พบผลลัพธ์ทั้งหมด 746 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5819/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อรถหาย ผู้เช่าต้องชำระค่าเสียหายตามข้อตกลงเบี้ยปรับ
เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปนับแต่วันที่รถยนต์สูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อว่าในกรณีที่รถยนต์นั้นสูญหาย ผู้เช่าจะยอมชดใช้ค่ารถยนต์เป็นเงินจำนวนเท่ากับค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือที่ผู้เช่าจะต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อทันที ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงจะชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์กรณีนี้ไว้ด้วย อันเป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ส่วนค่าขาดประโยชน์นั้น เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปเป็นเหตุให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อ: สัญญาไม่เลิกทันทีแม้มีการยึดรถ หากมีการผ่อนผันและชำระหนี้ต่อเนื่อง
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้โดยไม่ทักท้วง แสดงว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 แม้จำเลยจะผิดนัดชำระค่าเช่าซื้ออีก เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเลิกสัญญากับจำเลยเพราะเหตุผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ดังนี้ การที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แต่หลังจากนั้นจำเลยได้ไปติดต่อขอชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยค่าปรับรวมค่าใช้จ่ายให้โจทก์ แล้วโจทก์คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้จำเลยนำไปใช้ต่อ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ยอมผ่อนผันการผิดนัดให้จำเลยโดยไม่ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันที โจทก์และจำเลยยังคงประสงค์ให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันกันต่อไป สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกันเพราะเหตุที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์และจำเลยยังคงบังคับกันตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกสัญญา แม้มีการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อและการยึดรถ หากผู้ให้เช่าซื้อยอมผ่อนผันและยินยอมให้ใช้สัญญาต่อไป
หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลา โจทก์ยอมรับค่าเช่าซื้อไว้โดยไม่ทักท้วงแสดงว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระโดยกำหนดเวลาพอสมควรก่อน ตาม ป.พ.พ มาตรา 387 แม้จำเลยที่ 1 จะผิดนัดชำระค่าเช่าซื้ออีก เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 เพราะเหตุดังกล่าว ชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน แต่ภายในเดือนเดียวกันนั้น จำเลยที่ 1 ได้ไปติดต่อขอชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย ค่าปรับ รวมค่าใช้จ่ายให้โจทก์ แล้วโจทก์คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 นำไปใช้ต่อ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ยอมผ่อนผันการผิดนัดให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ทั้งผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อยังคงประสงค์ให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันกันต่อไป สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4865/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ: โจทก์ไม่ใช่ธุรกิจเงินทุน, สัญญาเลิกได้ทันทีเมื่อผิดนัด
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ข้อ (41) ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ซึ่งทรัพย์สินใด ๆ ตามหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ ธุรกิจของโจทก์มิใช่การจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตามความหมายของ "ธุรกิจเงินทุน" ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 4(1) ถึง (5) ทั้งการประกอบธุรกิจเงินทุนจะกระทำได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งในรูปบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ฯ เท่านั้น ดังนั้นการดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภคที่ออกตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ข้อ 3 (7) ก. ที่จะต้องมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อที่ผิดนัดไม่ใช้เงินรายงวดสองงวดติด ๆ กันให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระภายในเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือก่อน เมื่อไม่ปฏิบัติตามจึงจะริบเงินที่ชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 13 เป็นต้นมา สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันทันทีตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 10 โจทก์ไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาอีก โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3213/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อค้างชำระ, ค่าขาดประโยชน์, และราคาซื้อขายรถยนต์เมื่อผิดนัด
ป.พ.พ. มาตรา 574 บัญญัติไว้เพียงว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินที่ผู้ให้เช่าซื้อรับไว้และกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น ถ้าโจทก์ยังมีสิทธิเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระด้วยก็ไม่มีเหตุที่กฎหมายจะบัญญัติไว้เพียงให้ริบเงินที่ส่งใช้ก่อนเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนเลิกสัญญาได้คงเรียกได้แต่เฉพาะค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคืนรถเช่าซื้อ: เลือกใช้สิทธิจากสัญญาหรือสิทธิเรียกทรัพย์คืนได้
จำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเรียกรถคืนโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 หรือเรียกคืนรถโดยใช้สิทธิในฐานะเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความเรียกคืนทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แล้วแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเลือกฟ้อง โดยอาศัยมูลหนี้ใดที่เป็นประโยชน์แก่ตน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองคืนรถที่เช่าซื้อหรือหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและการโอนสิทธิในรถยนต์ การสละสิทธิของจำเลยทำให้เกิดหน้าที่ในการโอนสิทธิ
แม้ตามคำพิพากษากำหนดให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำดับ กล่าวคือโจทก์ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจำเลยก่อน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่างอันโจทก์จะพึงเลือกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ชำระเงินตามจำนวนหนี้ที่โจทก์ต้องใช้ราคาแทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้ รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยจนครบถ้วน แล้วจำเลยรับไว้โดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน แสดงว่าจำเลยได้สละสิทธิที่จะบังคับคดีในหนี้ลำดับแรกแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องไปดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในรถยนต์ที่เช่าซื้อและส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ไปดำเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและการสละสิทธิบังคับคดี: จำเลยต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้โจทก์
แม้ตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาเช่าซื้อจะกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำดับ ให้โจทก์ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจำเลยก่อน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อการชำระหนี้นั้นมีหลายอย่างอันโจทก์จะพึงเลือกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ชำระเงินตามจำนวนหนี้ที่โจทก์ต้องใช้ราคาแทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยจนครบถ้วน แล้วจำเลยรับไว้โดยไม่โต้แย้งคัดค้าน แสดงว่าจำเลยได้สละสิทธิที่จะบังคับคดีในหนี้ลำดับแรกแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในรถยนต์ที่เช่าซื้อและส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ไปดำเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ติดตามทรัพย์สินเช่าซื้อ แม้ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์: คดีนี้เจ้าหนี้ยังมีสิทธิฟ้องได้
แม้ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 จะบัญญัติว่าเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน แต่การฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยมิได้เรียกร้องค่าเสียหายอื่น เป็นการขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง และเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนเป็นหนี้ที่มิอาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช่าซื้อ: การคำนวณอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30 ป.พ.พ. เมื่อสัญญาเลิกกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนเลิกสัญญา ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยกล่าวด้วยว่า โจทก์ได้ติดตามทวงถามค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์อันเป็นทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถยนต์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายได้ ส่วนกรณีที่สองโจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดราคาเนื่องจากโจทก์ขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้ออยู่แล้ว แต่ยังไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่ค้าง และกรณีที่สามโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน ทั้งสามกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความใช้บังคับโดยตรงจึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องอายุความตามมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับ ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี
กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าซื้อก่อนเลิกสัญญานั้น เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องโจทก์กรณีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ กรณีที่สองที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้น เมื่อโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่บุคคลภายนอกวันที่ 2 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าขาดราคาจึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนกรณีที่สามโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์ติดตามได้รถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน
กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าซื้อก่อนเลิกสัญญานั้น เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องโจทก์กรณีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ กรณีที่สองที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้น เมื่อโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่บุคคลภายนอกวันที่ 2 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าขาดราคาจึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนกรณีที่สามโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์ติดตามได้รถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน