พบผลลัพธ์ทั้งหมด 754 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10330-10331/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่จำหน่ายคดีออกจากสารบบความหลังผู้ร้องขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง: ศาลมีดุลพินิจได้
เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ซึ่งมีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ฟ้องแย้งมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดในส่วนของฟ้องแย้งภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 199 ฉ ถ้าไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ตามมาตรา 198 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ อย่างไรก็ดี แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า "ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ" เพื่อเป็นมาตรการมิให้บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ก็มิใช่บทบังคับศาลที่จะต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความเสมอไป ศาลมีอำนาจที่จะให้ดุลพินิจที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้โดยพิจารณาตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นรายๆ ไป สำหรับคดีนี้ ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ฟ้องแย้งผู้ร้องมาในคำคัดค้านในเรื่องเกี่ยวกับคำร้องขอเดิมของผู้ร้อง แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ว่ายังมีความประสงค์ที่จะดำเนินคดี นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงต่อไปว่า ผู้ร้องได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการรับฟ้องแย้งของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ว่าไม่ถูกต้อง อันอาจเป็นเหตุทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าต้องรอคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องดังกล่าวก่อน พฤติการณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นไม่จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ออกเสียจากสารบบความ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากความล่าช้าในการส่งเอกสารบัญชี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ส่งมอบงบการเงินกับเอกสารทางบัญชีอื่น สำหรับรอง 6 เดือนแรกของปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ของจำเลยให้ ท. หรือ ช. รองกรรมการผู้จัดการของจำเลยภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และส่งมอบให้ผู้ตรวจสอบบัญชีของ บริษัท ด. ในวันที่ 4, 5, 6 ธันวาคม 2551 โจทก์ทราบคำสั่งแล้วแต่เพิกเฉย อันเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา เป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรงและจงใจให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยที่เรียกค่าจ้างที่บริษัท ด. ต้องเข้ามาตรวจสอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2551 และค่าจ้างที่ปรึกษากฎหมายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ไม่ส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับบัญชีให้แก่ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของจำเลย จึงเป็นฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9174/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องค่าเช่าไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องคดีภาษี ศาลไม่รับพิจารณา
มูลหนี้ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ค่าภาษีตามกฎหมายสำหรับโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2541 ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าจากโจทก์ตามมูลหนี้สัญญาเช่าอาคารพิพาทซึ่งการที่โจทก์ผู้เช่าจะผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อความรับผิดในมูลหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของจำเลยที่ 1 สิทธิเรียกร้องค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่โจทก์ฟ้อง และสิทธิเรียกร้องค่าเช่าตามที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งจึงเป็นคนละส่วนและมาจากคนละมูลหนี้ไม่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9174/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องค่าเช่าไม่เกี่ยวข้องกันกับฟ้องเรียกค่าภาษี ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
เทศบาลตำบลโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ค่าภาษีตามกฎหมายสำหรับโรงเรือนและที่ดิน ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าจากโจทก์ตามมูลหนี้สัญญาเช่าอาคารพิพาท ซึ่งการที่โจทก์ผู้เช่าจะผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อความรับผิดในมูลหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคนละส่วนและมาจากคนละมูลหนี้ไม่เกี่ยวข้องกันฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่ vs. สิทธิในที่ดิน: การรวมพิจารณาฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์และละเมิด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินและบ้านพิพาทโดยอ้างว่า จำเลยทั้งสามขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยไม่มีการซื้อขายกันจริงเพื่อที่โจทก์จะไปดำเนินการกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. และนำที่ดินและบ้านพิพาทจำนองเป็นประกันหนี้แทนจำเลยทั้งสอง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทหรือไม่ หากฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่จำเลยทั้งสามให้การไว้ดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามและต้องดำเนินการคืนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสาม ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามในส่วนที่ขอให้โจทก์รับเงินเพื่อไปไถ่ถอนและจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทคืนให้แก่จำเลยทั้งสามตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิมชอบที่จำเลยทั้งสามจะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่อ้างว่า จำเลยทั้งสามมอบหมายให้โจทก์ไปดำเนินการกู้ยืมเงินและจำนองที่ดินและบ้านพิพาทแทนจำเลยทั้งสาม แต่โจทก์กลับเบียดบังที่ดินและบ้านพิพาทของจำเลยทั้งสามเป็นของตนเองแล้วนำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามเป็นการจงใจกระทำละเมิดต่อจำเลยทั้งสามให้ได้รับความเสียหาย จึงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าทดแทนเดือนละ 50,000 บาท ฟ้องแย้งในส่วนนี้เป็นเงื่อนไขที่ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ข้อเท็จจริงก่อนว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทโดยจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของที่แท้จริง แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าโจทก์จงใจที่จะกระทำละเมิดจำเลยทั้งสามโดยแกล้งฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท รวมทั้งพิจารณากำหนดค่าทดแทนตามที่จำเลยทั้งสามขอในคำขอท้ายฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามในส่วนนี้จึงเป็นการอ้างว่าโจทก์จงใจทำละเมิดจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมและเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้ ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกับจำเลยอื่นละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพของโจทก์ด้วยการร่วมกันนำอุปกรณ์ชุดเครื่องรับสัญญาณ อุปกรณ์ถอดรหัสและแปลงสัญญาณ อุปกรณ์กระจายสัญญาณของโจทก์ทั้งสองไปติดตั้งไว้ในอาคารแล้วแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำโดยการกระจายสัญญาณเสียงและภาพทางโทรทัศน์ในระบบของโจทก์ไปตามสัญญาหรือสายอากาศที่ต่อเข้าไปในห้องเช่าในอาคารจำนวน 225 ห้อง ไปพร้อมกับระบบการให้บริการสัญญาณทางโทรทัศน์ของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการเคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิก เพื่อให้ผู้เช่าห้องได้รับฟังและรับชมรายการทางโทรทัศน์ของโจทก์โดยมีเครื่องหมายบริการของโจทก์ปรากฏในรายการโทรทัศน์นั้นด้วย ขอให้จำเลยที่ 4 ชดใช้ค่าเสียหายและหยุดการกระทำละเมิด ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 ที่อ้างว่า ตัวแทนหรือพนักงานของโจทก์พ่วงต่อสัญญาณโทรทัศน์ของโจทก์เข้ามาในเครื่องรับสัญญาณของจำเลยที่ 4 ทำให้จำเลยที่ 4 ได้รับความเสียหาย แม้เป็นการฟ้องในมูลละเมิดเช่นกัน แต่ก็เป็นการละเมิดต่างครั้งต่างคราวกันและมูลเหตุคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 ที่กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 4 เพราะโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาล เป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้าง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 ที่กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 4 เพราะโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาล เป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้าง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกในการยื่นคำให้การและฟ้องแย้งต้องดำเนินการโดยเสียงข้างมาก หรือรอคำชี้ขาดจากศาล
การยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง และในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 ที่ให้กระทำการโดยถือเอาเสียงข้างมากถ้าเสียงเท่ากันก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำให้การและฟ้องแย้งในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพียงลำพัง จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างเหตุความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างจำเลยทั้งสองหรือความล่าช้าในการดำเนินการขอให้ศาลชี้ขาดหรือขอถอดถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เพราะจำเลยที่ 2 สามารถยื่นคำร้องต่อศาลแสดงเหตุขัดข้องดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลชี้ขาดหรือขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การและฟ้องแย้ง หรือขอให้ศาลรอฟังคำสั่งเกี่ยวกับการขอถอดถอนการเป็นผู้จัดการมรดกร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง: การยื่นอุทธรณ์ต้องภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง หากเกินกำหนด ศาลไม่รับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ชอบที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันทราบคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ประกอบมาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับฟ้องแย้งเดิมซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งสืบเนื่องมาจากคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิมของจำเลยนั่นเอง เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิม และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เช่นนี้ การที่จำเลยยังคงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่ายื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลา 1 เดือน ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ย่อมมีผลเท่ากับไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องค่าชดเชยจาก พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมเรื่องหนี้สิน
มูลหนี้ตามฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์พร้อมกับทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับโจทก์เพื่อขยายเวลาชำระหนี้ แต่จำเลยผิดนัด ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวกับขอให้บังคับจำนอง ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องอ้างว่า ภาระหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพประเภทจัดชั้นสงสัยจะสูญ แต่โจทก์ไม่โอนให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยภายในกำหนดเวลาที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยกำหนด โจทก์ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฯ ขอให้บังคับโจทก์นำเงินค่าชดเชยมาหักชำระหนี้ของจำเลยดังกล่าว แม้ข้ออ้างของจำเลยตามฟ้องแย้งจะเกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามฟ้อง แต่ก็เป็นเรื่องขอให้โจทก์รับผิดจ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุไม่โอนหนี้ดังกล่าวให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมาย ซึ่งการกระทำของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้นเป็นคนละส่วนกับมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องคดีเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกัน ชอบที่จะนำคดีไปฟ้องร้องเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องค่าชดเชยจาก พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดิม จึงไม่รวมพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์พร้อมกับทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวกับขอให้บังคับจำนอง ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยอ้างว่า ภาระหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ แต่โจทก์ไม่โอนให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยภายในกำหนดเวลาที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยบริหารสินทรัพย์ไทยกำหนด โจทก์ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 ขอให้บังคับโจทก์นำเงินค่าชดเชยมาหักชำระหนี้ของจำเลยดังกล่าว แม้ข้ออ้างของจำเลยตามฟ้องแย้งจะเกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามฟ้อง แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้นเป็นคนละส่วนกับมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องคดีเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกัน ชอบที่จะนำไปฟ้องเป็นต่างหาก