จะต้องรับฟ้องไว้พิจารณา ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งว่า มูลหนี้ของผู้บริโภคแต่ละรายสามารถแบ่งแยกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 และไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 2 อย่างคดีแพ่งทั่วไปเป็นการไม่ชอบ จึงต้องรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6479/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าเสียหาย และการกำหนดค่าทนายความ: ทุนทรัพย์ที่ใช้คำนวณค่าทนายความต้องเป็นค่าเสียหายที่โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมทั้งสิ้น 1,074,692 บาท โดยเป็นค่าซ่อมรถยนต์บรรทุกของโจทก์และค่าจ้างรถยนต์บรรทุกมาใช้งานแทนรวมจำนวนเงิน 309,800 บาท กับค่ารักษาพยาบาลและจัดงานศพของลูกจ้างทั้งสี่คนของโจทก์ที่เสียชีวิตจากเหตุคดีนี้รวมเป็นเงิน 764,892 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลและจัดงานศพของลูกจ้างทั้งสี่และพิพากษายกฟ้องในส่วนนี้มาแต่ต้น ดังนี้แม้ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) จะบัญญัติให้ศาลมีอำนาจกำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับทุนทรัพย์เกิน 25,000 บาท ร้อยละ 5 ก็ตาม แต่สำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้เฉพาะโจทก์เท่านั้น ทุนทรัพย์ที่จะนำมาเป็นหลักในการใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้ค่าทนายความแทนโจทก์จึงต้องใช้ฐานจากทุนทรัพย์ที่โจทก์มีอำนาจฟ้องคือ 309,800 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เหตุจากทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 162,000 บาท คงมีแต่โจทก์ที่อุทธรณ์ ส่วนที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 270,000 บาท จำเลยที่ 1 ฎีกา ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีส่วนต่างระหว่างจำนวนเงินที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระแก่โจทก์ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555-1558/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมสำนวนคดีกู้ยืมเงินเกินอำนาจศาลแขวง: พิจารณาทุนทรัพย์รายสำนวน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ในวาระต่างๆ แยกเป็นรายสำนวน การพิจารณาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นรายสำนวน แม้ภายหลังศาลชั้นต้นจะสั่งให้รวมการพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน จนเป็นเหตุทำให้จำนวนทุนทรัพย์ที่รวมเข้าด้วยกันเกิน 300,000 บาท ก็ต้องถือว่าคดียังอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555-1558/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: พิจารณาทุนทรัพย์รายสำนวน แม้รวมสำนวนแล้วเกิน 300,000 บาท
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ในวาระต่างๆ แยกเป็นรายสำนวนไป การพิจารณาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษานั้น ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นรายสำนวน แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสี่สำนวนเข้าด้วยกัน จนเป็นเหตุให้ทุนทรัพย์ที่รวมเข้าด้วยกันเกิน 300,000 บาท ก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าคดียังอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นค่าเสียหาย เนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาท ตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ป.วิ.พ.
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกอันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกันนั้น ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาเฉพาะค่าเสียหายว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ได้เสียหายตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาซึ่งเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสี่จะมีสิทธิเรียกได้ไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6289/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่ง: ทุนทรัพย์พิพาทและดอกเบี้ยค่าเสียหายในอนาคต
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 200,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีจำนวนเพียง 200,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จเป็นค่าเสียหายในอนาคต ซึ่งไม่อาจนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ได้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์คดีภาษีบำรุงท้องที่ต้องแยกเป็นรายแปลง และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีภาษีบำรุงท้องที่ต้องถือตามจำนวนเงินค่าภาษีที่มีการโต้แย้งการประเมินเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ของที่ดินแต่ละแปลงแยกจากกันเป็นแต่ละข้อหา การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักฟังได้ว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้ประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกในที่ดินพิพาทด้วยตนเองตลอดมา เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลภาษีอากรกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละข้อหาไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดที่ดิน การคัดค้านเขต และการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์
ฎีกาของโจทก์ทั้งสามที่ว่า โจทก์ทั้งสามไม่ได้ปักหลักเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิคัดค้านการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ทั้งสาม เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ว่า โจทก์ทั้งสามนำชี้แนวเขตที่ดินของตนรุกล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินของจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิคัดค้านการรังวัดดังกล่าว อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยมีสิทธิคัดค้านการรังวัดแนวเขตแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามตามฟ้องหรือไม่ครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลยแล้ว ส่วนข้อที่ว่าจำเลยไม่คัดค้านการรังวัดภายในกำหนดตามกฎหมายที่ดิน จำเลยจึงหมดสิทธิคัดค้านนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้วว่าโจทก์ทั้งสามนำรังวัดรุกล้ำที่ดินของจำเลย จำเลยในฐานะของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิขัดขวางหรือคัดค้านการกระทำของโจทก์ทั้งสามได้เสมอ ดังนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ทั้งสามในข้อดังกล่าว เพราะไม่ทำให้ผลคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เปลี่ยนแปลงไป
ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยมีสิทธิคัดค้านการรังวัดแนวเขตแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามตามฟ้องหรือไม่ครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลยแล้ว ส่วนข้อที่ว่าจำเลยไม่คัดค้านการรังวัดภายในกำหนดตามกฎหมายที่ดิน จำเลยจึงหมดสิทธิคัดค้านนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้วว่าโจทก์ทั้งสามนำรังวัดรุกล้ำที่ดินของจำเลย จำเลยในฐานะของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิขัดขวางหรือคัดค้านการกระทำของโจทก์ทั้งสามได้เสมอ ดังนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ทั้งสามในข้อดังกล่าว เพราะไม่ทำให้ผลคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เปลี่ยนแปลงไป